Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1538
Title: Levels of particulate matter and BTEX from charcoal meat grilling and health risk
ระดับฝุ่นละอองและสารกลุ่ม BTEX จากการปิ้งย่างเนื้อสัตว์กับความเสี่ยงต่อสุขภาพ
Authors: Patawee THONGKUA
ปฐวี ทองเกื้อ
Aungsiri Thippayarom
อังก์ศิริ ทิพยารมณ์
Silpakorn University. Science
Keywords: TSP
PM10
PM4
PM2.5
การปิ้งย่างเนื้อสัตว์
BTEX
ความเสี่ยงต่อสุขภาพ
TSP
PM10
PM4
PM2.5
MEAT GRILLING
BTEX
HEALTH RISK
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to find the concentration of TSP PM10 PM4 PM2.5 and BTEX from meat grilling as pork meat, chicken meat, chicken wings and chicken internal organ with charcoal oven at Moo Yang shop. The BTEX concentration was used to assess the health risk of seller who was inhalers’ exposure in worse case. The result found the meat grilling from Moo Yang shop released TSP PM10 PM4 PM2.5 and BTEX at harmful levels to health. Grilling produced TSP at the highest average concentration follow by PM10 PM4 and PM2.5 with the orderly concentrations of 10.27±0.50 6.92±0.59 3.76±0.32 and 1.38±0.24 mg/m3, respectively. This was consistent with the result of seller’s interview is indicating occurences of Nasal irritation, nosebleed, cough, sneeze and sputum. These symptoms were the mechanism of dust removal from human’s respiratory system. For analyzing the BTEX, it found the average concentrations as following order; Benzene > Toluene > o-Xylene > Ethylbenzene with the orderly concentrations of 0.0323±0.0160 0.0180±0.0090 0.0030±0.0030 and 0.0013±0.0030 mg/m3, respectively with and non detect for m,p-Xylene. The BTEX concentrations were not exceeding work safety limits of OSHA NIOSH and announcement of Ministry of Interior. However, when when used BTEX concentration to assess the health risk in the worst case it found the seller had unacceptable risk of cancer with 1.10x10-5 or 11 persons per 1 million persons but did not have health risk of non-carcinogenic (HIBTEX = 0.152). Therefore, the seller should be self-protect to decrease BTEX inhalation exposure such as choose charcoal that produces incomplete combustion at low rates, use smoke control i.e. hood or fan with chimney to allow smoke lift above the breathing level, wearing a high efficiency mask that can absorb the toxics or filter small particulate as well.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความเข้มข้นของ TSP PM10 PM4 PM2.5 และสารกลุ่ม BTEX ที่เกิดจากการปิ้งย่างเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อหมู เนื้อไก่ ปีกไก่ บั้นท้ายไก่ และเครื่องในไก่ย่างด้วยเตาถ่าน ณ ร้านรถเข็นหมูย่าง และนำความเข้มข้นของสารกลุ่ม BTEX ไปประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสการหายใจของผู้ขายในกรณีที่ผู้ขายมีโอกาสได้รับสัมผัสสารมลพิษที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยตรงอย่างต่อเนื่อง  ผลการวิจัยพบว่าการปิ้งย่างของร้านหมูย่างเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองทั้ง 4 ชนิด และสารกลุ่ม BTEX ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นชนิดที่ตรวจพบสูงสุดคือ TSP รองลงมาคือ PM10 PM4 และ PM2.5 โดยมีความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 10.27±0.50 6.92±0.59 3.76±0.32 และ 1.38±0.24 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้ขายเนื้อสัตว์ปิ้งย่างร้านหมูย่างนักมวย พบว่า มีอาการระคายเคืองจมูก แสบจมูก ไอ จาม และมีเสมหะ ซึ่งเป็นอาการของกลไกการกำจัดฝุ่นละอองของร่างกาย และผลการตรวจวัดความเข้มข้นสารกลุ่ม BTEX พบความเข้มข้นเฉลี่ยของสารกลุ่ม BTEX เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ เบนซีน>    โทลูอีน>ออร์โธ-ไซลีน>เอทิลเบนซีน โดยมีความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ 0.0323±0.0162 0.0180±0.0088 0.0041±0.0025 และ 0.0030±0.0020 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ และตรวจไม่พบเมทา,พารา-ไซลีน ซึ่งแม้จะไม่เกินค่าขีดจำกัดความปลอดภัยในการทำงานในของ OSHA ของ NIOSH  และประกาศกระทรวงมหาดไทย แต่เมื่อนำค่าความเข้มข้นของสารกลุ่ม BTEX มาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในกรณีผู้ขายมีโอกาสได้รับสัมผัสสารมลพิษที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยตรงอย่างต่อเนื่อง พบว่าผู้ขายมีความเสี่ยงแบบก่อมะเร็ง (Cancer risk) ที่ยอมรับไม่ได้ โดยมีค่าเท่ากับ 1.10x10-5 หรือ 11 คนต่อประชากร 1 ล้านคน แต่ไม่มีความเสี่ยงแบบไม่ก่อมะเร็ง (HIBTEX = 0.152) ดังนั้นผู้ขายควรมีการป้องกันเพื่อลดปริมาณการได้รับสัมผัสสารกลุ่ม BTEX เช่น เลือกใช้เตาปิ้งย่างที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ในอัตราที่ต่ำ อุปกรณ์ควบคุมควันที่เลือกใช้ควรเป็นครอบดูดควัน (Hood) หรือเป็นพัดลมดูดควันที่มีปล่องส่งให้ควันลอยตัวได้สูงเกินระดับการหายใจ สวมใส่หน้ากากที่สามารถดูดซับสารพิษ หรือมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ดี เป็นต้น
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1538
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56311306.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.