Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5474
Title: An Assessment of Urban Agricultural Areas for Food Security: A Case Study of the Rooftop Gardens of Residential Buildings, Plot G, Din Daeng Community
การประเมินพื้นที่เกษตรในเมืองระดับชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร: กรณีศึกษาสวนดาดฟ้าอาคารพักอาศัยแปลง G ชุมชนดินแดง
Authors: Weeratorn MONGKOLPANICHAYAKIT
วีราทร มงคลพาณิชยกิจ
Supagtra Suthasupa
สุพักตรา สุทธสุภา
Silpakorn University
Supagtra Suthasupa
สุพักตรา สุทธสุภา
supakoy@yahoo.com
supakoy@yahoo.com
Keywords: เกษตรในเมือง
ความมั่นคงทางอาหาร
ชุมชนดินแดง
Urban agriculture
Food security
Din Daeng Community
Issue Date:  22
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research seeks to assess the urban agricultural areas in the community level for food security of the rooftop gardens in the residential building, Plot G, of Din Daeng Community. The project data were collected through questionnaires from 286 residences. Additionally, interviews were conducted with the agricultural self-improvement group, including five rooftop vegetable garden janitors and a project manager of the National Housing Authority. Data from the questionnaires were analyzed using statistical methods, including percentages, averages, and scores of food security in the four dimensions defined by the Food and Agriculture Organization (FAO): 1) food availability 2) food access 3) food utilization, and 4) food stability. The research findings indicate that the rooftop vegetable garden project has only a minor relationship with the food security of the project’s residents. The assessment of food security across four dimensions shows that the overall food security score is moderate. Specifically, the average scores for access to the rooftop vegetable garden, food diversity, and food safety are below satisfactory levels. The research findings, from the questionnaires and the interviews, will provide guidelines for implementing urban agricultural areas or edible green spaces for other urban renewal projects, and other communities.
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองระดับชุมชนเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กรณีศึกษา สวนดาดฟ้าอาคารพักอาศัยแปลง G โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มผู้อยู่อาศัยในโครงการฯ รวมจำนวน 286 ชุด และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรอาสาพอเพียง ผู้ดูแลสวนผักชั้นดาดฟ้าโครงการฯ จำนวน 5 ราย เจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ ผู้ดูแลโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง จำนวน 1 ราย รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าคะแนนการประเมินความมั่นคงทางอาหารของผู้อยู่อาศัยในโครงการฯ จากการมีสวนผักชั้นดาดฟ้า ซึ่งแบ่งตามองค์ประกอบความมั่นคงทางอาหารทั้ง 4 มิติ ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้แก่ 1) มิติการมีอาหารเพียงพอ 2) มิติการเข้าถึงอาหาร 3) มิติการใช้ประโยชน์จากอาหาร 4) มิติการมีเสถียรภาพด้านอาหาร และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ด้วยวิธีสรุปความหรือสังเคราะห์ข้อความ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า สวนผักชั้นดาดฟ้าโครงการฯ มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้อยู่อาศัยในโครงการฯ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากผลการประเมินความมั่นคงทางอาหารทั้ง 4 มิติ พบว่า ได้คะแนนความมั่นคงทางอาหารอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยได้คะแนนเฉลี่ยด้านการเข้าถึงพื้นที่สวนผักชั้นดาดฟ้า ด้านความหลากหลายทางอาหาร และด้านความปลอดภัยทางอาหาร อยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ทั้งนี้ ผลการวิจัยที่ได้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาประยุกต์ใช้ในการจัดให้มีพื้นที่เกษตรกรรมชุมชน หรือพื้นที่สีเขียวประเภทกินได้ ในโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง และระดับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5474
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620220033.pdf15.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.