Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/609
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมนาปี, ชัญธิกา-
dc.contributor.authorManapee, Chanthika-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:16:45Z-
dc.date.available2017-08-31T02:16:45Z-
dc.date.issued2559-08-05-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/609-
dc.description54101205 ; สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ -- ชัญธิกา มนาปีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับคติความเชื่อและลักษณะทางประติมานวิทยา ของประติมากรรมเหวัชระ เทพในนิกายวัชรยาน 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะ รูปแบบในการสร้างและความนิยม ในการนับถือ 3) ศึกษาถึงอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายวัชรยานจากประเทศอินเดีย ที่ส่งผลต่อประเทศใกล้เคียง และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขั้นตอนในการวิจัย คือ ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อในพุทธศาสนานิกายมหายานและคัมภีร์ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับเหวัชระจนทำให้เกิดการสร้างสรรค์ประติมากรรมขึน้ จากนั้น จึงจำแนกและวิเคราะห์ประติมากรรม เหวัชระที่พบในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับประติมา กรรมเหวัชระในประเทศอินเดีย ว่ามีลักษณะที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้เข้าใจถึงความเชื่อและความนิยมในแต่ละประเทศ ผลการวิจัย พบว่า 1. ประติมากรรมเหวัชระในแต่ละประเทศมีรูปแบบเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองแต่ยังคง รูปแบบดั้งเดิมบนพื้นฐานของคัมภีร์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน 2. ในประเทศอินเดีย ประติมากรรมเหวัชระพบได้น้อยเมื่อเทียบกับประเทศเนปาลและทิเบต ทั้ง สองประเทศนี้มีการพบว่านับถือแพร่หลาย โดยเฉพาะในรูปของการวาดภาพเหวัชระลงบนผ้าด้วยเม็ดสี หรือ เรียกว่าทังก้า (Thang-ka) ส่วนในประเทศจีนและมองโกเลียไม่พบว่ามีความนิยมมากนัก 3. สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศกัมพูชามีความนิยมเป็นอย่างมากโดย เฉพาะอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประติมากรรมเหวัชระในสมัยนี้มีขนาดที่หลากหลายและทำขึ้น ด้วยความประณีตและสวยงาม ในประเทศไทย ประติมากรรมเหวัชระมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับทางศิลปะ เขมร แต่ก็ได้พบว่ามีบางรูปแบบที่แตกต่างออกไป สำหรับประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ไม่พบหลักฐาน เกี่ยวกับประติมากรรมเหวัชระ แต่สันนิษฐานว่าเทพองค์นี้คงเป็นที่รู้จัก เนื่องจากในประเทศอินโดนีเซียได้พบ จารึกกล่าวถึงเหวัชระและในประเทศเวียดนามได้พบว่ามีการสร้างวัดถวายแด่เหรุกะ The purposes of this research are 1) to study the beliefs and the iconography of Hevajra a god of Vajarayana Buddhism. 2) to compare the iconography and the popularity in each country. 3) to study the influence of Vajarayana from India to neighboring countries and Southeast Asia. The procedure of the research are; study the Vajarayana texts concerning to Hevajra, an analyze the Hevajra’s sculpture found in each countries then do compare to India. The result of this research are as follow: 1. Each countries present the unique form but still based on the Vajarayana texts. 2. In India, Hevajra are less popular than Nepal and Tibet, especially in the form of painting cloth or Thang-ka. 3. For Southeast Asia, Hevajra was very popular in Cambodia especially in the reign of Jayavarman VII. There are various sizes and most of them are fine and elaborate. In Thailand, Hevajra sculpture are similar to Khmer art but a little bit different. For Indonesia and Vietnam, we didn’t find any sculpture of Hevajra, but it is supposed that Hevajra was known there since we found the inscription mentioned his name. As well as in Vietnam, temple was built for Heruka.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectคติความเชื่อและประติมานวิทยาของเหวัชระen_US
dc.subjectรูปเคารพเหวัชระในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้en_US
dc.subjectBELIEFS AND ICONOGRAPHY OF HEVAJRAen_US
dc.subjectHEVAJRA’S SCULPTURE IN SOUTHEAST ASIAen_US
dc.titleการศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบเหวัชระที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้en_US
dc.title.alternativeA STUDY ON BELIEFS AND ICONOGRAPHY OF HEVAJRA IN SOUTHEAST ASIAen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54101205 ชัญธิกา มนาปี.pdf54101205 ; สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร -- ชัญธิกา มนาปี15.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.