Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/827
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พองาม, พนัชกร | - |
dc.contributor.author | PONGAM, PANATCHAKORN | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T03:44:36Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T03:44:36Z | - |
dc.date.issued | 2559-01-07 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/827 | - |
dc.description | 54252401 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- พนัชกร พองาม | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้น าการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1) แบบสอบถาม และ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สร้างตามแนวคิดของบาสและอโวลิโอ (Bass and Avolio) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นการใช้ปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มี 8 แนวทาง คือ 1) เสริมสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นใจในการทำงาน โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย 2) เปิดโอกาสให้บุคลากรมีการเสนอปัญหาที่แต่ละคนเผชิญ และหาพื้นที่ให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นออกมา 3) สร้างเจตคติที่ดีในการทำงานโดยการสร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกคนนั้นรู้ถึงบทบาทหน้าที่และความสำคัญในหน้าที่ ที่รับผิดชอบ 4) สร้างแรงจูงใจในการทำงาน ใช้วิธีการสร้างความเป็นมิตรหรือให้คำชมเชยเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรทำอย่างอย่างเต็มความสามารถ 5) ดูแลเอาใจใส่บุคลากรอย่างทั่วถึงโดยศึกษาบุคลากรเป็นรายบุคคล 6) มอบหมายงานให้บุคลากรได้รับผิดชอบตรงตามความสามารถ และให้ได้รับผิดชอบงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น 7) ส่งเสริมให้บุคลากรแต่ละคนได้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น ให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและ 8) หาแนวทางให้บุคลากรแต่ละคนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ เช่น ให้เข้ารับการอบรม หรือ การศึกษาดูงาน The purposes of this research were to identify 1) the transformational leadership of school administrator : A case study in Banmoh “Pattananukul” school. 2) the guideline development of the transformational leadership of school administrator : A case study in Banmoh “Pattananukul” school. The sample was consist of a school administrators, 44 teachers, 4 education personnel, and 11 school committees were 60 of people. The research tools were 1) questionnaire and 2) interview form about the transformational leadership of the director of Banmoh “Pattananukul” School they were based on the transformational leadership theory; Bass and Avolio. The statistics used in data analysis were frequency (f) , percentage (%) , arithmetic mean (X), standard deviation (S.D.) and Content analysis. The findings of this study were as follows: 1. the transformational leadership of school administrator : A Case study in Banmoh “Pattananukul” School, as whole and specifically were rated at a high level; ranking from the highest to the lowest as follow : idealized influence, inspiration motivation, intellectual stimulation and individualized consideration. 2. Method for development of the transformational leadership of school administrator : A Case study in Banmoh “Pattananukul” school there are 8 guideline 1) strengthen the pride and confidence in their work by pointing out the importance of the tasks assigned 2) allowing personnel to offer the problems and each area has commented out 3) create a positive attitude to work by creating awareness to all personnel are aware of the role 4) create incentives to work how to create a hostile or give compliments to encourage staff to do full capacity 5) take care personnel staff thoroughly studied individually. 6) assignment of personnel to be able to meet the responsibilities. And was responsible for a higher position 7) encourage personnel each have their own development is always such a study at a higher level and 8) find a way to staff each have their own development potential , such as to attend training or study . | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง | en_US |
dc.subject | TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP | en_US |
dc.title | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” | en_US |
dc.title.alternative | THE TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATOR : A CASE STUDY IN BANMOH “PATTANANUKUL” SCHOOL. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54252401 พนัชกร พองาม.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.