Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1856
Title: Royal Seals of Kingdom in Rattanakhosin Period
ตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินสมัยรัตนโกสินทร์
Authors: Theerapat AMORNSAKUN
ธีรพัฒน์ อมรสกุล
RUNGROJ THAMRUNGRAENG
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: พระราชลัญจกร
ตราแผ่นดิน
ตราอาร์ม
พระครุฑพ่าห์
รัตนโกสินทร์
ROYAL SEAL
SEAL OF KINGDOM
COATS OF ARMS
GARUDA
RATTANAKHOSIN PERIOD
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract:     The Royal seals or the Royal badge is one of artwork types that is one of artwork types that be recorder the story or something that has happened in a certain period of time, that influencing the designer by interpreting the belief and meaning through the use of symbolic symbols. From the old style to the original style of the seal of the land and pass on the concept and style of the check. Seal designs and logos on dating.     In the Rattanakosin Period About 24th to 26th centuries, The Kingdom of Thailand have two Royal seals. The Royal arms of the Kingdom of Siam seal is influenced by the thinking beliefs about the king and thinking of that period time, traditional heritage tradition, Hindu religious beliefs, His Majesty wishes to announce and show that he has the power over the Kingdom under the rule and harmony of the people in the Kingdom, And praise and the king of the nobles, servants, and the Garuda Royal seal, designed by all of royal meaning and famous symbolic.b The Royal Garuda Seal is designed by the development of the Royal Garuda seal in the Ayutthaya period, designed as a seal by the thinking beliefs about the king and   the belief of the god come to be the king, Hindu god in the motto of faith to the monarch according to the belief in Sanskrit literature or beliefs. The Vaishnavism in Hindi.     Although the two Thai Royal seals used to be the Royal seals at different times. But the two seals are influenced and inspired by the thinking and faith about the king in the same thinking of design.
    ตราพระราชลัญจกรหรือตราสัญลักษณ์ คือศิลปกรรมรูปแบบหนึ่งซึ่งทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวบางอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้ออกแบบโดยสอดแทรกคติความเชื่อและความหมายผ่านการนำรูปสัญลักษณ์มาผูกประกอบกันหรือพัฒนาจากรูปแบบที่เคยมีมาเก่าก่อนจนเกิดรูปแบบลักษณะเฉพาะของตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินและส่งต่อแนวความคิดและรูปแบบลักษณะของการออกแบบตราพระราชลัญจกรและตราสัญลักษณ์ต่อสืบมา     ในสมัยรัตนโกสินทร์ หรือราวพุทธศตวรรษที่ 24 ถึง 26 ปรากฏการประดับใช้ตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินอยู่ 2 รูปแบบ อันได้แก่ ตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินแบบตราอาร์มแห่งราชอาณาจักรสยามซึ่งถูกออกแบบรังสรรค์ขึ้นโดยการนำรูปสัญลักษณ์สำคัญที่มีความหมายนำมาผูกประกอบร่วมกันซึ่งได้รับอิทธิพลแรงบันดาลใจจากคติความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในองค์พระมหากษัตริย์และแนวความคิดที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลานั้น อันได้แก่ การสืบทอดขนบธรรมเนียมอย่างโบราณราชประเพณี คติความเชื่อตามลัทธิเทวราชาในศาสนาฮินดู การที่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะประกาศและแสดงให้เห็นว่าทรงมีพระราชอำนาจเหนือดินแดนประเทศราชภายใต้การปกครองและความสามัคคีของผู้คนในราชอาณาจักรและการสรรเสริญและเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ของเหล่าขุนนางข้าราชการ และตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินพระครุฑพ่าห์ได้รับการออกแบบโดยพัฒนาจากตราครุฑพ่าห์ในสมัยอยุธยาเป็นการออกแบบตราพระราชลัญจกรโดยได้รับอิทธิพลแรงบันดาลใจจากคติความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในองค์พระมหากษัตริย์จากคติความเชื่อตามลัทธิเทวราชาในศาสนาฮินดูที่แฝงอยู่ในคติความเชื่อที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ตามคติความเชื่อในวรรณคดีสันสกฤตหรือตามคติความเชื่อในลัทธิไวษณพนิกายในฮินดู     แม้ว่าตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินทั้งสององค์ปรากฏการประดับใช้เพื่อเป็นตราประจำแผ่นดินในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แต่ตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินทั้งสองรูปแบบต่างล้วนได้รับอิทธิพลและแรงบรรดาลใจจากคติความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในองค์พระมหากษัตริย์ในการออกแบบรังสรรค์ขึ้นเหมือนกัน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1856
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57107314.pdf14.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.