Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1899
Title: | IDENTITY OF "TUT" (LADYBOY) FROM "BANTHUEK KHOENG TUT"AND "KWA CHE CHA PEN MOE" อัตลักษณ์ของ "ตุ๊ด" จากหนังสือชุดบันทึกของตุ๊ดและกว่าเจ้จะเป็นหมอ |
Authors: | Mayura PULWAMARA มยุรา ปุลวามะระ Sirichaya Corngreat สิริชญา คอนกรีต Silpakorn University. Arts |
Keywords: | อัตลักษณ์ ตุ๊ด พื้นที่ทางสังคม เพศหลากหลาย เพศทางเลือก IDENTITY TUT (LADYBOY) SOCIAL SPACE ALTERNATIVE GENDER GENDER DIVERSITY |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This independent study aims to analyze the identities of Tut (Thai term for transgender women) and linguistic strategies employed in the construction of identities. Five books were used in this study: three books from BANTHUEK KHOENG TUT, and two books from KWA CHE CHA PEN MOE. Altogether, there are five books in this study.
The result reveals that the narrators of both series present Tut both in personal and public space. There are three images in personal space: in a family, in friendship, and in romantic relationships. In a family, three images were found: 1) the image of a Tut from a warm and happy family; 2) a Tut from a family who is a good role model in doing good deeds; 3) a Tut whose family brought them up with care and proper guidance. In friendship, the presentation of Tut as a true and loyal friend who is friendly to everybody is found. In romantic relationships, the image of Tut being the one who has pure love and is faithful in the relationship is found. The presentation of Tut is found in two types of public spaces: in workplace and in community. In workplace, Tut is presented as 1) an effective employee, and 2) as an individual who has high level of commitment for work and professional ethics. In community, Tut is presented as 1) a patient and reasonable individual, 2) an individual who speaks up for rights and justice, and 3) a Tut who possesses volunteer spirit for public.
Five linguistics strategies were found: 1) word choice, e.g. using Creative words, slang words, first person pronouns, final particles, and locative case; 2) modifiers, e.g. adjectives, adverbs, and relative clauses; 3) presupposition, e.g. temporal clauses, referring expressions, and negation; 4) metaphor, i.e., using Sailor moon, a Japanese anime character, as a metaphor of Tuts’ identity; and 5) simile with words like, as, and equals to. In summary, Tuts’ identities portrayed through narrative and linguistic strategies are all positive. This portrayal defies and negotiates with the paradigm Thai society has against Tuts, aiming to make Thais see Tuts in a different light and, consequently respect and be more open-minded towards them.
การค้นคว้าอิสระเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์ของตุ๊ดและกลวิธีทางภาษาที่นำเสนออัตลักษณ์ของตุ๊ดในหนังสือชุดบันทึกของตุ๊ด จำนวน 3 เล่ม และกว่าเจ้จะเป็นหมอ จำนวน 2 เล่ม รวม 5 เล่ม ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนนำเสนออัตลักษณ์ตุ๊ดในพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ ในพื้นที่ส่วนตัวพบตัวตนตุ๊ดที่ผู้เขียนนำเสนอในเรื่องเล่าจาก 3 พื้นที่ ดังนี้ พื้นที่ครอบครัว พบการนำเสนอตัวตนตุ๊ดผู้มาจากครอบครัวที่อบอุ่น ตุ๊ดผู้มีครอบครัวเป็นต้นแบบที่ดีและตุ๊ดผู้ได้รับการอบรมสั่งสอน ต่อมาพื้นที่ความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิท พบการนำเสนอตัวตนตุ๊ดผู้เป็นมิตรแท้และตุ๊ดผู้เป็นเพื่อนได้กับทุกคน ส่วนพื้นที่ความสัมพันธ์กับคนรัก พบตัวตนตุ๊ดผู้มีความรักอันบริสุทธิ์และตุ๊ดผู้มั่นคงในความรัก ในส่วนของพื้นที่สาธารณะพบตัวตนตุ๊ดจาก 2 พื้นที่ ดังต่อไปนี้ พื้นที่การทำงาน ปรากฏพบการนำเสนอตัวตนตุ๊ดผู้มีศักยภาพในการทำงาน ตุ๊ดผู้เสียสละในการทำงานและตุ๊ดผู้มีจรรยาบรรณในอาชีพ และในพื้นที่สังคมส่วนรวม พบตัวตนตุ๊ดผู้อดกลั้นและกระทำด้วยเหตุผล ตุ๊ดผู้ต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิความเป็นธรรมและตุ๊ดผู้มีจิตอาสา กลวิธีทางภาษาที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อนำเสนออัตลักษณ์ของตุ๊ดพบทั้งหมด 5 กลวิธี ดังนี้ 1) การเลือกใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างอัตลักษณ์ตุ๊ด ได้แก่ การประดิษฐ์ถ้อยคำ คำสแลง คำบอกบุรุษที่ 1 คำลงท้ายและถ้อยคำที่บ่งบอกสถานที่ 2) การใช้ส่วนขยาย พบส่วนขยายคำนามและคำกิริยา 3) การใช้มูลบท พบการใช้อนุพากย์บอกเวลา รูปภาษาการอ้างถึงและรูปประโยคปฏิเสธ 4) การใช้อุปลักษณ์ พบการเลือกใช้ตัวการ์ตูนเซเลอร์มูนเป็นแบบเปรียบกับตัวตนของตุ๊ด 5) การใช้การอ้างอิงส่วนรวม โดยใช้คำว่า อย่าง เหมือนกับ เทียบเท่ากับ พบว่าอัตลักษณ์ของตุ๊ดที่นำเสนอผ่านเรื่องเล่าและกลวิธีทางภาษาล้วนแต่เป็นภาพตุ๊ดในด้านบวก ซึ่งการนำเสนอภาพเหล่านี้เป็นการตอบโต้และต่อรองกับชุดความคิดแง่ลบที่สังคมไทยมีต่อตุ๊ดเพื่อที่จะให้คนในสังคมไทยทำความรู้จักทำความเข้าใจกับตุ๊ดใหม่และยอมรับ เปิดพื้นที่ มอบโอกาสให้แก่พวกเขามากขึ้นด้วย |
Description: | Master of Arts (M.A.) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1899 |
Appears in Collections: | Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57208311.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.