Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5361
Title: | Effect of fluoroquinolone on mitral and aortic regurgitation: A systematic review and meta-analysis. ผลของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนต่อการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน |
Authors: | Yawee SRICOTH ญาด์วีร์ ศรีคช Wiwat Thavornwattanayong วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ Silpakorn University Wiwat Thavornwattanayong วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ THAVORNWATTANAY_W@SU.AC.TH THAVORNWATTANAY_W@SU.AC.TH |
Keywords: | ฟลูออโรควิโนโลน ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ลิ้นหัวใจ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์อภิมาน fluoroquinolones mitral regurgitation aortic regurgitation valvular disease systematic review meta-analysis |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this research was to conduct a systematic review and a meta-analysis on the effects of fluoroquinolones on mitral valve and aortic valve regurgitation. A systematic literature search was performed in PubMed Central (PMC), ScienceDirect, Scopus, Cochrane, Thai-Journal Citation Index (TCI), ThaiLis, and Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) and included additional search from theses and dissertation online databases from Silpakorn university and Chulalongkorn university. Publications issued in both English and Thai were considered. Criteria for the search period were from the year the database was started until September 30, 2022. Subsequently screening, a total of 2,891 articles were screened and 2 relevant studies were identified, which were nested case-control studies. Therefore, Newcastle-Ottawa quality assessment scale case-control studies were used to investigate. Based on the results of the meta-analysis on the effects of fluoroquinolones on mitral and aortic regurgitation among patients receiving fluoroquinolones varied by treatment periods. The risk of mitral and aortic regurgitation did not differ between patients who received fluoroquinolones within 30 days and 1 year compared to patients who received other antibiotics (OR = 1.34, 95%CI 0.59, 3.07 and 1.15, 95%CI 0.71, 1.87, respectively). In addition, there were no differences between patients who received fluoroquinolones and patients who received amoxicillin (OR = 0.97, 95%CI 0.44, 2.14) and macrolide (OR = 1.10, 95%CI 0.60, 2.00). Nevertheless, this study compiles relevant studies from foreign databases and Thai databases published in English and Thai only. Therefore, studies published in other languages were not included. In addition, studies on the effect of fluoroquinolone on mitral valve and aortic valve regurgitation attributable to the findings were relatively small, and the duration of the study was limited. In order to provide a meta-analysis of the results of the effects of fluoroquinolone on mitral and aortic valve regurgitation were explicit, comprehensive, and unbiased, further studies are suggested to include studies in multiple languages and follow-up at an appropriate time. งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานถึงผลของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนต่อการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว โดยทำการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed Central (PMC), ScienceDirect, Scopus, Cochrane, Thai-Journal Citation Index (TCI), ThaiLis และ Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) รวมถึงได้มีการสืบค้นเพิ่มเติมจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคัดเลือกงานวิจัยที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ตั้งแต่ปีที่เริ่มมีฐานข้อมูลจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 และเมื่อคัดกรองแล้วปรากฏว่ามีงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพ จำนวน 2 บทความ จาก 2,891 บทความ ซึ่งเป็นการศึกษาในรูปแบบ Nested case-control ทั้ง 2 บทความ จึงทำการประเมินคุณภาพด้วย Newcastle-Ottawa quality assessment scale case-control studies จากผลการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า ผลของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนต่อการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ในผู้ที่ได้รับยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนในช่วงเวลาต่าง ๆ กลุ่มที่ได้รับยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนภายใน 30 วัน และภายใน 1 ปี มีโอกาสเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่น (OR = 1.34, 95%CI 0.59, 3.07 และ 1.15, 95%CI 0.71, 1.87 ตามลำดับ) สำหรับผลของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนต่อการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วกับยาปฏิชีวนะกลุ่มต่าง ๆ พบว่า กลุ่มที่ได้รับยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนมีโอกาสเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจอออร์ติกรั่วไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาอะม็อกซีซิลลิน (OR = 0.97, 95%CI 0.44, 2.14) ยากลุ่มแมคโครไลด์ (OR = 1.10, 95%CI 0.60, 2.00) อย่างไรก็ตามงานวิจัยฉบับนี้ได้รวบรวมการศึกษาที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลต่างประเทศ และฐานข้อมูลในประเทศไทยที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยเท่านั้น จึงไม่ครอบคลุมการศึกษาที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอื่น อีกทั้งการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผลของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนต่อการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วที่สืบค้นได้มีค่อนข้างน้อยและใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างจำกัด ดังนั้น เพื่อให้การวิเคราะห์อภิมานผลของยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนต่อการเกิดลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว มีความชัดเจน ครอบคลุม และไม่เกิดอคติ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมโดยสืบค้นข้อมูลในภาษาอื่น ๆ และมีการติดตามผลในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5361 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61362301.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.