Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/596
Title: | การศึกษาชาติพันธุ์วรรณาทางโบราณคดี เรื่องการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ในจังหวัดตรัง สตูล และพัทลุง |
Other Titles: | ETHNOARCHAEOLOGY : MANI SETTLEMENT IN TRANG SATUN AND PHATTHALUNG PROVINCE |
Authors: | โรจนารัตน์, สรธัช Rotchanarat, Sorathach |
Keywords: | ชาติพันธุ์ววรณาทางโบราณคดี กลุ่มชาติพันธุ์มานิ ETHNOARCHAEOLOGY MANI ETHNIC GROUP |
Issue Date: | 3-Aug-2559 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานและการใช้พื้นทิ่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ มีขอบเขตพื้นที่ศึกษา บริเวณเทือกเขาบรรทัดเขตรอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดพัทลุง ทำการศึกษาเฉพาะข้อมูลการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ซึ่งแบ่งรูปแบบการตั้งถิ่นฐานได้ 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มตั้งถิ่นฐานถาวร 2. กลุ่มกึ่งสังคมชุมชน 3. กลุ่มอพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย รวมทั้งหมดจำนวน 27 แหล่ง ศึกษาโดยการสำรวจเก็บข้อมูลภาคสนาม สังเกตุการณ์ สัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลชาติพันธุ์วรรณาที่ได้การสำรวจภาคสนาม มาประมวลผลและจัดทำข้อมูลให้อยู่ในระบบดิจิตอล สร้างฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม QGIS Desktop 2.12.0 วิเคราะห์ในประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ และการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์มานิทุกกลุ่มมีลักษณะการกระจายตัวอยู่ระหว่างรูปแบบกลุ่ม (Cluster) กับ รูปแบบสุ่ม (Random) โดยเฉพาะกลุ่มที่เคลื่อนย้ายถิ่นฐาน (Mobility) มีการกระจายตัวค่อนไปทางแบบสุ่ม (Random settlement) ปัจจัยที่สำคัญในการตั้งถิ่นฐาน คือ แหล่งน้ำ พบว่าจุดที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ ในรัศมีไม่เกิน 500 เมตร ประเภทของแหล่งพบว่ามีการใช้พื้นที่อยู่อาศัยในพื้นที่เปิด และเพิงผา จากจำนวนทั้งหมด 74 แหล่ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เปิดมากที่สุด จำนวนประชากร ระยะเวลาในการอยู่อาศัย หรือความถี่ในการเคลื่อนย้ายมีความสัมพันธ์กับขนาดการใช้พื้นที่ ไม่มีแบบแผนหรือกลยุทธ์ในการเคลื่อนย้ายที่ตายตัว ความถี่ในการเคลื่อนย้ายในฤดูฝนมีความถี่สูงกว่าในฤดูแล้ง จุดที่พักจะกระจายตัวในระยะห่างกันในรัศมีประมาณ 1.5 กิโลเมตร This study aims to study settlement patterns and habitat utilization of Mani ethnic group. The study area is around Banthat mountain range where three provinces including Trang, Satun and Phatthalung are connected. The study employs fieldwork, observations and interviews as the data collection method. The data then is process and used to create Geographic Information System database. QGIS Desktop 2.12.0 is used in the analysis of the settlement patterns, the relationship between the area and Mani’s settlements and the foraging of Mani. The results show that there are three settlement patterns: 1. Sedentary group 2. Semi-sedentary group 3. Mobility group. The settlement patterns of all Mani group show both cluster and random patterns. The mobility group gravitates towards random settlement. Important factor in such settlements is water resource. It is found that the settling point is not far from water source (not over 500 meters). Seventy four sites were found and most of them are in open area or cliffs. The population, length of residency and mobility frequency correlate with the size of area utilization. There are no fixed patterns or moving strategies. There is a high frequency of mobility in wet season and low frequency of mobility in dry season. The average distance between settlement sites is 1.5 km. |
Description: | 54102203 ; สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ -- สรธัช โรจนารัตน์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/596 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54102203 นายสรธัช โรจนารัตน์.pdf | 15.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.