Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1383
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPornpan NGAMROJen
dc.contributorพรพรรณ งามโรจน์th
dc.contributor.advisorSamrerng Onsampanten
dc.contributor.advisorสำเริง อ่อนสัมพันธุ์th
dc.contributor.otherSilpakorn University. Educationen
dc.date.accessioned2018-12-14T02:38:55Z-
dc.date.available2018-12-14T02:38:55Z-
dc.date.issued17/8/2018
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1383-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)th
dc.description.abstractThe purposes of this research were to determine 1) risk in schools under The Secondary Educational Service Area Office 1 2) compare the opinions on risk in School under The Secondary Educational Service Area Office 1 3) risk management approach in school under The Secondary Educational Service Area Office 1. Samples were 60 schools under The Secondary Educational Service Area Office 1. The respondents in each school consisted of 3 persons: school director, deputy director, and teachers with the total of 180. The instrument was a questionnaire regarding the participative administration on the theory of Thorn Suntarayuth , Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission(COSO) , Higher Education Institutions Ethics Integrity at work ,World Economic forum and Clemson university and Communities in schools. The statistics were used frequency, percentage, Arithmetic mean. standard deviation, content analysis and analysis variance (One Way ANOVA). Findings were as follows : 1. The risk  in school under The Secondary Educational Service Area Office 1  as a whole  and as an individual were at a high level The ranking Descending are corruption risk, security risk/educational stability, environmental risk, operational risk, human resources risk, strategic risk, financial risk, technology risk/communication and regulatory risk. 2. Analysis of variance can be seen that F = 1.67. The significant level is .19. There were not any significant differences in opinions of 3 person: school director, deputy director, and teacher at .05 level of significant  3. Risk management approach under the Office of the Secondary Education Service Area 1 were 1) Financial risk management  The budget should be managed appropriately and the measures should be taken to prevent the risk, based on transparency. 2) Operational Risk Management  The quality of education should be monitored according to the quality assurance system within the educational institution. 3) Strategic / Strategic Risk Management   The development of educational institutions should be in line with the policy. Vision / Mission and Action Plan / Strategy. 4) Regulatory Risk Management The Ministry of Education should develop the effective internal control system. It is effective, economical, transparent and can be verified. 5) Risk Management Technology / Communication It should monitor, monitor and use the technology properly. Install the data security system. 6) Human Resources Risk Management Safety should be provided in the workplace. Pay attention to teachers and staff. Increased motivation to work. 7) Corruption Risk Management The law office of the Education Service Area should be organized to educate and organize the surveillance system for counterfeiting documents. Raise awareness and conscience for teachers and staff. 8) Risk Management / Stability in Education Should build confidence in the reputation of the school. Teaching the teacher and maintaining the reputation of the school. 9) Environmental risk management The building safety control system should be in place.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ  1) ความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 3) แนวทางการจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือสถานศึกษา จำนวน 60 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  1 คน และครู 1 คน  รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับความเสี่ยงในสถานศึกษาตามแนวคิดของธร สุนทรายุทธ  คณะกรรมการตรวจสอบและสำนักตรวจสอบภายในองค์กร สถาบันการศึกษาจริยธรรมความมั่นคงในการทำงานของอังกฤษ สภาเศรษฐกิจโลกและมหาวิทยาลัยเคลมสันและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ความเสี่ยงด้านการทุจริต ความเสี่ยงด้านความมั่นคง/ความมีเสถียรภาพทางการศึกษา ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี/การสื่อสารและความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ/ข้อบังคับ ตามลำดับ 2. การวิเคราะห์ความแปรปรวน จะเห็นได้ว่าค่า F = 1.67 เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณและมีค่า significant เท่ากับ .19 แสดงว่าความคิดเห็นของทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. แนวทางการจัดการความเสี่ยง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 1) การจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน  ควรบริหารจัดการงบประมาณตามระเบียบและหลักเกณฑ์อย่างเหมาะสมและควรหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงโดยยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 2) การจัดการความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ควรติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างมีทิศทาง  3) การจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์/ ยุทธศาสตร์ ควรจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์/พันธกิจและดำเนินการตามแผนกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ 4) การจัดการความเสี่ยงด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ควรปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ประหยัด โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 5) การจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี/การสื่อสาร ควรกำกับติดตามและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมติดตั้งระบบความปลอดภัยของข้อมูล 6) การจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์  ควรจัดระบบความปลอดภัยในการทำงาน ให้ความสำคัญกับครูและบุคลากร เพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 7) การจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต ควรจัดนิติกรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาอบรมให้ความรู้และจัดระบบการเฝ้าระวังการปลอมแปลงเอกสาร สร้างความตระหนักและจิตสำนึกแก่ครูและบุคลากร 8) การจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคง/ความมีเสถียรภาพทางการศึกษา ควรสร้างความเชื่อมั่นชื่อเสียงของสถานศึกษา การสอนของครูและการรักษาชื่อเสียงของสถานศึกษา  9) การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม  ควรจัดระบบควบคุมดูแลความปลอดภัยในอาคาร  th
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectความเสี่ยง/เเนวทางการจัดการความเสี่ยง/สถานศึกษาขั้นพื้นฐานth
dc.subjectRISK/APPROACH TO RISK MANAGEMENT/ SECONDARY SCHOOLen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleAPPROACH TO RISK MANAGEMENT IN SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1en
dc.titleแนวทางการจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56252323.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.