Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/618
Title: การศึกษาแหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในจังหวัดตรัง
Other Titles: THE STUDY OF ARCHAEOLOGICAL SITES IN THE COASTAL AREA AND ISLANDS OF TRANG PROVINCE
Authors: ชัยนราพิพัฒน์, ธวัลรัตน์
Chainarapipat, Tawanrat
Keywords: จังหวัดตรัง
แหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั)งทะเลและหมู่เกาะ
TRANG PROVINCE
ARCHAEOLOGICAL SITES IN THE COASTAL AREA AND ISLANDS
Issue Date: 14-Dec-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษาและกำหนดอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีชายฝั่งและหมู่เกาะของจังหวัดตรัง 2. เพื่อศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในอดีตของจังหวัดตรัง 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีชายฝั่งและหมู่เกาะของจังหวัดตรังกับชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในภาคพื้นทวีป มีผลการศึกษา ดังนี้ 1. แหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในจังหวัดตรัง จำนวน 11 แหล่ง แบ่งออกได้เป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลโบราณ หรืออยู่ด้านในภาคพื้นทวีปปัจจุบัน จำนวน 4 แหล่ง กำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 10,000 – 2,000 ปีมาแล้ว และแหล่งโบราณคดีที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลปัจจุบัน จำนวน 7 แหล่ง กำหนดอายุตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ประมาณ 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว) – สมัยประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 25) 2. แหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในจังหวัดตรังที่พบถูกใช้พื้นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ของแหล่ง เช่น เป็นที่พักอาศัยชั่วคราว จุดจอดพักหลบลมมรสุม และแหล่งฝังศพ 3. แหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในจังหวัดตรัง มีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในภาคพื้นทวีป โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสอดคล้องกับแหล่งโบราณคดีที่พบในภาคพื้นทวีปหลายสมัย เช่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบภาพเขียนสีที่แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคง มีลักษณะคล้ายกับที่แหล่งโบราณคดีเขาสามบาตร อายุราว 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว สมัยประวัติศาสตร์ พบเครื่องถ้วยจีนหลายสมัยที่สามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบเพื่อกำหนดอายุสมัยซึ่งพบในแหล่งโบราณคดีในจังหวัดตรังหลายแห่งทั้งในภาคพื้นทวีปและบริเวณชายฝั่งทะเลเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน The objectives of this research: 1. to study and determine the age of archaeological sites in the coastal areas and islands of Trang province. 2. To study characteristics of land usage in the coastal areas and islands of the Trang province in the past. 3. To study a relationship between the coastal areas and islands of the Trang province and ancient communities on the inland. The results of the study are; 1. 11 archaeological sites in the coastal areas and islands of Trang province can be classified into two major sites. Firstly, four sites located on the inland are dated before the prehistory period around 10,000-20,000 years ago. The other location consists of seven sites in coastal areas that are dated in prehistoric period around 4,000 to 2,000 years ago - history- around 11 to 20 century C.E. 2. The studied sites were used in different ways such as a place to stay overnight, a temporary shelter from monsoon, or a cemetery. 3. According to relativities of archaeological evidences between the studied sites and the mainland sites in many ages, the studied sites had connection with other ancient communities from the mainland. To illustrate, the prehistoric rock paintings at Boonkong bay resemble the paintings at Sam bat mountain that aged 4,000-2,000 years ago. The Chinese ceramics found in many archaeological sites in Trang province show the relationship between the studied sites and the inland
Description: 53101208 ; สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ -- ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/618
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53101208 ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์.pdf53101208 ; สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ -- ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์18.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.