Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2204
Title: THE DEVELOPMENT OF LOCAL INNOVATION MANAGEMENT MODEL IN WESTERN REGION
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่นในเขตภูมิภาคตะวันตก
Authors: Pawena BUNNAG
ปวีณา บุนนาค
PITAK SUPANNOPAPH
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ
Silpakorn University. Education
Keywords: นวัตกรรมท้องถิ่น, การบริหารจัดการ, ผู้นำ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, เครือข่าย
LOCAL INNOVATION
MANAGEMENT
LEADER
PUBLIC PARTICIPATION
NETWORK
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research applying Mixed Methods Approach are 1) to study the condition of local innovation management of Sub-district Administrative Organization in western regional 2) to study best practice of local innovation management of Sub-district Administrative Organization, and 3) to study development of local innovation management of Sub-district Administrative Organization in western regional. The sample group include Chief Executive of the SAO, Chief Administrator of the SAO, Chairman/Vice Chairman of the SAO Council in Western Region, 303 persons. Key informant include Chief Executive of the SAO, Chief Administrator of the SAO, Chairman/Vice Chairman of the SAO Council and Community leader of Nong Luang SAO, Don Kaew SAO, Khuang Pao SAO and Na Pho SAO. Data collecting instruments were questionnaire, interview guideline and focus group discussion. Quantitative analysis involved frequency, percentage, mean, standard deviation. Qualitative analysis involved content analysis. The findings of the research result 1) In studying characteristic of local innovation structure, the finding indicated the most recent initiative project as the characteristic of local innovation. Chief Executive of the SAO played the significant role in decision making/initiating the project/activity. The most significant factors in local innovation in SAO included the organizational leader/chief executive. In addition, reason of SAO’s non-local innovation include lack of initiator/ inventor/stimulator of local innovation. The overall opinion on local innovation management was in high level. 2) Best practice consists of 1. leader with high leadership, 2. working team with the same quality and ideology, 3. public participation, 4. network working, 5. proactive working process, 6. systematic monitoring and assessment of the project, and 7. extensive innovation development and transfer. The related factors of local innovation management included public policy, organizational leader, organizational culture, personnel knowledge and competence, public participation, and external agency support. 3) Local innovation management style consists of inputs including leader, organizational culture, personnel knowledge and competence, public participation, external agency support; and process including planning, organizing, staffing, directing, budgeting, Monitoring and Evaluating ; and the derived output including local innovation.
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Approach) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สภาพของการบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก 2) เพื่อศึกษาวิธีปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของการบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล 3) เพื่อพัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อยู่ในตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ประธาน/รองประธานสภาท้องถิ่นขององค์การบริหาร ส่วนตำบลในเขตภูมิภาคตะวันตก 101 แห่ง จำนวน 303 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล, ประธาน/รองประธานสภาท้องถิ่น และผู้นำชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา และองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แนวทางสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ในการศึกษาลักษณะโครงการนวัตกรรมท้องถิ่น พบว่า ลักษณะนวัตกรรมท้องถิ่นเป็นโครงการริเริ่มใหม่ มากที่สุด โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ/ คิดริเริ่มโครงการ/กิจกรรมหนึ่ง ๆ โดยปัจจัยสำคัญที่สุดในการเกิดนวัตกรรมท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลคือ ผู้นำ/ผู้บริหารองค์กร สาเหตุที่ทำให้ องค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีนวัตกรรมท้องถิ่นพบว่า สาเหตุคือขาดผู้ริเริ่ม/คิดค้น/กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมท้องถิ่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้แก่ 1. ผู้นำมีภาวะความเป็นผู้นำสูง 2. ทีมงานมีคุณภาพและมีอุดมการณ์ เดียวกัน 3. การมีส่วนร่วมของประชาชน 4. การทำงานแบบเครือข่าย 5. กระบวนการทำงานเชิงรุก 6. การติดตามและ ประเมินผลโครงการอย่างเป็นระบบ 7. การพัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดนวัตกรรม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการบริหาร จัดการนวัตกรรมท้องถิ่น ได้แก่ นโยบายภาครัฐ, ผู้นำองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, ความรู้ความสามารถของบุคลากร, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 3) รูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมท้องถิ่น ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ผู้นำ วัฒนธรรม องค์กร ความรู้ความสามารถของบุคลากร การมีส่วนร่วมของประชาชน การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ด้านกระบวนการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดการบุคลากร การสั่งการ การบริหารงบประมาณ การติดตาม ประเมินผลด้านผลผลิตที่ได้คือนวัตกรรมท้องถิ่น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2204
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56260902.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.