Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5300
Title: THE DEVELOPMENT OF INNOVATION IN ACTIVITY-BASEMANAGEMENT TO ENHANCE THE GROWTH THINKING PROCESS(GROWTH MINDSET) AND CREATION OF PRATHOMSUKSA 2 STUDENTS
การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset)และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Authors: Sasiwan CHUABUN
ศศิวรรณ เชื้อบุญ
Wisud Po Negrn
วิสูตร โพธิ์เงิน
Silpakorn University
Wisud Po Negrn
วิสูตร โพธิ์เงิน
wisudpo@gmail.com
wisudpo@gmail.com
Keywords: การพัฒนานวัตกรรม, การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน, กระบวนการคิดแบบ เติบโต, Growth Mindset, การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
Innovation Development/ Activity-Based Learning Management/ Growth Mindset/ Artistic Creativity
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to: 1) Develop activity-based learning management innovations 2) Evaluate the effectiveness of activity-based learning management innovations comprising: 2.1) Promoting the growth mind. 2.2) To evaluate works of art. 2.3) Investigate satisfaction levels towards activity-based learning management innovations. Study utilised a sample group of thirty second-grade students from Minburi Elementary School. Quantitative statistical analysis was conducted, including percentages, means, standard deviations. The research findings reveal the following: 1) Activity-based learning management plan, 5 steps and consisting of 5 main activities, The Gallery Walk activity is the activity that promotes the thinking process the most, from measurement and evaluation. 2) The result of student works, the evaluation value for creating work is in the quality criteria of very good. 3) Results of reflection on works, it can be concluded that expressing feelings and emotions in work It's at a very good level. Students work in groups with some success and some failure. 4) The assessment of growth mindset  positive-oriented questions results at a high level, while negative-oriented questions, results at a moderate level. 5) Behavioral observation was at a high level with an average of 4.50. 6) Student satisfaction is at the highest level.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 2.1) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) 2.2) เพื่อประเมินผลงานศิลปะ 2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมีนบุรี จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานมีองค์ประกอบได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ, ขั้นกิจกรรม, ขั้นสะท้อนคิด, ขั้นประเมินผล และขั้นประยุกต์ และ 5 กิจกรรมหลัก โดยกิจกรรมแกลเลอรี่วอล์ค เป็นกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการคิดมากที่สุด จากการวัดประเมินผล 2) ผลงานศิลปะของนักเรียน อยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับ ดีมาก 3) ผลการสะท้อนคิดผลงานศิลปะ สรุปได้ว่า การแสดงความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน อยู่ในระดับดีมาก นักเรียนมีการทำงานอยู่ในกลุ่มสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง 4) ผลการวัดกระบวนการคิดแบบเติบโต ด้วยข้อคำถามเชิงบวกมีผลอยู่ในระดับ ดี และข้อคำถามเชิงลบมีผลอยู่ในระดับ ปานกลาง 5) ผลการสังเกตพฤติกรรมอยู่ในระดับ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 6) ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5300
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
646120014.pdf21.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.