Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2360
Title: | STUDY OF LOSS OF AGRICULTURAL LAND IN SUBURBAN AREA : A CASE STUDY OF LAT KRABANG DISTRICT, BANGKOK การศึกษาลักษณะการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนชานเมือง กรณีศึกษาเขตลาดกระบัง |
Authors: | Kanokwan KLIANGKET กนกวรรณ เกลี้ยงเกตุ THANA CHIRAPIWAT ธนะ จีระพิวัฒน์ Silpakorn University. Architecture |
Keywords: | การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่เกษตรกรรม ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร The Change of Land Use Agriculture Area The Bangkok Comprehensive Plan |
Issue Date: | 29 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The research question was “What are the characteristics of land use change from agricultural land in suburb area-how much and to which uses?” The study area covers Ladkrabang District which is a fast-growing suburb of Bangkok. The District, which was predominantly agricultural area, now has 2 large industrial estates, distribution center, university, and housing developments with major highways and railway connecting to Chacheongsao and Chonburi provinces. The research studied land use changes of 9 types including residential, commercial, industrial, warehouse, facilities, and utilities, open space and recreation area, agricultural, water resources and miscellaneous between 2006 to 2016 focusing on the loss of agricultural land. Furthermore, the study compared these land use changes to Bangkok Comprehensive Plan 2013 to analyze spatial correlation of agricultural land, its changes, and land use zones in the Plan.
The findings show that the 2006 agricultural land lost to mainly residential uses, up to 21.27 sq.km. (27.13% of all agricultural land uses of the study area), followed by warehouse, commercial, and industrial uses respectively. In addition, in residential and industrial zones of the 2013 Plan, there are large proportion of agricultural lands. This means that the zones of 2013 Plan can accommodate future urban growth. Therefore, it is recommended that the future revision of the Bangkok Comprehensive Plan can preserve the current amount of agricultural areas. In addition, infill developments should be promoted on the underdeveloped lands in other land use zones to create denser and compact city in the future. การวิจัยในครั้งนี้มีประเด็นปัญหาการวิจัย คือ พื้นที่ชานเมืองมีลักษณะหรือรูปแบบการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2549 - 2559) อย่างไร เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเกษตรกรรมระหว่างปี พ.ศ.2549 - 2559 และศึกษาการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2549 กับ พ.ศ.2556 เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่กับที่กำหนดในผังเมืองรวมที่มีการประกาศบังคับใช้ โดยใช้เขตลาดกระบังเป็นพื้นที่ในการทำวิจัยในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพมหานครที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลาย เป็นพื้นที่ที่เป็นทั้งชุมชนเมือง และชุมชนเกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้า มหาวิทยาลัย และเป็นพื้นที่ที่มีเส้นทางสายหลักที่สามารถเดินทางไปยังจังหวัดข้างเคียงอย่างจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรีได้อย่างสะดวก ในการวิจัยได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (ระหว่างปี พ.ศ.2549 - 2559) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เกษตรกรรมประกอบกับการศึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2556 เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของการกำหนดเขตที่ดินประเภทที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม และวิเคราะห์ระดับความสอดคล้องของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดขึ้นกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมกรุงเทพฯ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการบังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ผลการวิเคราะห์ พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมในอดีตเปลี่ยนเป็นพื้นที่อยู่อาศัยมากที่สุด รองลงมา คือ พื้นที่อุตสาหกรรม และคลังสินค้า สำหรับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2556 มีขนาดพื้นที่ของที่ดินประเภทที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมลดลงจากผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2549 โดยเปลี่ยนเป็นที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เมื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของการใช้ประโยชน์ที่ดินกับผังเมืองรวมฯ พบว่ามีพื้นที่เกษตรกรรมปรากฏอยู่ในเขตที่กำหนดให้เป็นที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชุมชน แสดงให้เห็นว่า เขตที่กำหนดให้เป็นชุมชนตามผังเมืองรวมกรุงเทพฯ พ.ศ.2556 มีพื้นที่รองรับการขยายตัวเมือง และที่ดินประเภทต่างๆ ตามผังเมืองรวมฯ มีสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินหลักน้อยกว่าสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นที่สามารถรองรับการพัฒนาเป็นที่ดินประเภทหลักได้ ดังนั้น การปรับปรุงผังเมืองรวมฯ ในครั้งต่อไป จึงควรรักษาสัดส่วนที่ดินประเภทเกษตรกรรมไว้ไม่น้อยกว่าผังเมืองรวมฯ พ.ศ.2556 ส่วนพื้นที่ของการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นสามารถส่งเสริมให้พื้นที่ที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็นการพัฒนาที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น เป็นการจำกัดการขยายขนาดพื้นที่เหล่านี้เพื่อไม่ให้สูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมในผังเมืองรวมในอนาคต |
Description: | Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P) การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2360 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58058301.pdf | 25.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.