Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1877
Title: | Design of tactile symbols on packages for the blind and visually impaired to differentiate brands การสร้างแนวคิดต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสเพื่อการแยกแยะความแตกต่างของตราสินค้า บนบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น |
Authors: | Pornchanok HOONMATRA พรชนก หุนมาตรา PTAVE ARRAYAPHARNON ปฐวี อารยภานนท์ Silpakorn University. Decorative Arts |
Keywords: | คนตาบอด ผู้บกพร่องทางการมองเห็น บรรจุภัณฑ์ สัญญะสัมผัส สัญลักษณ์สัมผัส BLIND VISUALLY IMPAIRED PACKAGING TACTILE SIGNS TACTILE SYMBOLS |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this research was to study and find the prototype model of the tactile symbols for distinguish the products on the packaging. This study is focus on the tactile symbols for ,which is the remaining senses of the visually impaired (hearing and touch), as these following steps. First, study and experiment to find the patterns of the prototype of tactile symbols to differentiate each pattern and study the possibilities of the prototype by creating from the sensory perception. Study the patterns of hands moving while touching the package and the prototype of the sign system. Find the suitable position to attach the prototype on the packaging, the point that showing the direction of the symbol, the use of hands touching the symbol pattern on the tactile symbols prototype. With a sample of 30 people who modeled to be visually impaired. Second, create a prototype model of the sign system. By designing the symbol on the prototype of the sign system in 2 separate ways: a pattern that can produce sound and patterns that use touch. And consult with the experts to evaluating the suitability and feasibility of the design to guide and develop the next generation of the prototype. Third, compare the efficiency of the touch signal prototype model. By using the sample group, which simulates a visually impaired, of 30 people. Tested all 5 design variables i.e. shape, size, number, position and designed technique.
The research found that symbols that use touch patterns is a model that is most suitable for creating a tactile symbols prototype. There is a possibility of actual use. With the highest level of durability, with an average of 4.50 (S.D.=0.58).Transport durability at a high level, with an average of 4.00 (S.D.=0.00). The ease of use is at the highest level, with an average of 4.50 (S.D.=0.58). Simple elements, ease to accessed and understood at a high level, with an average of 4.25 (S.D.=0.96). Can be applied to a variety of packaging at the highest level, with an average of 4.75 (S.D.=0.50). Suitable for price / production cost at a high level, with an average of 4.25 (S.D.=0.50). The production process are simple and can be easily produced at a high level, with an average of 3.75 (S.D.=0.50). Safe to use for a high level, with an average of 4.25 (S.D.=0.50). And by comparing the efficiency of the prototype found that The prototype of the touch signal system that is designed with the designed technique are the most effective way to distinguish the product on the packaging. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองหารูปแบบของต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสเพื่อแยกแยะความแตกต่างของตราสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น มุ่งเน้นศึกษาต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสซึ่งออกแบบโดยใช้ประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่ของผู้บกพร่องทางการมองเห็นคือประสาทสัมผัสทางการได้ยินและกายสัมผัส มีขั้นตอนในการวิจัยดังนี้ 1.ศึกษาและทดลองหารูปแบบของต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสเพื่อแยกแยะความแตกต่าง หาความเป็นไปได้ของต้นแบบโดยสร้างสรรค์จากประสาทการรับรู้ทางการได้ยินและกายสัมผัส ศึกษาลักษณะการใช้มือในการสัมผัสบรรจุภัณฑ์และต้นแบบระบบสัญญะสัมผัส ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดต้นแบบบนบรรจุภัณฑ์ จุดแสดงทิศทางของต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสและศึกษาการใช้มือสัมผัสรูปแบบสัญลักษณ์บนต้นแบบระบบสัญญะสัมผัส โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งจำลองเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็น 2.สร้างต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสโดยออกแบบสัญลักษณ์บนต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสเป็น 2 แนวทาง คือ รูปแบบที่สามารถทำให้เกิดเสียงได้ และรูปแบบที่ใช้การสัมผัส นำผลการออกแบบไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญประเมินพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการออกแบบเพื่อเป็นแนวทางและพัฒนาต้นแบบ 3.เปรียบเทียบประสิทธิภาพของต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจำลองเป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็นจำนวน 30 คน ทดสอบตัวแปรในการออกแบบทั้ง 5 ตัวแปร ได้แก่ รูปร่าง ขนาด จำนวน ตำแหน่ง และเทคนิคในการสร้าง ก่อนนำผลไปทดสอบกับกลุ่มผู้บกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 30 คน เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของต้นแบบระบบสัญญะสัมผัส ผลการวิจัยพบว่า สัญลักษณ์รูปแบบที่ใช้การสัมผัสเป็นรูปแบบที่เหมาะสมมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริง โดยมีความเหมาะสมด้านความคงทนต่อการใช้งานในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 (S.D.=0.58) ความคงทนต่อการขนส่งในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D.=0.00) สะดวกในการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.50 (S.D.=0.58) สามารถเข้าถึงได้ง่ายในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.96) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์ได้หลากหลายในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.75 (S.D.=0.50) ความเหมาะในด้านราคา/ต้นทุนการผลิตในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.50) สามารถผลิตได้ง่ายอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.75 (S.D.=0.50) ปลอดภัยต่อการใช้งานความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.50) และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของต้นแบบพบว่า ต้นแบบระบบสัญญะสัมผัสที่ถูกออกแบบด้วยตัวแปรเทคนิคในการสร้างมีประสิทธิภาพในการแยกแยะความแตกต่างของตราสินค้าบนบรรจุภัณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บกพร่องทางการมองเห็น |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1877 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58155204.pdf | 5.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.