Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNaruecha SUNGKAJARUen
dc.contributorนฤชา สังขจารุth
dc.contributor.advisorPHATYOS BUDDHACHAROENen
dc.contributor.advisorพัดยศ พุทธเจริญth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Artsen
dc.date.accessioned2020-07-31T03:33:17Z-
dc.date.available2020-07-31T03:33:17Z-
dc.date.issued10/7/2020
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2462-
dc.descriptionMaster of Fine Arts (M.F.A.)en
dc.descriptionศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)th
dc.description.abstractThis thesis “Scenery of Awareness” is based on the concept of creating a balanced harmony within the soul that is generally governed by the context that determines the state of one’s self and the quest for material satisfaction rather than spiritual peace. As the quest multiplies into endless desire of all kinds on the path that leads towards darkness and despair, it takes over the soul and awaits to erupt without warning. This reflects the state of mind that lacks conscience and is unable to control itself from deviating onto the wrong path instead of remaining on the path of virtue. In an analogy, it is as if light from the sun has been obscured by clouds and preventing its life-force from reaching the Earth. Like the darkness created within us that has consumed our soul and taken over our consciousness to the point of being unable to let go according to the “laws of nature” in which there is birth, life and death. What keeps us blinded in the dark is our lack of reasoning and wisdom. Wisdom is like the “light of Dharma” that reveals the hidden cause of what is consuming our souls to the point of being harmful to our own spirit and that of others in the society.    Desires, disappointments and pride are all outcome of the conditioned state of mind that are expressed through one’s behavior and actions. In this thesis, such abstract and subjective feelings are expressed through the context of natural landscape with mountains and hills under the light of the sun to represent the physical manifestation of that state of mind. With the sun’s light being obstructed by dark clouds casting shadows on Earth’s surface, this implies that the mind is clouded by dark obsessions. Yet in fact, light can still pass through the clouds somehow and become the “light of hope”. The power of our pure determination can light the way and offers hope if we have control over our minds and use our wisdom to rationalize and explore our present conditions thoroughly and mindfully to generate our own light. That light will intensify into the “light of Dharma” or wisdom that will make us aware of the truth and see the cause of our problems so that we may find a way out. The light will also remind us that we are forever swimming in the “samsara” circle of existence clouded by the power of “desire” hidden within ourselves and is the cause of our sufferings. This awareness reflects the fact that we have the potential to focus more on giving and controlling our desires so that we may cease our suffering and be free of it by practicing and using our wise and better judgment according to the teachings