Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2609
Title: THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL USING PROJECT-BASED LEARNING WITH ONLINE SOCIAL MEDIA TO ENHANCE SPEAKING SKILLS OF PRE-SERVICE TEACHERS
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู
Authors: Kunyaphat SAENGPAEN
กัญญาภัทร แสงแป้น
NATTANA LEERAHARATTANARAK
ณัฎฐนา ลีฬหรัตนรักษ์
Silpakorn University. Education
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
ทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร
สื่อสังคมออนไลน์
Issue Date:  10
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) study the efficiency of the instructional model using project-based learning with online social media to enhance speaking skills of pre-service teachers 2) study the effectiveness of the instructional model using project-based learning with online social media by comparing Pretest and Posttest scores in each unit after using this model and the development of project skills 3) study the levels of student satisfaction towards the developed teaching model. The sample was 19 second year Educational Technology and Computer students studying at Faculty of Education during the 2nd semester of the 2019 academic year. The instruments were the English speaking skills assessment test, project skills assessment form and questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent, t-test independent and content analysis. The finding were as follows: The instructional model using project-based learning with online social media to enhance speaking skills of pre-service teachers called “ESCAPE Model” consisted of five components:  principles, content, learning activities, teacher’s role and students’ role. The components of this model consisted of 1) Exploring the ideas: E 2) Starting  plan for the project: S 3) Creating an outline: C 4) Analyzing information to do the project: A 5) Presenting the project: P and       6) Evaluating the project: E. The efficiency of the ESCAPE Model met the criterion of 70.75 / 70.10 The effectiveness of the ESCAPE Model indicated that 2.1) after using the ESCAPE Model, the students’ levels of speaking ability were higher in every unit than before receiving the instruction at a .05 significance level,            2.2) the development of speaking through project presentation after using ESCAPE Model were at a high level. The students’ satisfaction toward the instructional model using project-based learning with online social media was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครูให้มีคุณตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู โดยเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาครูก่อนและหลังการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แต่ละหน่วย  ศึกษาพัฒนาการของทักษะการปฏิบัติโครงงานภาษาอังกฤษหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา เทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ คณะศึกษาศาสตร์ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบทดสอบวัด แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู มีชื่อว่า “ESCAPE  Model” มีองค์ประกอบ 5 ประการคือ หลักการ เนื้อหา กิจกรรม บทบาทผู้เรียน บทบาทผู้สอน และการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Exploring the ideas: E) 2) ขั้นวางแผนการจัดทำโครงงาน (Starting plan for the project: S) 3) ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงาน (Creating an outline: C) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติโครงงาน (Analyzing information to do the project: A) 5) ขั้นนำเสนอและแสดงโครงงาน (Presenting the project: P) 6) ขั้นประเมินผลโครงงาน (Evaluating the project: E) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามีประสิทธิภาพเท่ากับ 70.75 / 70.10 2. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) หลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ESCAPE  Model กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการพูดเพื่อการสื่อสาร สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.2) 2.2นักศึกษามีพัฒนาการด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษผ่านการนำเสนอโครงงานภาษาอังกฤษ หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษ (ESCAPE Model)โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (ESCAPE  Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2609
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57254902.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.