Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/735
Title: การออกแบบสัญลักษณ์แสดงสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่สะท้อนผลิตภัณฑ์ 3 จังหวัดภาคเหนือ
Other Titles: THE IDENTITY DESIGN OF GEOGRAPHICAL INDICATION TO REPRESENT THE LOCAL PRODUCTS OF 3 NORTHERN PROVINCES
Authors: จองมั่นคง, ชนินาถ
Jongmankong, Chaninart
Keywords: การออกแบบสัญลักษณ์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
ภาคเหนือ
IDENTITY DESIGN
GEOGRAPHICAL INDICATION
NORTHERN PROVINCES
Issue Date: 8-Jan-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของ 3 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย และหาแนวทางการออกแบบสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พื้นที่กรณีศึกษาคือ 3 จังหวัดทางภาค เหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปาง โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย จังหวัดละ 100 คน โดยเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนั้นๆ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี ขั้นตอนการวิจัย คือรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและทำแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาเอกลักษณ์ ของจังหวัด และสินค้าประจำจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเพื่อใช้ในการการออกแบบสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดละ 3 รูปแบบ ภายใต้การตีความสัญลักษณ์เป็น 2 แนวทาง คือ 1.การตี ความสัญลักษณ์แบบการเข้าใจอย่างง่าย และ 2.การตีความสัญลักษณ์แบบการใช้ประสบการณ์ร่วม จากนั้นนำผลงานไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพในการสื่อสารของสัญลักษณ์และนำ ข้อบกพร่องมาปรับปรุงผลงานออกแบบ ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในรูป แบบการตีความแบบใช้ประสบการณ์ร่วม คือใช้ภาพวาดของสินค้าร่วมกับแหล่งที่มาของสินค้าประจำ จังหวัดประกอบกับข้อความที่ใช้ตัวอักษรแบบตัวประดิษฐ์ ส่วนจังหวัดเชียงรายและลำปางกลุ่มตัวอย่าง เลือกสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ตีความแบบการเข้าใจอย่างง่าย ใช้ภาพลดทอนของสินค้าและ อัตลักษณ์ของจังหวัดซึ่งประกอบกับข้อความที่ใช้ตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ เนื่องจากผู้วิจัยใช้ข้อมูลเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่ได้มาจากช่วงระยะเวลาหนึ่งของสังคมเมื่อดำเนิน งานวิจัย จึงทำให้ทราบว่าเอกลักษณ์ท้องถิ่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป จึงมีข้อเสนอแนะว่า อาจจะต้องมีการศึกษาเอกลักษณ์ที่ร่วมสมัยเพิ่มเติมที่จะทำให้มองเห็นภาพของ อัตลักษณ์ท้องถิ่นได้ชัดเจนขึ้น The purpose of this research were to explore the identity of 3 Northern provinces and to find out the methods to represent a practical originally geography in term of symbol. The case study consists of Chiang Mai, Chiang Rai and Lam Pang. A sample of 100 population, who live in local area at least for 10 years, were draw from each province. The instruments used were the documentary research and self-administered questionnaires to find out the identity and the product of each province to considered as the design method in order to 2 ways of interpretation, the first is low abstraction symbol and the second is high abstraction symbol. And then created 3 style of geography design for each province which would evaluate by the sampling group. Based on the research conducted in the paper, the results revealed that the identity design of geographical indication was the high abstraction symbol using the common illustration and artificial type to interpreted for Chiang Mai. While Chiang Rai and Lam Pang were the low abstraction symbol using product graphic picture, province identity and common type to interpreted their own province. As above mention points, all samples agreed that with those representations they can reflect the meaning of their geography properly. Recommendation: Researcher used the references of history timeline, which can be changed in the future and some detail could be missed from the past. More additional information should be updated in each period of time.
Description: 54151303 ; สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ -- ชนินาถ จองมั่นคง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/735
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54151303 ชนินาถ จองมั่นคง.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.