Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1651
Title: PARTICIPATORY ACTION RESEARCH IN LOW CARBON TOURISM MANAGEMENT IN THE CONTEXT OF THAILAND 4.0 COMMUNITY IN EASTERN THAILAND
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย
Authors: Chakhrit ONGTHUN
ชาคริต อ่องทุน
Narin Sungrugsa
นรินทร์ สังข์รักษา
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ
ประเทศไทย 4.0
participatory action research
low carbon tourism
Thailand 4.0
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research are aimed to 1) study the situation of low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand 2) study the best practices in low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand 3) study the guideline of low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand 4) synthesis the model of low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand by qualitative research, field research by participatory action research. There are 4 research methodologies, Step1 study the situation of low carbon tourism management and synthesis the best practices in low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand. Step 2 participatory action research in low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand. Step 3 the guideline of low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand. Step 4 synthesis the model of low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand. The research found that: 1. Low Carbon Community including alternative energy, awareness of the community, village layout and house design, low carbon gastronomy, low carbon homestay and low carbon activities are not trying to create a temporary image. But it is a real commitment to environmental protection and take action seriously to reach the destination concrete. 2. Best Practices in low carbon tourism management in Koh Mak and Nam Chieo village have best practices include 1) drive plan 2) conscious mind 3) service. The factors that affect the success in low carbon tourism management include 1) Internal factors: leader and people in the community 2) external factors: public and private sectors. 3. Participatory action research in low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand guidelines are as follows: 1) participation and role of leaders 2) raising of learning processes 3) attractions 4) social media 5) activities 6) extension and development. The low carbon tourism management process are as follows: 1) drive plan 2) conscious mind 3) service. The factors that affect the success internal factors are as follows: 1) leader 2) people in the community 3) natural and environmental funding and external factors are as follows: public and private. 4. The model for low carbon tourism management in the context of Thailand 4.0 community in eastern Thailand “PRASAE Model” consist of 1) P- Participation and Role of Leaders 2) R-Raising of Learning Processes 3) A-Attractions 4) S-Social Media 5) A-Activities 6) E-Extension and Development. Findings from this research show that participation in low carbon tourism management is based on low carbon tourism management, the elements of low carbon tourism. Including internal factors and external factors that influence the success of low carbon tourism. To provide sustainable community-based tourism management.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย 2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย 3) การจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย 4) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลวิจัยภาคสนามโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ของการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำและสังเคราะห์จากกรณีศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย ขั้นตอนที่ 3 แนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย ขั้นตอนที่ 4 สังเคราะห์รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนที่มีการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Community) ทั้งจากการใช้พลังงานทางเลือกของชุมชนและความตระหนักของคนในชุมชน การวางผังหมู่บ้านและการออกแบบบ้านเรือน การบริการอาหารคาร์บอนต่ำ โฮมสเตย์คาร์บอนต่ำ และกิจกรรมคาร์บอนต่ำในชุมชนไม่ได้เป็นการพยายามสร้างภาพลักษณ์แบบฉาบฉวย แต่เป็นความตั้งใจจริงในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างเป็นรูปธรรม 2. วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำพื้นที่เกาะหมากและชุมชนบ้านน้ำเชี่ยวมีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้แก่ 1) แผนขับเคลื่อน 2) จิตสำนึก 3) การบริการ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและคนในชุมชน 2) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย ภาครัฐและภาคเอกชน 3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย มีแนวทางดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมและบทบาทของแกนนำ 2) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ 3) แหล่งท่องเที่ยว 4) สื่อสังคมออนไลน์ 5) กิจกรรมการท่องเที่ยว 6) การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว และมีกระบวนการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ ดังนี้ 1) แผนขับเคลื่อน 2) จิตสำนึก 3) การบริการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัจจัยภายในประกอบด้วย 1) ผู้นำชุมชน 2) สมาชิกในชุมชน 3) ทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 1) ภาครัฐ 2) ภาคเอกชน 4. รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำตามบริบทการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ชุมชนในภาคตะวันออกของไทย “PRASAE Model” ประกอบด้วย 1) P-Participation and Role of Leaders (การมีส่วนร่วมและบทบาทของแกนนำ) 2) R-Raising of Learning Processes (การสร้างกระบวนการเรียนรู้) 3) A-Attractions (แหล่งท่องเที่ยว) 4) S-Social Media (สื่อสังคมออนไลน์) 5) A-Activities (กิจกรรมการท่องเที่ยว) 6) E-Extension and Development (การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว) ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ พบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำต้องอาศัยกระบวนการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ องค์ประกอบของการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ รวมถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ เพื่อให้ชุมชนมีการบริหารจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชนอย่างยั่งยืน
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1651
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57604944.pdf13.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.