Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/672
Title: | สถาปัตยกรรมกับพื้นที่ระหว่าง : ความกลมกลืนภายใต้บริบทที่แตกต่าง |
Other Titles: | ARCHITECTURE AND IN BETWEEN SPACE : HARMONIZED UNDER A DIFFERENT CONTEXT |
Authors: | อำนวยสิทธิ์, จิระ Amnuaysit, Chira |
Keywords: | พื้นที่ระหว่าง ทางผ่าน ปฏิสัมพันธ์ IN BETWEEN SPACE TRANSITION SPACE INTERACTION |
Issue Date: | 7-Jun-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การสร้างสรรค์สิ่งก่อสร้างในอดีต จะถูกคำนึงถึงบริบทแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะความสอดคล้องและกลมกลืนไปกับบริบทที่ตั้งทั้งทางนามธรรม และทางกายภาพไม่ว่าจะเป็นมิติของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นให้สามารถอยู่ร่วมกันตอบรับ ตอบสนองและส่งเสริมกันอย่างลงตัว ทว่าปัจจุบัน บริบททางสภาพแวดล้อมถูกคำนึงถึงน้อยลง และบางครั้งถูกมองข้ามละเลยไปส่งผลให้บริบทหรือสภาพ แวดล้อมนั้นถูกสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นใหม่บดบังเพียงเพื่อประโยชน์ของตัวสถาปัตยกรรมเองแทนที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืน โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ทดลองหาความหมายและหน้าที่เฉพาะของ พื้นที่ระหว่าง (In-between space) และการอยู่ร่วมกันกับสภาพแวดล้อม ศึกษาในประเด็นของการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง คน-สภาพแวดล้อม โดยถูกจำแนกออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ปฏิสัมพันธ์ของ คน-พื้นที่ , คน-ธรรมชาติ และ คน-คน เพื่อค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิด พื้นที่ทางผ่านที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับพื้นที่ระหว่าง โดยอ้างอิงจากการให้คำนิยามของสถาปนิกและนักคิด จากการให้ความหมายและการนำไปประกอบใช้กับงานสถาปัตยกรรม ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาทฤษฎีดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยวิเคราะห์เป็นพื้นที่ผ่านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และได้สรุปเป็นคำนิยาม ตามที่ผู้ศึกษาเข้าใจ ตามลักษณะของพื้นที่ระหว่าง คือ พื้นที่ทางผ่าน (Passage space) พื้นที่ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นที่การใช้งานต่างๆ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. พื้นที่ทางผ่านที่ไม่ผ่านกิจกรรมไดๆ 2. พื้นที่ทางผ่านที่ผ่านกิจกรรม 3. พื้นที่ที่ไม่เป็นทางผ่านและไม่มีกิจกรรมไดๆเกิดขึ้นแต่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านทางการรับรู้ รับสัมผัส ซึ่งทั้ง 3 ประเภทถูกจำแนกลักษณะทางกายภาพและหน้าที่ที่เฉพาะของพื้นที่ทางผ่านแตกต่างกันออกไป 7 รูปแบบ การศึกษาพื้นที่ระหว่างทางสถาปัตยกรรมนี้ มุ่งเน้นทำความเข้าใจ ความเป็นไปได้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่ทางผ่าน ผ่านการออกแบบภายใต้เงื่อนไขของ “ การอยู่ร่วมกันกับบริบทอย่างกลมกลืน ” เมื่อสถาปัตยกรรมถูกออกแบบภายใต้เงื่อนไขของ การอยู่ร่วมกันกับบริบท ผ่านพื้นที่ระหว่างแล้ว พื้นที่ระหว่าง จะเป็นเครื่องมือในการช่วยปรับสภาพและลักษณ์ของการปฏิสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันกับบริบททาง สถาปัตยกรรม เป็นเสมือนตัวเชื่อม ระหว่างสถาปัตยกรรมที่มีความขัดแย้งกับสภาพแวดล้อม ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมระดับของการปฏิสัมพันธ์ผ่านพื้นที่การใช้งานในสถาปัตยกรรม In the past, built environment were carefully considered in various perspectives in terms of the relationships with their surroundings. The design approaches were sympathetic and well integrated with its site in both abstract and physical contexts. Hence the constructions and environmental surroundings, be natural environments such as geography, landscapes, sunlight, wind and rain, or human-made environments such as communities, streets, houses, buildings and parks, became part of a unified, interrelated composition. However, the consideration of these relationships have become less common in architectural designs during recent times. Most architectures have overlooked or even ignored the existence of surroundings. As a result, the constructions and those abstract and physical environments have become incongruent rather than a complement to one another. This study aims to explore the meanings and to define the roles of the in-between space and its relationships in terms of the interaction between human and environments. The study of this interaction is divided into three parts which are the interaction between human and space, between human and nature, and between human and human. The purpose of this study is to find the factors which construct the passage space of those interactions using the theory of the in-between space through definitions and applications to various architectural designs. Its definition is summarised through my own point of view in accordance with the characteristic of the in-between space which is the passage space that emerges during the use of different types of spaces that contain different qualities and perform different roles. This study concentrates on an attempt to understand the possibility of designing architectures which take into account the interactions between the passage space and its surroundings through the designs under the concept ‘the harmonious coexistence with the contexts’. When architectures are designed under this concept through the in-between space, the in-between space will play a major role in helping shape the interaction and coexistence between architectures and its contexts. It will also act as a connection between the architectures that are incongruent with their surroundings and makes the harmonious coexistence possible by controlling the levels of interactions through the use of space in architectures. |
Description: | 57054202 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- จิระ อำนวยสิทธิ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/672 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57054202 จิระ อำนวยสิทธิ์.pdf | 8.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.