Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1623
Title: | The Scenario of Workforce Development for Support Digital Television of Thailand Industrial in the next 5 years (2016-2020) ภาพอนาคตการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทยใน 5 ปี ข้างหน้า |
Authors: | Pituk PIRIEW พิทักษ์ ไปเร็ว Numchai Thanupon นำชัย ทนุผล Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ / การพัฒนากำลังคน / อุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัล MANPOWER DEVELOPMEN / DIGITAL TELEVISION / THAILAND DIGITAL TELEVISION INDUSTRIAL |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aimed to 1) study fundamental information of workforce development and competencies of manpower in area of Thai’s digital television industrial 2) analysis strategies in term of workforce development and competencies of Thai’s digital television industrial 3) Build strategy and policy for workforce and competency of Thai’s digital television industrial. The research process including 3 steps (1) study current needs of workforce development and competencies in area of Thai’s digital television industrial from document study from variety source such as text book, website, company profiled and in-depth interview with 9 stakeholders (2) Draft strategies policy workforce development and competencies in area of Thai’s digital television industrial by using EDFR technique with 24 key stakeholders (3) Arranged for seminar forum to confirm and support policy meeting with 17 key stakeholders.
The research finding of workforce development inside digital television broadcasting industry for Thailand are (1) Current situation of workforce development. are lack of preparation improvement and readiness for business growth but in beginning stage use experts from internal organization, rotation and recruit or buy form external organization and key position such as director, creative, editor, sound engineer and computer graphic that organization needs workforce development and University to open and develop program not enough for digital television and support form key stakeholder such as government, Ministry of ICT, education institution and business owner. (2) In regard to an analysis of external and internal environment factor that 4 strategies and 11 tactics for workforce development inside digital television broadcasting industry for Thailand in next 5 years 1) strategies of establishment in cooperative with promoting core values and culture’s workforce development 2) strategies of support and promoting core values, development plan, build capability, strengthen continually support 3) strategies of leadership attribute 4) strategies of leadership skill set and leadership development program 5) strategies of capability to support skill set 6) strategies of capability to support workforce development 7) strategies of learning and improvement 8) strategies of development each department to support workforce development 9) strategies of process improvement adjustable information and technology 10) strategies of yearly end planning for evaluate, and self assessment 11) The research finding were suggested strategy appropriate and feasible to implement in Thai digital television industry and additional suggestion from policy meeting were conclude in visionary “To strengthen and develop the human capacity to support Thai digital television industry within year 2021’. In order to complete, all missions 3 recommendations were 1) to create awareness and corporation in human capabilities to support Thai digital television industry within next 5 years 2) Development of human resource management capabilities for the Thai digital television industry within next 5 years 3) Development in system and technology Thai digital television industry within next 5 years.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ข้อมูลพื้นฐานและการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประเทศไทย 2) วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประเทศไทย 3) รับรองยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประเทศไทย ใน 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2560-2564) โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการด้านการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย วิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) จากเอกสารหนังสือ ตำรา แผ่นพับ สื่อชนิดต่างๆ และอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน (2) วิเคราะห์และร่างยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย โดยการใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR รวมจำนวน 24 คน (3) ผู้วิจัยดำเนินการจัดเสวนาสร้างสรรค์ปัญญา (Seminar Forum) เพื่อรับรองข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy Meeting) มีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม ข้อมูลดำเนินการเก็บรวบรวมระหว่างข้อมูลได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (interquartile range) และการวิเคราะห์เนื้อหา (context analysis) ผลจากการวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์ของการพัฒนากำลังเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทยพบว่า ขาดการเตรียมการที่ดีในส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่อาศัยผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจแล้วค่อยโยกย้ายพัฒนากำลังคนภายในและมีการซื้อบุคลากรที่เก่ง บุคลากรที่ดี มีฝีมือ ในตำแหน่งสำคัญได้แก่ เจ้าของสถานประกอบการ นักครีเอทีพ (Creative) นักตัดต่อ (Editor) ผู้ดูแลด้านเสียง (Sound Engineer) และผู้ดูแลด้านคอมพิวเตอร์กราฟิค (Computer Graphic) ในตำแหน่งดังกล่าวสถาบันการศึกษามีหลักสูตรจำนวนน้อยและคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ รัฐมนตรีของกระทรวง ผู้ประกอบการ ควรจะมีหน้าที่และรับผิดชอบการพัฒนากำลังคน (2) จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์การพัฒนากำลังคนและสมรรถนะบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทยใน 5 ปี ข้างหน้า ได้ 4 ยุทธศาสตร์ และ 11 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การกำหนดสร้างความร่วมมือรณรงค์ค่านิยม วัฒนธรรมในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากร 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการสร้างค่านิยม วัฒนธรรมการพัฒนากำลังคน 3) กลยุทธ์กำหนดคุณลักษณะของผู้นำที่ต้องการของหน่วยงาน 4) กลยุทธ์การสร้างหลักสูตรภาวะผู้นำที่เหมาะสมสอดคล้องกับค่านิยม วัฒนธรรมของหน่วยงานด้านพัฒนากำลังคน 5) กลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะด้านที่เอื้อต่อการพัฒนากำลังคน 6) กลยุทธ์สร้างหลักสูตรการพัฒนากำลังคนที่เอื้อต่อด้านการพัฒนากำลังคน 7) กลยุทธ์พัฒนาระบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนากำลังคน 8) กลยุทธ์การพัฒนาหน่วยงานต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนากำลังคน 9) กลยุทธ์วิเคราะห์กระบวนการทำงานที่จำเป็นต้องปรับประยุกต์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในงานพัฒนากำลังคน 10) กลยุทธ์วางแผนและดำเนินงานนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน 11) กลยุทธ์การจัดทำระบบการรับข้อเสนอแนะในการพัฒนากำลังคนและ (3) จากการวิจัยในครั้งพบว่ากลยุทธ์ที่นำเสนอมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติและได้เพิ่มตามคำแนะนำของผู้เข้าร่วมประชุมในส่วนของวิสัยทัศน์ว่า “มุ่งมั่นพัฒนากำลังคนให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทย ภายในปี 2564” และพันธกิจไว้ว่า “1) สร้างการรับรู้ ความร่วมมือของการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทยใน 5 ปี ข้างหน้า 2) การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารปละบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทยใน 5 ปี ข้างหน้า 3) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิทัลของประเทศไทยใน 5 ปี ข้างหน้า เพื่อให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น |
Description: | Doctor of Philosophy (PH.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1623 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55604908.pdf | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.