Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/95
Title: การพัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์แนวโน้มการเกิดภาวะเลือดออกในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักร่วมกับโครงข่ายประสาทเทียม
Other Titles: DEVELOPMENT OF THE PREDICTIVE MODEL FOR BLEEDING TENDENCY IN PATIENT TREATED WITH WARFARIN USING PRINCIPAL COMPONENT ANALYSIS COMBINED WITH ARTIFICIAL NEURAL NETWORK
Authors: รัฐเลิศกานต์, นฤมล
RATLERDKARN, NARUMON
Keywords: วาร์ฟาริน
ภาวะเลือดออก
วิเคราะห์องค์ประกอบหลัก
โครงข่ายประสาทเทียม
WARFARIN
BLEEDING COMPLICATION
PRINCIPAL COMPONENT ANALYSIS
ARTIFICIAL NEURAL NETWORK
Issue Date: 25-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสำหรับทำนายภาวะเลือดออกในผู้ป่วยที่ ได้รับยาวาร์ฟาริน เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบย้อนหลัง จากข้อมูลผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟาริน 304 ราย ณ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี โดยนำข้อมูลการเกิดภาวะเลือดออกและปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด 24 ปัจจัย มาทำการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก ได้ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะเลือดออก 19 ปัจจัย จากนั้นจึงนำ 19 ปัจจัยดังกล่าวเป็นข้อมูลนำเข้าในการสร้างแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่ ย้อนกลับที่ใช้ข้อมูลนำเข้าที่ผ่านขั้นตอนการแปลงค่าตัวแปรและไม่ผ่านขั้นตอนการแปลงค่าตัวแปรด้วย วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก แล้วนำผลลัพธ์ของทั้งสองแบบจำลอง (1. แบบจำลองโครงข่ายประสาท เทียมที่ใช้ข้อมูลนำเข้าทั้งหมด 19 ปัจจัย กับ 2. แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมที่ใช้ข้อมูลนำเข้าที่ ผ่านขั้นตอนการแปลงค่าตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก) มาเปรียบเทียบกันพบว่า แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมที่ใช้ข้อมูลนำเข้าที่ผ่านขั้นตอนการแปลงค่าตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์ องค์ประกอบหลัก สามารถทำนายภาวะเลือดออกได้ดีกว่าแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมที่ใช้ข้อมูล นำเข้าทั้งหมดโดยให้ค่าความถูกต้อง ร้อยละ 87.10 และค่าความไว ร้อยละ 84.21 ที่อัตราเร็วในการ เรียนรู้ 0.7 สัมประสิทธิ์โมเมนตัม 0.3 จำนวนรอบการเรียนรู้ 2500 รอบ และจำนวนหน่วยประมวลผล ย่อยในชั้นซ่อน 11 หน่วย The purpose of this study was to develop the predictive model for bleeding tendency in patient treated with warfarin. It was a retrospective study. A total of 304 warfarin-treated patients at Phrachomklao hospital were included. Bleeding events and 24 risk factors were assessed and used for principle component analysis (PCA). PCA results suggested that bleeding events were associated with 19 risk factors. Those 19 factors, then were used as the input data for development of the backpropagation artificial neural network (ANN) models as the PCA-treated and PCA-untreated data. Comparison of those two ANN predictive models were performed (1.model developed using 19 risk factors PCA-untreated data VS. 2. model developed using 19 risk factors PCA-treated data). The result indicates that ANN predictive model using PCA-treated data predicts bleeding event better than the other one with the accuracy rate of 87.10% and sensitivity rate of 84.21%. The optimized learning rate, momentum coefficient, training time, and hidden node were 0.7, 0.3, 2500, and 11, respectively.
Description: 54363202 ; สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ -- นฤมล รัฐเลิศกานต์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/95
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4.54363202 นฤมล รัฐเลิศกานต์.pdf40.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.