Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/602
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภู่มาลี, นงนุช | - |
dc.contributor.author | Phoomalee, Nongnuch | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T02:14:45Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T02:14:45Z | - |
dc.date.issued | 2559-08-05 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/602 | - |
dc.description | 53107904 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย -- นงนุช ภู่มาลี | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างพื้นบ้านในเขตอีสานกลางโดยมีจุดมุ่งหมายการศึกษารูปแบบเฉพาะ ที่มาและแนวความคิดของงานจิตรกรรมฝาผนังพื้นถิ่นในแถบอีสานกลางประกอบไปด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น จิตรกรรมฝาผนังช่างพื้นถิ่นในแถบอีสานตอนกลางสามารถกำหนดอายุในราวกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 โดยมีลักษณะงานเป็น “ช่างพื้นบ้านแท้” สามารถจำแนกรูปแบบออกเป็น 3 กลุ่มหลักดังนี้ คือ 1.รูปแบบอิทธิพลจิตรกรรมไทยประเพณีผสมพื้นบ้าน 2. รูปแบบงานพื้นบ้านที่นิยมเขียนภาพเล่าเรื่องจากวรรณกรรมศาสนาฉบับท้องถิ่น 3. รูปแบบงานพื้นบ้านที่นิยมเขียนภาพเล่าเรื่องจากวรรณกรรมพื้นบ้าน จากการวิเคราะห์พบว่างานจิตรกรรมฝาผนังอีสานพื้นถิ่นในเขตอีสานกลางที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาดังที่กล่าวมาทั้งสามกลุ่มนี้มี เรื่องราว การจัดองค์ประกอบ เทคนิควิธีการ รูปแบบศิลปะ แม้จะสะท้อนทั้งอิทธิพลภายนอกอย่างเช่น ศิลปะรัตนโกสินทร์ ศิลปะลาว แต่จิตรกรรมพื้นถิ่นได้แสดงรูปแบบศิลปะที่น่าสนใจต่างไปเช่น ภาพนายฉันนะแต่งตัวแบบข้าราชบริพารแบกเครื่องประดับ ภาพธิดาพญามารทั้งสองภาค (ตอนสาวและตอนชรา) และภาพงานศพชูชก ซึ่งรูปแบบดังกล่าวสะท้อนถึงความเข้าใจของช่างเขียนพื้นบ้านจากวรรณกรรมศาสนาฉบับท้องถิ่น เช่น ปฐมสมโพธิกถาและเวสสันดรชาดกฉบับอีสาน ร่วมกับวรรณกรรมพื้นบ้านที่นิยมในช่วงเวลานั้น เช่น สินไซ นอกจากนี้การที่พบรูปแบบการเขียนภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง-ยืน พบทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย ทรงเครื่องประดับมงกุฏในภาพพุทธประวัติ ยังได้แสดงความใกล้ชิดระหว่างกลุ่มชนเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธาและความระลึกถึงพระแก้วมรกตที่เคยเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองของชาวลาวผ่านรูปแบบผลงานจิตรกรรม ดังนั้นงานจิตรกรรมอีสานพื้นถิ่นอีสานกลางนี้จึงเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์สอดคล้องอันเป็นที่มารากฐานดั้งเดิมของผู้คนในพื้นที่อีสานตอนกลางที่นำมาสู่วัฒนธรรมเช่น ภาษาและวรรณกรรมในท้องถิ่นด้วย ส่วนประเพณีพื้นถิ่นที่เชื่อว่าเป็นอีกแนวคิดที่มีส่วนสำคัญต่อรูปแบบการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ (สิม) ภายในท้องถิ่นอีสานตอนกลางคือ “งานบุญผะเหวด” และการเขียนผ้าผะเหวด This research is to study local mural painting in central Isan by focusing on its unique style, origin and concept. The areas of this study are in Roi Ed province, Mahasarakam province and Khon Kaen province. The local mural painting in central Isan was dated around mid-late 20 Century A.D. and it was “real local work” which can be divided into 3 styles which are 1.Thai tradition painting style combined with local painting style. 2.Local painting style depicts the stories from local religion literatures. 3.Local painting style depicts the stories from local literatures. The analysis found that all 3 groups of mural paintings at that period not only showed the influence from other arts such as Rattanakosin Art, Lao Arts in its story, composition, technique and art styles, but also showed the different styles of local painting. For example, the scene of servant Channa dressed in courtier uniform carrying decorations, the scene of Mara’s daughter (both young and old parts) and the scene of Choochok’s funeral. It reflected the understanding of local artists towards local religion literatures such as Pathom Somphōthikatha and Vessantara Jataka in Isan version including local literatures which was popular at that time which is Sin Sai. Moreover, in mural painting of Life of Buddha story, the Buddha was found both in sitting and standing positions, in meditating position and subduing mara position, dressing in royal attire. This showed the close relationship between Lao people and local people on belief and remembrance of the Emerald Buddha as the Emerald Buddha used to be the important Buddha image in Lao. Local mural painting in central Isan showed relationship with original local people that developed to culture such as language and local literatures as well. The local traditions which were believed to be important concept to make mural painting in central Isan Ubosot is “Boonphawade Festival” and “Phawade Cloth Painting” | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | จิตรกรรมฝาผนัง | en_US |
dc.subject | สกุลช่างพื้นบ้าน | en_US |
dc.subject | อีสานกลาง | en_US |
dc.subject | THE LOCAL MURAL PAINTING | en_US |
dc.subject | CENTRAL NORTHEASTERN AREA | en_US |
dc.title | จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างพื้นบ้านในเขตอีสานกลาง | en_US |
dc.title.alternative | THE LOCAL MURAL PAINTING IN CENTRAL NORTHEASTERN AREA | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
53107904 นางสาวนงนุช ภู่มาลี .pdf | 42.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.