Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1414
Title: | WORK DETERMINATION BEHAVIOR AMONG JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS OF NAKHON CHISI DISTRIC, NAKHON PATHOM PROVINCE UNDER THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 9 พฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 |
Authors: | Natee SIRIJUNYAPONG นที ศิริจรรยาพงษ์ NONGNUCH ROTJANALERT นงนุช โรจนเลิศ Silpakorn University. Education |
Keywords: | พฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน การควบคุมตนเอง แรงสนับสนุนจากครอบครัว แรงสนับสนุนจากโรงเรียน แรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน WORK DETERMINATION BEHAVIOR SELF CONTROL FAMILY SUPPORT SCHOOL SUPPORT FRIENDS SUPPORT |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this study were 1) to study level of work determination behavior, self control, family support, school support and friends support of junior high school students. 2) to compare work determination behavior of junior high school students classified by sex, grade level, sufficiency of expenses and living status and 3) to study variable effect to work determination behavior of junior high school students include self control, school support, family support and friends support. Representative sample is junior high school students of Nakhonchisi district, Nakhomphathom province 5 schools under the secondary education service area office 9 310 samples were collected, Use the formula of Yamane at 95% confidence level, use a stratified random sampling from population ratio classified by sex. Statistics used in the analysis include percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA and multiple regression analyzes based on the order of significance of the variables introduced.
The results were:
1. The results of the analysis of the variables used in the study, work determination behavior, self control, family support, school support and friends support of junior high school students were at the high level.
2. Result to compare work determination behavior of junior high school students classified by sex, grade level, sufficiency of expenses and living status were junior high school with a difference have work determination behavior no different.
3. Result to Variables that can predict work determination behavior of junior high school students were school support, friends support, family support and self control can predict work determination behavior of junior high school students at percentage of 70.07 with a statistical significance of .05. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน การควบคุมตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และการได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเพียงพอของค่าใช่จ่าย และลักษณะการพักอาศัย 3) ศึกษาตัวแปร ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน ได้แก่ การควบคุมตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และการได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน โดยผู้วิจัยกำหนดตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สำหรับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ใช้วิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนประชากรจำแนกตามโรงเรียนและเพศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์พหุถดถอยตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ระดับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมความมุ่งมั่น ในการทำงาน การควบคุมตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนจากโรงเรียน การได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ปกครอง และการได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน อยู่ในระดับมาก 2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน จำแนกตาม เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย และลักษณะการพักอาศัย พบว่า มีพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงานไม่แตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์ตัวแปร ที่สามารถทำนายพฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียน พบว่า การได้รับ แรงสนับสนุนจากโรงเรียน การได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และการควบคุมตนเอง สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ร้อยละ 70.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1414 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56256307.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.