Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/625
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประดับราช, สุนิสา-
dc.contributor.authorPRADUBRAT, SUNISA-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:20:22Z-
dc.date.available2017-08-31T02:20:22Z-
dc.date.issued2559-08-04-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/625-
dc.description54112324 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- สุนิสา ประดับราชen_US
dc.description.abstractการศึกษา “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” (Cultural Landscape) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รวมทั้งสำรวจรวบรวมข้อมูลพื้นฐานองค์ประกอบต่างๆ ของภูมิทัศน์วัฒนธรรม ในบริเวณถนนเทศบาลสาย 1 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อหาแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อไป โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) รวมทั้งเป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ (Applied Research) ขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลภูมิทัศน์วัฒนธรรม การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ผล การประเมินคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม การประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคาม และจัดทำแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า ถนนเทศบาลสาย 1 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี มีภูมิทัศน์วัฒนธรรมแบบชุมชนเมือง มีองค์ประกอบทางกายภาพที่โดดเด่น ได้แก่ บ้านเก่า และเรือนแถวค้าขายที่มีรูปแบบดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมากเรียงรายไปตามสองฝั่งถนน สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ดั้งเดิมของย่านชุมชนเก่าทางการค้า อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จนได้ชื่อว่า เมืองสองศาสนา สามวัฒนธรรม ได้แก่ ศาสนาพุทธ และคริสต์ วัฒนธรรม ไทย จีน และญวน ผลการประเมินคุณค่าตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า ของถนนเทศบาลสาย 1 ตำบลขลุง อำเภอขลุงนี้ พบว่ามีค่าคะแนนครบถ้วนทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านคุณค่าความสำคัญและกายภาพ ด้านคุณภาพ และด้านการบริหารจัดการย่านชุมชนเก่า บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของภูมิทัศน์วัฒนธรรม และความพร้อมของท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้วย ส่วนความเสี่ยงและภัยคุกคามพบว่า ยังไม่พบความเสี่ยงมากนัก เนื่องจากมีข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นกลไกทางกฎหมายกำกับดูแล รวมทั้งมีภาคประชาคมจากตัวแทนชุมชนในพื้นที่ที่ครอบคลุมทั้ง 11 ชุมชน ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงานร่วมกันอย่างดี อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางกระแสการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายภาคส่วนควรพยายามรักษาคุณค่าโดยรวมของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ให้มีความสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป This cultural landscape studying aimed to study history, culture, lifestyle, and livelihood, including to accumulate basic cultural landscape components in Khlung City (Thetsaban Sai 1 Road, Khlung Subdistrict, Khlung District, Chanthaburi Province) to find the appropriate cultural landscape managements for the above mentioned area that were useful for development. The study consisted of qualitative research, survey research, and applied research; in addition, the processes of researching comprised of cultural landscape accumulation, interview, analysis, evaluation of cultural landscape, risk and exposure assessment, and creating a guideline of cultural landscape managements. The results revealed that the cultural landscape of Khlung City (Thetsaban Sai 1 Road, Khlung Sub district, Khlung District, Chanthaburi Province) was classified as the urban cultural landscape with the distinguished physical components, such as; old houses, many ancient retail shops were settled along both sides of the streets. These showed the old identity of the area that was the old commercial community. Moreover, many diversities of tradition were indicated “City of Two Religions and Three Cultures”, e.g. Buddhism and Christianity (for two religions), including Thai, Chinese and Vietnamese cultures (for three cultures). Assessment by using quality cultural environment standard for the old community of Thetsaban Sai 1 Road, Khlung Subdistrict, Khlung District, found all of three aspects, e.g. the physical importance, quality, and old community managements. The aspects reported the abundances of cultural landscape and readiness for managements of local administration. However, risk and exposures were not harmful because of local administration’s law; furthermore, the representatives from 11 local communities had coordinated together well. Because of fast developments and changes, many sectors should maintain the overall of cultural landscape value that was distinguished in that area permanently.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectภูมิทัศน์วัฒนธรรมen_US
dc.subjectCULTURAL LANDSCAPEen_US
dc.titleภูมิทัศน์วัฒนธรรม ถนนเทศบาลสาย 1 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีen_US
dc.title.alternativeCULTURAL LANDSCAPE THETSABANSAI 1 ROAD, KHLUNG SUBDISTRICT, KHLUNG DISTRICT, CHANTHABURI PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54112324 ; สุนิสา ประดับราช .pdf54112324 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- สุนิสา ประดับราช11.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.