Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/922
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มีรัตน์ธนวัต, จิระสันต์ | - |
dc.contributor.author | Meerattanawat, Jirasan | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T04:11:14Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T04:11:14Z | - |
dc.date.issued | 2559-11-22 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/922 | - |
dc.description | 54352301 ; สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข -- จิระสันต์ มีรัตน์ธนวัต | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก โดยการส่งแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในเขตจังหวัดภาคตะวันออก 4 จังหวัด นำแบบสอบถามไปให้ประชากรของการศึกษา จำนวน 225 แห่งตอบแบบสอบถาม มีอัตราตอบกลับของกลุ่มตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 90.2 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นประธานกลุ่มหรือเจ้าของกิจการ ร้อยละ 69.0 ซึ่งมีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 25.1 ลักษณะการประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตชุมชนทั่วไปร้อยละ 45.8 ทำการผลิตอาหารประเภท ผักและผลไม้แปรรูป ร้อยละ 44.3 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ในช่วง 0-15,000 บาท ร้อยละ 56.2 ส่วนใหญ่มีช่วงระยะเวลาดำเนินกิจการอยู่ในช่วง 1-6 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่ม OTOP เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่ม/สมาชิก ร้อยละ 57.1 ซึ่งส่วนใหญ่อำนาจการตัดสินใจของการดำเนินกิจการ ขึ้นกับผู้บริหารเพียงคนเดียว ร้อยละ 41.9 และมีสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ร้อยละ 56.7 สำหรับการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น พบว่า ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิต (P-value = 0.027) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของสถานประกอบการ (P-value = 0.001) และระยะเวลาดำเนินกิจการของสถานประกอบการ (P-value = 0.006) ปัจจัยด้านการประกอบกิจการ (ตามหลัก 4 M) ปัจจัยด้านการให้บริการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (ตามหลัก 4 P’s) และปัจจัยด้านลูกค้า ต่อผลิตภัณฑ์ (ตามหลัก 4 P’s) มีผลกับการยื่นขอปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α =0.05 การปรับกลยุทธ์ หรือรูปแบบในการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมกับส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือส่งเสริมให้เกิดรายได้ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจคู่ขนานในระบบคุณภาพของอาหาร (ต้องมีเลข อย.) แก่ผู้บริโภคทั่วไป อาจเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการช่วยส่งเสริม ชักชวนให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญและดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมาย ส่งผลให้เป็นการยกระดับคุณภาพอาหารของประเทศไทยสู่สากลต่อไป This research aimed to determine factors related to registration for general food product according to primary Good Manufacturing Practice (GMP) of One Tambon One Product (OTOP) traders in the eastern provinces. A developed questionnaire was sent to government officers in four eastern provincial public health offices. The government officers distributed the questionnaire to 225 OTOP. The response rate of the sample was 90.2%. Data were analyzed by descriptive and inferential statistics. The findings revealed that the most of respondents (69%) were leader or owner. The most level of education’s respondents was bachelor’s degree (25.1%). Characteristic’s business was community manufacturer (45.8%). 44.3% were production of processed vegetable and fruits. The average monthly income of OTOP ranged from 0-15,000 Bath was 56.2%. One to six years was the most of period operation and the purpose of operating OTOP was generating income for their members (57.1%). The decision of operation depended on the leader only (41.9%) and 56.7% did not register to primary GMP. Regarding to the association between factors and registration for primary GMP, the results were found that registration for primary GMP was statistically significant associated with the types of product (p=0.027), the average income per month of OTOP (p=0.001), the operation period (p=0.006), OTOP operation factors (4M), the services of provincial public health officer factors (4 P’s) and the response of customer to products (4 P’s). Therefore the strategy may also help encourage legal action such as modification of government services, supporting financial resources accessibility and income producing, and developing of consumers’ understanding in food quality system. In addition, related organizations should help OTOP traders to follow the rules of law in order to develop quality of Thai food in global community. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น | en_US |
dc.subject | กลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ | en_US |
dc.subject | ภาคตะวันออก | en_US |
dc.subject | PRIMARY GMP | en_US |
dc.subject | ONE TAMBON ONE PRODUCT | en_US |
dc.subject | THE EASTERN PROVINCES OF THAILAND | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก | en_US |
dc.title.alternative | FACTORS RELATED TO REGISTRATION FOR GENERAL FOOD PRODUCT ACCORDING TO PRIMARY GMP OF ONE TAMBON ONE PRODUCT TRADERS IN THE EASTERN PROVINCES OF THAILAND | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54352301 จิระสันต์ มีรัตน์ธนวัต.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.