Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1927
Title: Analysis of offenders' demographic data and case data of serious crimes in Provincial Police Region 7 in 2015
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประชากรของผู้ต้องหาและข้อมูลเชิงคดีของคดีอุกฉกรรจ์ ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 ในปี พ.ศ.2558
Authors: Woranuch SAIKAEW
วรนุช ไทรแก้ว
Supachai Supalaknari
ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี
Silpakorn University. Science
Keywords: คดีอุกฉกรรจ์
ความรุนแรงทางอาชญากรรม
การวิเคราะห์คดีอาชญากรรม
Serious crime cases
Crime seriousness
Crime analysis
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The aim of this work is to determine the association between offenders’ demographic data and case data of serious crimes in 2015 (310 cases) as reported by Provincial Police Region 7.  The cases were grouped into three categories of crime seriousness as homicide (195 cases), robbery (27 cases) and larceny cases (88 cases).  Most of the offenders were male (94.8%) and the mean age of the offenders was in the range of 20 to 29 years.  More than half of the cases were homicide incidents (52.4%) and in 38.4% of all cases, the offenders had intention to deprive victims’ property.  Firearms (44.5%) and knives (28%) were the most common weapons used by the offenders.  Over half of the offenders (53.8%) had no crime history, however, 24.8% of the offenders were recidivists.  Statistical analyses of the association of demographic variables with the case data were performed using Pearson chi-square test and odds ratio at a significant level of 0.05.  Results revealed that the percentage of male offenders were significantly higher than those of the female and the odds ratio on homicide for the male offenders compared to female cases was 2.98 (95% CI, 1.22-7.28).  The data also revealed significant differences between age groups and crime seriousness.  Nearly forty percent of the offenders in robbery cases were adolescent (younger than 19 years).  The figure was significantly different from those of the other age groups.  The odds on robbery compared to the other offences for the adolescences was 5.56 (95% CI, 3.39-9.11) times that for the other age groups whereas the odds on homicide compared to other cases for the offenders having the age above 39 years was 7.51 (95% CI, 3.49-16.19) times that for the other age groups.  Moreover, in homicide cases, the high proportion of the offenders were non-recidivist (96.8%) and were in the group of no crime history (65.2%).  The odds ratio on homicide for the group of no crime history compared to the group having crime history was 2.67 (95% CI, 1.84-3.85).  However, the odds ratios on larceny cases for the offenders having crime history and the recidivist offenders were 3.08 (95% CI, 2.00-4.72) and 4.83 (95% CI, 3.09-7.56) respectively.  In conclusion, the findings from this study may provide better insight into the nature of criminal cases encountered in this region of Thailand.
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงประชากรของผู้กระทำความผิดและข้อมูลเชิงคดีของคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 (310 คดี) ที่รายงานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 โดยจำแนกคดีเป็น 3 ประเภทตามความรุนแรงทางอาชญากรรมคือ คดีฆ่าผู้อื่น (195 คดี) คดีปล้นทรัพย์ (27 คดี) และคดีชิงทรัพย์ (88 คดี) ผู้กระทำความผิดเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย (94.8%) และอายุเฉลี่ยของผู้ต้องหาอยู่ในช่วง 20 ถึง 29 ปี คดีฆ่าผู้อื่น (52.4%) มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของคดีทั้งหมด และในร้อยละ 38.4 ของคดีทั้งหมดผู้ต้องหามีความประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย ปืน (44.5%) และมีด (28%) คืออาวุธที่ผู้ต้องหาใช้มากที่สุด ผู้ต้องหาจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (53.8%) ไม่มีประวัติอาชญากรรม อย่างไรก็ตามร้อยละ 24.8 ของผู้ต้องหาเคยก่อเหตุซ้ำมาก่อน ในการวิเคราะห์ทางสถิติใช้การทดสอบ Pearson chi-square และ Odds ratio ด้วยค่าระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงประชากรและข้อมูลเชิงคดี ผลการวิเคราะห์พบว่าร้อยละของผู้กระทำความผิดที่เป็นเพศชายมากกว่าผู้กระทำความผิดที่เป็นเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ และค่า odds ratio ของเหตุฆ่าผู้อื่นสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นเพศชายเปรียบเทียบกับที่เป็นเพศหญิงเป็น 2.98 (95% CI, 1.22-7.28) ข้อมูลยังแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างตัวแปรกลุ่มอายุและความรุนแรงทางอาชญากรรม เกือบร้อยละ 40 ของผู้กระทำความผิดในคดีปล้นทรัพย์เป็นวัยรุ่น (อายุน้อยกว่า 19 ปี) ตัวเลขดังกล่าวแตกต่างจากตัวเลขของกลุ่มอายุอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ ค่า odds ของการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์เปรียบเทียบกับความผิดอื่นสำหรับผู้กระทำความผิดวัยรุ่นเป็น 5.56 (95% CI, 3.39-9.11) เท่าของค่าดังกล่าวสำหรับผู้กระทำความผิดในกลุ่มอายุอื่นๆ ในขณะที่ค่า odds ของการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเปรียบเทียบกับคดีอื่นๆสำหรับผู้ต้องหาที่มีอายุสูงกว่า 39 ปีเป็น 7.51 (95% CI, 3.49-16.19) เท่าของค่าดังกล่าวสำหรับผู้กระทำความผิดในกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ในคดีฆ่าผู้อื่นผู้กระทำความผิดที่ไม่ได้ทำความผิดซ้ำ (96.8%)  และไม่มีประวัติอาชญากรรม (65.2%) มีสัดส่วนสูง โดยค่า odds ratio ของการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นสำหรับกลุ่มที่ไม่มีประวัติอาชญากรรมเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีประวัติอาชญากรรมคือ 2.67 (95% CI, 1.84-3.85) อย่างไรก็ตามค่า odds ratio ของคดีชิงทรัพย์สำหรับผู้ต้องหาที่มีประวัติอาชญากรรมและผู้ต้องหาที่กระทำความผิดซ้ำคือ 3.08 (95% CI, 2.00-4.72) และ 4.83 (95% CI, 3.09-7.56) ตามลำดับ โดยสรุปผลการศึกษานี้อาจช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ของประเทศไทยได้ดีขึ้น
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1927
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57312323.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.