Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2284
Title: DEVELOPMENT OF  INSTRUCTIONAL PROCESS BASE ON PROBLEM-BASED   LEARNING APPROACH  WITH STRUCTURATION THEORY TO DEVELOP SOCIOLOGY CONCEPTS  AND PROMOTE DEMOCRATIC CITIZENSHIP CHARACTERISTICS OF  BECHELOR’S DEGREE
การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อพัฒนามโนทัศน์สังคมวิทยาและส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนิสิตปริญญาตรี
Authors: Achira UTTAMAN
อชิระ อุตมาน
Chairat Tosila
ชัยรัตน์ โตศิลา
Silpakorn University. Education
Keywords: กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
มโนทัศน์สังคมวิทยา
คุณลักษณะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย
INSTRUCTIONAL PROCESS
PROBLEM-BASED LEARNING APPROACH
STRUCTURATION THEORY
SOCIOLOGY CONCEPTS
DEMOCRATIC CITIZENSHIP CHARACTERISTICS
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research are 1) to develop a instructional process, 2) to study the efficiency of  a development instructional process based on problem-based learning with structuration theory for sociological concepts and democratic citizenship characteristics of bachelor’s degree; (2.1) Comparing sociological concepts experimental group between Pre and Post learning and; (2.2) Comparing democratic citizenship characteristics system experimental group between Pre and Post learning 3) to evaluate efficiency instructional process The research was conducted through instructional the process based on problem-based learning with structuration theory, the sample group was 75 students, learning plan, sociological concepts test. and democratic citizenship characteristics system test. The data was tested for percentage, means, standard deviations, and one sample t-test. The research findings were as follows: 1. The developed instructional process are composed of 6 steps: 1) Interaction, 2) Scenario analysis, 3) Selected topic, 4) Information collecting, 5) Consideration and 6) Join resolution. 2. The Assessment of  the developed instructional process results found that      2.1 An Average score of the experimental group in the sociological concepts test in post learning process is higher than that of pre learning with the statically significant difference at 0.05 level      2.2 An Average score of experimental group in citizen’s Characteristics of citizens in a democratic society system test in post learning process is higher than that of pre learning with the statically significant difference at 0.05 level 3. Overall, the teaching and learning process is of high quality. This is because the teaching and learning process is structured systematically. The teaching and learning activity develop the students to have sociological understanding and to understand their roles. Further, it helps develop the students to value public interests and enable students to reduce conflict creatively. The graphical learning process is useful as it allows teachers to use it as a guide in teaching so that they can teach according to the class objective.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อพัฒนามโนทัศน์สังคมวิทยาและส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนิสิตปริญญาตรี 2) ศึกษาประสิทธิผลกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อพัฒนามโนทัศน์สังคมวิทยาและส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนิสิตปริญญาตรีโดย 2.1) เปรียบเทียบมโนทัศน์สังคมวิทยาของนิสิตปริญญาตรีที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ก่อนและหลังการทดลอง 2.2) เปรียบเทียบคุณลักษณะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนิสิตปริญญาตรีที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ก่อนและหลังการทดลอง และ 3) ประเมินคุณภาพกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อพัฒนามโนทัศน์สังคมวิทยาและส่งเสริมคุณลักษณะพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตที่ลงทะเบียนวิชาโท SO 211 สังคมวิทยาเบื้องต้น จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือกระบวนการเรียนการสอนตามทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบวัดมโนทัศน์สังคมวิทยา และแบบประเมินคุณลักษณะพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบ One Sample Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.  การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นปะทะสังสรรค์ 2) ขั้นประเมินสถานการณ์  3) ขั้นคัดสรรประเด็น 4) ขั้นรวบรวมสารสนเทศ 5) ขั้นไตร่ตรอง และ 6) ขั้นสร้างมติร่วม 2.  การประเมินประสิทธิผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า      2.1) นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์สังคมวิทยาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      2.2) นิสิตมีคุณลักษณะพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.  คุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เนื่องจาก มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ กิจกรรมการเรียนการสอนช่วยพัฒนาให้นิสิตเกิดมโนทัศน์ทางสังคมวิทยา  และส่งเสริมให้นิสิตมีความรับผิดชอบรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและเห็นประโยชน์ส่วนรวมและสามารถนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่ลดความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ แผนภาพกระบวนการเรียนการสอนสามารถสื่อสารให้ผู้ใช้นำไปใช้อย่างถูกต้อง และมีการระบุหน้าที่ของผู้สอนอย่างชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการเรียนการสอน
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2284
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57262903.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.