Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5492
Title: | A STUDY ON SOCIAL AND CULYURAL TO GRAPHIC ART DESIGN FOR PROMOTINS COMMUNITY – BASED TOURISM : A CASE STUDY OF SAM CHUK 100-YEARS MARKET, SUPHAN BURI PROVINCE การศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมสู่การออกแบบเลขนศิลป์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษา สามชุกตลาดร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี |
Authors: | Wanaporn YANGSIRI วรรณพร ยังศิริ Pradiphat Lertrujidumrongkul ประดิพัทธุ์ เลิศรุจิดำรงค์กุล Silpakorn University Pradiphat Lertrujidumrongkul ประดิพัทธุ์ เลิศรุจิดำรงค์กุล denaarrus@hotmail.com denaarrus@hotmail.com |
Keywords: | ตลาดสามชุก บริบททางสังคมและวัฒนธรรม การออกแบบเลขนศิลป์ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ภูมิปัญญาชุมชน ท่องเที่ยวชุมชน Sam Chuk Market Social and Cultural Context Community Wisdom gastronomy tourism Art Culture and Traditions Tourism Promotion |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to: 1) explore the social and cultural context of the Sam Chuk Market in Suphan Buri Province, 2) analyze and synthesize the local culture and community identity to develop concepts for designing visual arts, and 3) extend the design of visual arts within a contemporary context to enhance the value of tourism by presenting experiences through culinary tourism activities at Sam Chuk Market. Data were collected through fieldwork, including interviews with shop owners, community members, and tourists, as well as observations to understand the needs and knowledge that could inform the design of visual arts and culinary tourism activities. The findings suggest that this approach contributes to leveraging local cultural and lifestyle assets to promote tourism and foster community involvement.
The study reveals that Sam Chuk Market has distinct identities: 1) an architectural identity, represented by well-preserved traditional wooden row houses and Sino-Portuguese architecture, which illustrates the social and cultural context of the community from past to present, and 2) a culinary identity, where the community has deep knowledge of food preparation, preservation, and ingredient selection, passed down through generations. The researcher used these insights to design visual arts elements such as color schemes, motifs, and mascot characters, culminating in the creative Sam Chuk Food Festival. This research demonstrates how integrating local cultural and social contexts into design can enhance tourism, improve the market's image, and foster positive perceptions through activities like food tasting, cooking workshops, and exhibitions. The project offers potential for future development in Sam Chuk Market, providing opportunities to expand commerce while instilling pride and a sense of preservation in the local community. Furthermore, it highlights the importance of cultural conservation and its positive impact on the quality of life for the people of Sam Chuk, Suphan Buri, emphasizing the enduring value of their traditions and heritage. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วัฒนธรรมและความเป็นชุมชนท้องถิ่น มากําหนดแนวคิดในการออกแบบเลขนศิลป์ 3) เพื่อต่อยอดการออกแบบผลงานเลขนศิลป์ในบริบทร่วมสมัย ให้เกิดคุณค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ผ่านการนำเสนอประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของผู้ประกอบการร้านค้า คนในชุมชน และนักท่องเที่ยว การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการ และองค์ความรู้ในการนำมาใช้ในกระบวนการออกแบบเลขนศิลป์และการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ทำให้เกิดการต่อยอดทุนทางวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า ตลาดสามชุกมีอัตลักษณ์อันโดนเด่นคือ 1) อัตลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมโบราณ คือเรือนไม้แถวโบราณที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศิลปะในการออกแบบบ้านเรือนเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการค้าขาย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกิส ที่เป็นรูปแบบของการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก อันบ่งบอกถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนตลาดสามชุกตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี 2) อัตลักษณ์ด้านการประกอบอาหาร การถนอมอาหาร และการคัดสรรวัตถุดิบ โดยชาวชุมชนสามชุกมีองค์ความรู้เรื่องกระบวนการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ถูกส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของชุมชน โดยผู้วิจัยได้นําข้อมูลการศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ที่ผ่านการวิเคราะห์ทั้งหมด ผสานองค์ความรู้สู่การออกแบบเลขนศิลป์ โดยนำมาซึ่งการออกแบบอัตลักษณ์ ชุดสี ลวดลายอัตลักษณ์ ตัวการ์ตูนอัตลักษณ์ และกิจกรรม สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบของเทศกาลอาหารสร้างสรรค์สามชุก สุขเต็มคำ ในการศึกษาบริบทและวัฒนธรรมสู่การออกแบบเลขนศิลป์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับชุมชนตลาดสามชุก และทัศนคติที่ดีต่อตลาดได้อย่างเหมาะสม เช่น กิจกรรมการชิมอาหาร การทดลองทำอาหาร นิทรรศการ สามารถนำโครงการไปต่อยอดในพื้นที่จริงได้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม และการจัดพื้นที่เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ ภายในตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อต่อยอดทางการค้า และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เกิดความรู้สึกรักและห่วงแหนถิ่นฐานที่บรรพบุรุษตั้งใจเก็บรักษาและถ่ายทอดผ่านการอนุรักษ์ในหลายช่วงเวลาที่ผ่านมา รวมไปถึงการส่งเสริมคุณค่า และความหมายของการดำรงชีวิตของชาวอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งดำรงไว้สิ่งที่ดีงามทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5492 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640420016.pdf | 10.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.