Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2165
Title: HISTORIC URBAN LANDSCAPE OF THE WORLD HERITAGE TOWN OF LUANG PRABANG, LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC
ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Authors: Nittha BOUNPANY
Nittha BOUNPANY
CHAISIT DANKITIKUL
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
Silpakorn University. Architecture
Keywords: พัฒนาการ
ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์
เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง
Development
Historic Urban Landscape
The World Heritage Town of Luang Prang
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research studies the landscape characteristics of the World Heritage town of Luang Prabang, Lao PDR. The study aims to provide a critical analysis on the socio-cultural environment of landscape in zones of protection: Zpp-Ua (core heritage area with a high concentration of historical monuments): streetscape, Historical buildings and cultural landscape. The study was conducted by collecting data from historical evidence and architectural surveys to identify the significant physical elements to include the criteria from recommendation of historical urban landscape by UNESCO           The results show that historical development of historic urban landscape of the World Heritage town of Luang Prabang belong to correlation between human Beliefs and environment. Especially religious places are the most important center of communities’ settlement and located on significant geography. Furthermore, the historic urban landscape of Luang Prabang is the evidence of the heritage during French colonial protectorate period. A building, streetscape, landscape belong to colonialism style and continue development to the modernism period. However, the historical urban landscape of Luang Prabang is undergoing tremendous change in a relatively short period of time. It encounters to mass tourism that become with popularity of world heritage site.    
งานศึกษาวิจัยฉบับนี้ มุ่งเน้นการศึกษาลักษณะทางภูมิทัศน์ ในพื้นที่ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง โดยทำการศึกษาในมิติวัฒนธรรม สังคมและสภาพแวดล้อมที่แสดงออกผ่านภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อนำมาซึ่งการอธิบายลักษณะทางภูมิทัศน์ โดยทำการศึกษาในพื้นที่อนุรักษ์เมืองเก่า (Zpp-Ua) ได้แก่  ภูมิทัศน์ถนนที่มีความสำคัญและพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยผ่านการศึกษาข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และการลงสำรวจภาคสนาม นำมาสู่การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมควบคู่กับการศึกษาเกณฑ์ของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้ สามารถอธิบายถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง สามารถจำแนกให้เห็นถึงลักษณะของภูมิทัศน์ที่แสดงออกในรูปแบบทางภูมิสถาปัตยกรรมผ่านคติความเชื่อ ผ่านมิติทางวัฒนธรรม สังคม และคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งการตั้งถิ่นฐานของชาวหลวงพระบางนั้นมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์ (คติความเชื่อ วิถีชีวิต) และสภาพแวดล้อม สรรค์สร้างเมืองหลวงพระบางให้มีเอกลักษณ์เฉพาะและความโดดเด่นสวยงาม ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางสำคัญของชุมชนโดยมีแบบแผน และทิศทางการวางผังที่มีลักษณะพิเศษที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมชุมชน และความเชื่อ ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พิเศษนี้ทำให้หลวงพระบางมีข้อได้เปรียบในท่วงทีของการออกแบบ และการจัดวางองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ อันเป็นหลักฐานที่สำคัญในการเชื่อมโยงกันระหว่างอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกันผ่านกระบวนการทางความคิด ความเชื่อ ศิลปะ และการออกแบบอย่างประณีตสวยงาม อิทธิพลของอาณานิคมฝรั่งเศสได้ส่งผลให้เมืองหลวงพระบางมีการเปลี่ยนแปลงจากภาพซ้อนทับของโครงสร้างผังเมือง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แทรกตัวอยู่ร่วมกับชุมชนแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตามความท้าทายสำคัญของเมืองมรดกโลกหลวงพระบางต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์แปลกใหม่ ที่มาพร้อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภายหลังจากการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  
Description: Master of Landscape Architecture (M.L.A.)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2165
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58060209.pdf25.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.