Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/615
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมาสูตร์, ชินวัฒน์-
dc.contributor.authorMasoot, Shinawat-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:18:08Z-
dc.date.available2017-08-31T02:18:08Z-
dc.date.issued2559-05-31-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/615-
dc.description55107205 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- ชินวัฒน์ มาสูตร์en_US
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก โดยศึกษารูปแบบและเทคนิค รวมไปถึงอิทธิพลด้านแนวคิดและ แรงบันดาลใจที่ปรากฏในภาพจิตรกรรม เพื่อนำไปใช้ในกำหนดหาอายุภาพจิตรกรรม ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า 1. ภาพพุทธประวัติ เป็นเรื่องราวที่นิยมเขียนมาอย่างยาวนานในงานจิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งนิยมเขียนมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบและเทคนิคยังคงรูปแบบไทยประเพณี แต่ก็มีการสอดแทรกเทคนิคแบบตะวันตกที่เริ่มเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 4 อาจด้วยเหตุที่วัดราชบูรณะเป็นวัดในหัวเมืองนอกเขตราชธานี จึงยังมีการสร้างเรื่องปรัมปราคติปะปนอยู่ในงานจิตรกรรมสมัยใหม่ 2. ภาพสุภาษิตในงานจิตรกรรมไทย ปรากฏในช่วงระยะเวลาสั้นๆ คือ สมัยรัชกาลที่ 3-4 โดยเพิ่งเริ่มเขียนในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากโคลงโลกนิติที่นิพนธ์โดยกรมพระยาเดชาดิศร และปรากฏความนิยมในการเขียนมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งแรงบันดาลใจน่าจะเกี่ยวเนื่องด้วยกระแสตะวันตกที่เข้ามา จึงทำให้งานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 เน้นไปที่การเขียนภาพเรื่องราวที่เกิด ขึ้นจริงในพระพุทธศาสนา ภาพเชิงสั่งสอนทั้งพระและผู้คนทั่วไป ในส่วนของภาพสุภาษิตวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก จะมีความคล้ายคลึงกับภาพสุภาษิตในสมัยรัชกาลที่ 4 ทั้งด้านแนวคิดและรูปแบบ ที่ปรากฏอิทธิพลตะวันตก 3. ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก เป็นงานจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลงานช่างสมัยรัชกาลที่ 4 แบบผสมผสานระหว่างไทยประเพณีผสมกับแบบตะวันตก ซึ่งสังเกตได้จากรูปแบบและเทคนิคที่ปรับเปลี่ยน คือ เทคนิคการเขียนภาพแบบสมจริงและการแทรกภาพอิทธิพลตะวันตก The independent study is aimed to study the Mural Paintings in Wihan of Wat Rajburana in Phitsanulok Province. This study includes the style, technique and inspiration of the mural paintings. Moreover, it investigates the age of the mural paintings. The results of this study can be summarized as follow: 1. The painting of Buddha’s life story is popular for Thai traditional painting. It was painted from Ayutthaya period to Early Rattanakosin period. The style and technique were Thai traditional. The western way of painting was applied in the reign of King Rama IV. Wat Rajburana was in the province outside the capital city ; therefore, the paintings depicting the myths were on the modern mural painting. 2. The paintings depicting the proverbs were in the reign of King Rama III and IV. Klong Lokanit composed by Krom Phraya Dechadisorn became inspiration for artists during the King Rama III. Furthermore, western art styles became inspiration for artists during the King Rama IV. The paintings were emphasized on the story of Buddhism and the instruction both the monks and people. The western concept and style of the paintings at Wat Rajburana in Phitsanulok Province were similar to the paintings in the reign of King Rama IV. 3. The Mural Paintings in Wihan of Wat Rajburana in Phitsanulok Province were from local painter in the reign of King Rama IV. The paintings influenced from the Thai traditional and western way of paintings. The artisans began to apply the western art styles and realistic paintings to their works.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารen_US
dc.subjectวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.subjectTHE MURAL PAINTING IN WIHANen_US
dc.subjectWAT RAJBURANA IN PHITSANULOK PROVINCEen_US
dc.titleวิเคราะห์จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeANALYSIS OF THE MURAL PAINTING IN WIHAN OF WAT RAJBURANA IN PHITSANULOK PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55107205 ชินวัฒน์ มาสูตร์.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.