Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2495
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Natthikhun THANHAWAS | en |
dc.contributor | ณัฏฐิคุณ ทัฬหะวาสน์ | th |
dc.contributor.advisor | Supaktra Suthasupa | en |
dc.contributor.advisor | สุพักตรา สุทธสุภา | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Architecture | en |
dc.date.accessioned | 2020-08-04T03:38:33Z | - |
dc.date.available | 2020-08-04T03:38:33Z | - |
dc.date.issued | 10/7/2020 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2495 | - |
dc.description | Master of Architecture (M.Arch) | en |
dc.description | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) | th |
dc.description.abstract | This study aims to study the relationship between the physical attributes and the utilization of public open spaces in Songkhla Old Town. From the literature review, it is found that the public open spaces that have been utilized by numerous users, in various time and for many activities consists of 6 physical attributes: connectivity, nearby building-uses, entering ways, visibility and accessibility, facility, and identity. The research methodology contains a site survey and an evaluation of physical attributes, as well as an observation of the multiple uses of 24 public open spaces in Songkhla Old Town. Those open spaces, according to the utilization, can be grouped into 4 types. Then, the relationship between the physical attributes and the utilization of 24 public open spaces in investigated. The statistical analysis shows the degrees of multiple-usages of open spaces. The open space development guidelines and social interaction in the community are suggested. The result of this study reveals that the physical attributes are moderately correlated with the utilization of public open spaces. It is likely that the good physical designs of public open spaces will bring a high degree of multi-uses. Further, the multi-used open spaces are found contain 3 main factors: 1) Fundamental factors such as accessibility and facility; 2) Secondary factors such as connectivity, area, nearby building-uses, space identity, and a density of population; 3) Attractive factors, the most important and highly relates to factor, such as visibility and accessibility as well as socio-economic activities. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติด้านกายภาพกับรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ ในย่านเมืองเก่าสงขลา จากการทบทวนแนวคิดที่เกี่ยวข้อง พบว่า พื้นที่ว่างสาธารณะที่มีผู้ใช้งานหลากหลายประเภท หลากหลายช่วงเวลา และหลากหลายกิจกรรม จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติด้านกายภาพ 6 ด้าน ได้แก่ การมีพื้นที่เชื่อมต่อ การใช้ประโยชน์อาคารใกล้เคียง วิธีการเข้าถึง การมองเห็นและเข้าถึงได้ สิ่งอำนวยความสะดวก และความโดดเด่นของพื้นที่ ในขั้นตอนกระบวนการวิจัยนี้ ได้ดำเนินการสำรวจและประเมินคุณสมบัติด้านกายภาพ รวมถึงการสังเกตรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ ย่านเมืองเก่าสงขลา จำนวน 24 แห่ง ซึ่งสามารถแบ่งประเภทพื้นที่ว่างสาธารณะตามประโยชน์ใช้สอยออกเป็น 4 ประเภท จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติด้านกายภาพกับรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ ย่านเมืองเก่าสงขลา จำนวน 24 แห่ง ด้วยวิธีการทางสถิติทำให้ทราบค่าระดับความอเนกประโยชน์ของแต่ละพื้นที่ และนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ว่างสาธารณะได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน ผลการวิจัยพบว่า คุณสมบัติด้านกายภาพในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ในระดับปานกลาง จึงประเมินได้ว่าพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีการออกแบบให้มีคุณสมบัติด้านกายภาพที่ดี 6 ด้าน จะมีส่วนให้เกิดรูปแบบการใช้พื้นที่อย่างอเนกประโยชน์มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถจำแนกความสำคัญของปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ว่างสาธารณะมีรูปแบบการใช้พื้นที่อย่างอเนกประโยชน์ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยขั้นพื้นฐานของทุกพื้นที่ ได้แก่ วิธีการเข้าถึง และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การมีพื้นที่เชื่อมต่อ การใช้ประโยชน์อาคารใกล้เคียง ความโดดเด่นของพื้นที่ และความหนาแน่นประชากร และ 3) ปัจจัยดึงดูด ซึ่งมีความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่อย่างอเนกประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ การมองเห็นและเข้าถึงได้ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคม | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | รูปแบบการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ | th |
dc.subject | คุณสมบัติด้านกายภาพ | th |
dc.subject | ย่านเมืองเก่าสงขลา | th |
dc.subject | Multi-use of Public Open Space | en |
dc.subject | Physical Attributes | en |
dc.subject | Songkhla Old Town | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | STUDY ON MULTI-USE OF PUBLIC OPEN SPACES IN SONGKHLA OLD TOWN | en |
dc.title | ศึกษาการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ ย่านเมืองเก่าสงขลา | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58051202.pdf | 14.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.