Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorMalai THONGSIMAen
dc.contributorมาลัย ทองสิมาth
dc.contributor.advisorWANNAWEE BOONKOUMen
dc.contributor.advisorวรรณวีร์ บุญคุ้มth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Educationen
dc.date.accessioned2019-08-08T06:20:24Z-
dc.date.available2019-08-08T06:20:24Z-
dc.date.issued2/1/2019
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2269-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThis research aimed to 1) study the general information and needs for vocational skills in preparing Nakhon Pathom high school students for Thailand 4.0, and; 2) draft and propose strategies in preparing Nakhon Pathom high school students’ vocational skills for Thailand 4.0. The research was conducted by Ethnographic Delphi Future research (EDFR) technique. The data were collected from 17 experts and 30 stakeholders through organizing a meeting to consider a drafted policy proposal. The research instruments were a semi-structured interview and a questionnaire. The collected data were analyzed for median, interquartile range, and content analysis. The research findings were as follows: 1. The basic information and the needs for vocational skills in preparing Nakhon Pathom high school students for Thailand 4.0 based on the analysis of current conditions and environmental analysis, showed that most educational institutions had an understanding of only the basic preparation for vocational skills due to inadequate public relations information.  Personnel that provided information about preparation for creating knowledge and understanding of vocational skills were limited, and; lack of integration of local entrepreneur database. Moreover, parents did not see the importance of teaching and learning in vocational skills, and therefore, lacked cooperation in encouraging their children to study vocational skills. Thus, there is a need to prepare personnel to realize and see the importance of preparation for professional skills. 2. The drafted strategies in preparing Nakhon Pathom high school students’vocational skills for Thailand 4.0 consisted of: 2.1) development of the readiness of quality personnel; 2.2) development of standards for learners’ potential; 2.3) development of the potential of vocational skills, and; 2.4) promotion and development of a modern network of technology for education. The results of the evaluation of the strategic presentation by experts showed the strategies in preparing Nakhon Pathom high school students’vocational skills for Thailand 4.0 were appropriate and possible at the highest levels.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการการเตรียมพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 2) ร่างและนำเสนอยุทธศาสตร์ การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 30 คนโดยการจัดประชุมข้อเสนอเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหา ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 จากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพในระดับเบื้องต้น เนื่องจากการประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลเชิงลึกมีไม่เพียงพอ บุคลากรที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านทักษะอาชีพมีจำนวนจำกัด ขาดการบูรณาการฐานข้อมูลผู้ประกอบการในท้องถิ่น ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะอาชีพ ขาดความร่วมมือในการส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนด้านทักษะอาชีพ สำหรับความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพ พบว่า ควรเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญด้านทักษะอาชีพ 2. ร่างยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 ประกอบด้วย 1) การพัฒนาความพร้อมด้านการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ 2) การพัฒนามาตรฐานด้านศักยภาพของผู้เรียน 3) การพัฒนาศักยภาพด้านทักษะอาชีพ และ 4) ส่งเสริมและพัฒนาให้มีระบบเครือข่ายเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการศึกษา ซึ่งผลการประเมินการนำเสนอยุทธศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุดth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพth
dc.subjectนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐมth
dc.subjectสังคมไทย 4.0th
dc.subjectDEVELOPMENT OF STRATEGIES IN PREPARING VOCATIONAL SKILLSen
dc.subjectHIGH SCHOOL STUDENTS IN NAKHON PATHOMen
dc.subjectTHAILAND 4.0en
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleTHE DEVELOPMENT OF STRATEGIES IN PREPARING NAKHON PATHOM HIGH SCHOOL STUDENTS’ VOCATIONAL SKILLS FOR THAILAND 4.0en
dc.titleการพัฒนายุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม เพื่อรองรับสังคมไทย 4.0th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57260905.pdf10.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.