Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1372
Title: | Development of Management Innovation Model InfluencingValue Creation of Community Enterprises’ Products การพัฒนาโมเดลนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน |
Authors: | Somkiat SUTTHINARAKORN สมเกียรติ สุทธินรากร Yuwaree YANPRECHASET ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ Silpakorn University. Education |
Keywords: | นวัตกรรมการบริหารจัดการ การสร้างสรรค์มูลค่า วิสาหกิจชุมชน MANAGEMENT INNOVATION VALUE CREATION COMMUNITY ENTERPRISES |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aimed to 1) investigate the value creation of community enterprises’ products; 2) explore how five managerial innovation factors consisted of corporate innovation, process innovation, marketing innovation, individual competency and knowledge management innovation, influence the value creation of community enterprises’ products; and 3) develop and examine the consistency of an evidence-based Managerial Innovation Model that affecting the value creation of community enterprises’ products. Theoretical reviews and content analysis from in-depth interviews with ten community enterprises’ leaders were administered to develop and examine the consistency between empirical data and theoretical model. Questionnaires were sent to 431 good-rated competent community enterprises’ leaders. Frequency, Percentage, Mean, Standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Structural Equation Model (SEM) was used for data analysis.
Findings revealed that the community enterprises were be able towards value creation at ‘high’ level in general and managerial innovations were also used by community enterprises at ‘high’ level in all five factors: organization innovation, process innovation, marketing innovation, individual competency and knowledge management innovation. Data from interviews emerged that: 1) there were limitations towards the binding of historical and cultural stories in community enterprises’ products; 2) majority of knowledge belong to few persons who are be able to communicate with customers in products fairs; 3) prominent point of community enterprises’ products was environmental friendliness; and 4) successful factors were entrepreneurial characteristics and marketing experiences of community enterprises’ members. Results on consistency examination of the model revealed as the followings: 1) there were positive causal relationship between organization innovation/process innovation and the value creation of community enterprises statistically significant at 0.01 and 0.05 level, 2) process innovation was affected individual competency and knowledge management innovation, except the value creation, 3) marketing innovation was not affected the value creation of the products but it affected the knowledge management innovation. However, the knowledge management innovation was not affected the value creation of the community enterprises’ products. การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาการใช้ปัจจัยนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน 5 ปัจจัยคือ ปัจจัยนวัตกรรมองค์กร ปัจจัยนวัตกรรมกระบวนการ ปัจจัยนวัตกรรมทางการตลาด ปัจจัยสมรรถนะของบุคลากร และปัจจัยการจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลนวัตกรรมการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ศึกษาในเชิงทฤษฎีและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำวิสาหกิจชุมชน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา นำไปสู่การพัฒนาโมเดลและตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลเชิงประจักษ์กับโมเดลทางทฤษฎีกับผู้นำวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการประเมินว่ามีศักยภาพในระดับดี 431 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนสร้างสรรค์มูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ในระดับมาก ส่วนนวัตกรรมในการบริหารจัดการพบว่าวิสาหกิจชุมชนนำไปใช้ในระดับมากทั้ง 5 ประเด็นย่อยคือ นวัตกรรมองค์กร นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมการตลาด การจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม และสมรรถนะของบุคลากร ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การสร้างสรรค์มูลค่าในผลิตภัณฑ์ยังมีข้อจำกัดเรื่องการนำเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมผนึกลงในสินค้าอย่างเป็นรูปธรรม ความรู้ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ตัวบุคคล ซึ่งสามารถสื่อสารเมื่อมีการจำหน่ายสินค้าในเทศกาลต่างๆ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนคือ ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่ทำให้การประกอบการประสบความสำเร็จคือ คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และการมีประสบการณ์ทางการตลาดของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ปัจจัยนวัตกรรมองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยนวัตกรรมกระบวนการมีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ปัจจัยนวัตกรรมกระบวนการยังส่งผลต่อปัจจัยสมรรถนะบุคลากร และปัจจัยการจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม แต่ไม่ส่งผลไปยังการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์ ส่วนปัจจัยทางการตลาดไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน แต่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้เชิงนวัตกรรม ทั้งนี้การจัดการความรู้เชิงนวัตกรรมไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน |
Description: | Doctor of Philosophy (PH.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1372 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55260803.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.