Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/879
Title: | การออกแบบขนมไทยและอัตลักษณ์ของแบรนด์เพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมการให้ของไทย |
Other Titles: | THAI DESSERT DESIGN AND BRAND IDENTITY DESIGN MANIFESTING THAI TRADITION OF GIVING |
Authors: | จ้อยศรีเกตุ, ขจรศักดิ์ Joysrikat, Kajonsak |
Keywords: | การออกแบบขนมไทย อัตลักษณ์ของแบรนด์ วัฒนธรรมการให้ THAI DESSERT DESIGN BRAND IDENTITY THAI TRADITIO OF GIVING |
Issue Date: | 13-Jan-2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย การสืบทอดวัฒนธรรมไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศและสังคมไทย เพราะทำให้เกิดการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ประเทศไทยนั้นเป็นเมืองพุทธ เราจึงสามารถเห็นประเพณีต่างๆของคนไทยที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอยู่ แทบตลอดทั้งปี วัฒนธรรมไทยที่ดีงามอย่างหนึ่งของคนไทยนั้นคือคือวัฒนธรรมการให้ การให้เป็นการ สร้างความดีที่ง่ายที่สุด คนไทยชอบแบ่งปันข้าวปลาอาหาร ผลไม้ สิ่งของหรือว่าขนมต่างๆ เราจึงพบ เห็นขนมอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวแทบทุกพื้นที่ ขนมหรืออาหารนอกเหนือจากการเป็นของที่ไว้สำหรับ บริโภค แล้วยังกลายมาเป็นเครื่องมือในการให้เพื่อแสดงความรู้สึกต่างๆ ที่ผ่านมาขนมไม่ได้ถูกทำ ขึ้นมาเพื่อการให้โดยตรงแต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบริโภคและประกอบพิธีกรรมประเพณีบางอย่างเท่านั้น การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวัฒนธรรมการให้เกี่ยวกับขนมของคนไทย มี วัตถุประสงค์เพื่อออกแบบขนมสำหรับการให้ในวันสำคัญและโอกาสสำคัญ เช่น วันแม่แห่งชาติ วันขึ้น ปีใหม่ วันสงกรานต์หรือในโอกาสวันครบรอบต่างๆ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา โดยการรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร การลงพื้นที่เก็บข้อมูล การ สัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ด้านการออกแบบ และจากการสอบถามความเห็นผู้ที่มีอายุ ระหว่าง 20 - 40 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสู่การวิเคราะห์สรุปผลให้สอดคล้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพื่อนำมาสู่การออกแบบขนม การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการ ออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ จากนั้นผู้วิจัยได้นำผลงานการออกแบบมาทำการประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อ สรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวสามารถยืนยันสมมติฐานที่ว่าการออกแบบขนมในรูปแบบใหม่ที่ สร้างมาจากความเชื่อและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีการให้ของคนไทยนั้น สามารถ ส่งเสริมและแสดงถึงวัฒนธรรมการให้ได้อย่างชัดเจน ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจรับรู้ถึงคุณค่า และความสำคัญของการให้ได้อย่างลึกซึ้ง Culture represents uniqueness, Thai culture inheritance plays significant role in reflecting and developing nation and society in tandem with creating unity of people in the nation. Thais are mainly Buddhist as the religion is depicted in prominent customs and traditions all year long. One of best Thai cultural is a tradition of giving. Local hand-made gifts and local desserts is treated as souvenir to express cares and feelings. Previously, desserts were not directly crafted for souvenir but for consumptions and traditional ceremonies. For the purpose of this research, researcher had studied giving tradition of Thai culture intending to design Thai desserts dedicated to giving occasions such as National Mother's Day, New Year's Eve and Songkran Days The researcher had studied by collecting data via documentations, fieldworks, interviews with dessert experts, professional dessert designers and performing questionnaire on Bangkok citizens aged between 20 - 40 and finalized the result of the research in accordance with desired objective leading to dessert and package design and brand identity design. The research was presented to and evaluated by professionals to assured the assumptions that new dessert design crafted from Thais' beliefs and uniqueness of cultures and inherited customs could prominently enforce and resemble the uniqueness of the culture, acknowledge target group to deeply value and realize the sentimentality of giving. |
Description: | 57156301 ; สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ -- ขจรศักดิ์ จ้อยศรีเกตุ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/879 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57156301 ขจรศักดิ์ จ้อยศรีเกตุ .pdf | 38.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.