of Buddha. Leading a life in the way that refines the mind and spirit with mindfulness that is in harmony with the laws of nature is therefore beneficial to all. In summary, two important points are made: one is that Buddhist philosophy can provide inspirations for creating works of art, and the other is that it is the guiding light for living a balanced life in harmony with nature that transforms with time. With regards to time, the early morning light cast on the mountainous landscape is a metaphor for the “light of Dharma and wisdom” that has been produced in Graphic Arts by means of mezzotint technique to give the effect of gradual changes in light and dark tones on the surface and to reveal the depths and forms through shades and shadows. Carrying out this technical process is in a way like practicing Dharma and can be associated with natural phenomena which, with constant determination, leads to gradually lighting up the mind with purity, tranquility, joy and freedom.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์หัวข้อ “ทัศนียภาพแห่งความตื่นรู้” เป็นการสร้างเอกภาพทางสุนทรียภาพที่อาศัยบริบทแวดล้อมเป็นตัวกำหนดภาวการณ์แห่งตนเองผนวกกับการแสวงหาให้ได้มาซึ่งความต้องการความสุขทางกายที่มากกว่าจะเป็นความสุขสงบทางจิตใจ และมักต่อยอดให้ทบทวีเป็นความต้องการที่หลากหลายออกไปเรื่อย ๆ อย่างไม่สิ้นสุด ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้ก่อเกิดสิ่งกระตุ้นสำนึกของความอยากจนกลายเป็นความปรารถนาที่สุดจะหยั่งถึงนั้นล้วนเป็นความต้องการที่แฝงนัยแห่งความอยากครอบครอง เป็นเสมือนความโลภ หรือไม่พอใจในสิ่งที่คนอื่นมีมากกว่าจนก่อเกิดเป็นความ “ริษยา” และเป็นจุดกำเนิดแห่งความทุกข์ที่เศร้าหมองซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ เพียงทว่ารอวันที่จะได้รับการกระตุ้นเร้าและแสดงออกมาอย่างไม่รู้ตัวเท่านั้น โดยนัยนี้สะท้อนถึงสภาวะแห่ง “จิต” ที่ขาด “สติ” คอยกำกับควบคุมหรือค้ำจุนไม่ให้เกิดเป็นความพลั้งเผลอที่ลุ่มหลงมัวเมาไปกับอารมณ์ของความอยากจนพลัดหลงออกจากเส้นทางแห่งความดีงามไปสู่ความหลงผิด อันเป็นวิถีทางแห่งอกุศลกรรมที่ทำให้จิตใจขุ่นมัวในที่สุด หรือเปรียบเป็นเสมือนดั่งแสงของดวงตะวันขณะที่ถูกบดบังโดยมวลรูปของอากาศ “ก้อนเมฆ” จนไม่อาจเผยแสงส่องสว่างให้กับทุกสรรพชีวิตได้ ความมืดมิดซึ่งก่อเกิดจากอวิชชาที่จิตใจของมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นและถูกกลืนกินอย่างไร้ซึ่ง “ความตระหนักรู้” จึงไม่เท่าทันและไม่ปล่อยวางจำนนให้เป็นไปตามสภาวะปกติ “กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ” ที่ทุกสิ่งย่อมมีเกิด ตั้งอยู่และดับสูญสลายไปในที่สุดอันเป็นสิ่งที่ดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ลุ่มหลงอยู่แต่ในวังวนแห่งความมืดบอดก็คือ การขาดหายไปของการฉุกคิด ไตร่ตรอง หรือการสำรวจพิจารณาด้วย “ปัญญา” เพราะปัญญาเปรียบเป็นเสมือนเครื่องมือส่องสว่างนำทางให้เห็นรูปร่างของปัญหาหรือสิ่งที่คอยกัดกินจิตใจซึ่งเร้นกาย และไร้รูป ทว่าจะเผยตัวตนออกมาก็ด้วยเจตนาในแง่ร้ายที่เป็นภัยคุกคามจิตใจของผู้คนในสังคม อนึ่ง ความต้องการทะยานอยาก ความเศร้าโศก ความปลาบปลื้มปีติยินดี เป็นผลจากการแปรสภาพทางความคิดในสภาวะจิตใจที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมและการกระทำ ดังนั้น การจินตนาการที่ก่อเกิดเป็นกายภาพแห่งจินตภาพของผลงานสร้างสรรค์ย่อมเป็นไปในอีกนัยวิถีทางหนึ่งอันสะท้อนรูปธรรมของพื้นที่แห่งสภาวะจิตได้ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ “ดวงอาทิตย์” ที่ทอแสงสาดส่องเหมือนดั่งการหยั่งรู้ได้ลงมายังพื้นโลก แต่ทว่าในวิถีทางของแสงนั้นถูกบดบังด้วยเงาดำที่หนาทึบของเมฆ ซึ่งนัยยะนี้เปรียบดั่งเป็นมวลรูปแห่งอวิชชาหรือความหลงผิดอันเป็นความรู้ที่ขัดแย้งกับหนทางแห่งธรรมชาติ อย่างไรก็ตามถึงแม้พื้นผิวจะถูกรูปเงานั้นมาบดบังมากน้อยเพียงใด ทว่าในสภาวะที่แท้จริงของพื้นที่ก็ย่อมยังมีแสงที่สามารถลอดผ่านมาได้หรือเป็นเหมือน “แสงแห่งความหวัง” ที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มืดบอดสนิทจนสิ้นหวังเสียทีเดียวของชีวิต วิถีทางออกที่ดูเหมือนมีเพียงน้อยนิด ทว่าหากทุกคนยังครองสติและใช้ปัญญาเข้ากำกับจิตใจเพื่อสำรวจพิจารณาบริบทแห่งชีวิตในปัจจุบันขณะอย่างถี่ถ้วนและถ่องแท้แล้วก็ย่อมสามารถจุดประกายแห่งแสงด้วยตัวของเราเอง “แสง” ก็จะทบทวีกลายเป็นพลังแสงแห่ง “ปัญญา” ที่จะทำให้เราได้ฉุกคิดและตระหนักรู้มองเห็นกายภาพของปัญหาและหาทางออกได้ในที่สุด สาระประเด็นของเจตนาย่อมก็เพื่อเป็น “อนุสติ” แก่ตนเอง และเพื่อนมนุษย์ที่เวียนว่ายอยู่ใน “สังสารวัฏ” ได้ตระหนักรู้ถึงพลังอำนาจของ “กิเลส” ที่เร้นซ่อนอยู่ภายในจิตใจ อันเป็นต้นตอที่ก่อให้เกิด “ทุกข์” ที่หลากหลาย อีกทั้งเพื่อสื่อสะท้อน “ธรรมสมาทาน” ของมนุษย์คือ ให้เป็นผู้แสวงหาหนทางแห่งการดับ พ้น คลาย “ทุกข์” ด้วย “ปัญญา” ของตนเอง อันเป็นการน้อมนำเอาพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาสู่การประพฤติและปฏิบัติ “ธรรมบูชา” และ “ปฏิบัติบูชา” ด้วยการดำเนินชีวิตที่เป็นเหมือนกับการปฏิบัติธรรม อันเป็นความคิดสูงหรือเป็นแนวความคิดที่โน้มน้าวไปสู่การขัดเกลายกระดับจิตใจและสติปัญญาให้ประณีตงดงามปรับใช้สู่การดำเนินชีวิตอย่างผู้รู้ตื่น รู้เบิกบานหรือรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะด้วยสติและปัญญาของตนเอง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับกฎแห่งธรรมชาติ ซึ่งประเด็นสาระเหล่านี้ยังมีนัยของการใช้ธรรมะร่วมอยู่ด้วยกันสองประการ คือ การใช้พุทธปรัชญาธรรมะมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน และการใช้ธรรมะเป็นหลักคิดหรือเป็นเสมือนประทีปนำทางในการดำเนินชีวิตอย่างผู้ไม่ประมาท คือ ดำเนินชีวิตภายใต้กฎแห่งสัจธรรม หลักการแห่งธรรมชาติที่กอปรด้วย การเกิด การดำรงอยู่และการดับไป เคลื่อนคล้อยไปตามกระแสแห่งกาลเวลาในห้วงย่ำโมงยามต่าง ๆ โดยนัยนี้จึงอาศัยใช้แสงในห้วงเวลาแห่งรุ่งอรุณที่นำเสนอผ่านรูปแบบของทัศนียภาพ ธรรมชาติแห่งป่าเขา และนัยแห่งแสงธรรมชาติที่ปรากฏในผลงานอุปมาอุปไมยเปรียบได้กับแสงแห่งธรรมหรือแสงแห่งปัญญา อันเป็นเสมือนภาพปริศนาธรรมในบริบทศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับกระบวนการทางทัศนศิลป์งานศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคภาพพิมพ์โลหะร่องลึก เมซโซทินท์ (Mezzotint) หรือในอีกนัยหนึ่งคือการใช้เครื่องมือลบพื้นดำเพื่อขับเน้นแสงสว่างของรายละเอียดค่าน้ำหนักให้ค่อย ๆ เผยรูปลักษณ์ขอวงความสว่างที่ค่อยๆทบทวีมากขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนและกลวิธีของการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องไปกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติทว่าหากยังคงเพียรกระทำ “ซ้ำ” ด้วยการประคองสติเพื่อเฝ้ารอสัมฤทธิผลและชื่นชมริ้วแสงที่สาดส่องแห่งอรุณรุ่งในยามเช้าth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectทัศนียภาพth
dc.subjectความตื่นรู้th
dc.subjectLandscapeen
dc.subjectAwarenessen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleScenery of Awarenessen
dc.titleทัศนียภาพแห่งความตื่นรู้th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58003203.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.