Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2624
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Samaporn RAGCHANYABAN | en |
dc.contributor | ษมาพร รักจรรยาบรรณ | th |
dc.contributor.advisor | SIRINA JITCHARAT | en |
dc.contributor.advisor | ศิริณา จิตต์จรัส | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Education | en |
dc.date.accessioned | 2020-08-14T02:55:50Z | - |
dc.date.available | 2020-08-14T02:55:50Z | - |
dc.date.issued | 12/6/2020 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2624 | - |
dc.description | Doctor of Education (Ed.D.) | en |
dc.description | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศษ.ด.) | th |
dc.description.abstract | This study is a research and development design aiming to 1) study the conditions, needs and problems of learning about Health Literacy amongst the elderly within private business organizations 2) Developing learning activities to promote understanding of the Health Literacy amongst the elderly within private business organizations and 3) studying the results of the use of learning activities to promote Health Literacy amongst elderly within private business organizations. The Sample groups for this study were: 1) A random sample of 219 elderly within private business organizations by questionnaire and 2) interviewing Executives and older people who work in a typical elderly organization: Benjamit Packaging Company Limited., The sample size was 14. The research instruments were: 1) a questionnaire regarding the understanding of needs and problems related to Health Literacy. 2) Structured Interview. 3) Good fine activity: 5 ways to be healthy and 4) Satisfaction assessment form Statistics used in data analysis were the quantity is percentage, average, standard deviation and Paired sample t-test. For quality information, using methods of Content Analysis. Research findings were as follows: Whilst the state of learning about Health Literacy of the elderly is at a good level there is still need to learn more in the following areas 1) Culture skills, lifestyle patterns, and health risk behaviors, 2) Health care and prophylactic, 3) Technology and media skills, 4) Disease relations between families that support health care, and 5) Decision making regarding correct health practices. About health from the condition and the need to learn about health literacy among the elderly in private business organizations the researcher created a set of learning activities to promote health literacy. Good fine activity: 5 ways to be healthy, with the goal of understanding the elderly. The ability to behave correctly regarding health care resulting in the elderly having a better quality of life The researcher has determined that the learning activities organized under the Andragogy theory, which has the important principles of learning activities consisting of 7 key elements, which are 1) Creating an atmosphere that is conducive to learning. 2) project development for joint planning 3) analysis of learners' learning needs 4) set common goals 5) design learning activities 6) carry out activities these learning activites and 7) evaluation of learning together. The results showed that the said activity helped the experimental group leading to a growing awareness of health. The application of learning activities should consider the needs and the appropriate schedule of activities and should receive approval from executives of private business organizations in order to receive support for both time and the cooperation of the elderly participating in activities that will affect the quality of life of the elderly in the future. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพความต้องการ และปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน 2) พัฒนากิจกรรม การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ทำงานในองค์กรธุรกิจภาคเอกชนและ 3) ศึกษาผลของการใช้ กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพ ความต้องการ และปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน คือ 1) ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงาน ในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 219 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถาม และ 2) สัมภาษณ์ผู้บริหาร และผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในองค์กรต้นแบบด้านผู้สูงอายุ คือ บริษัท เบญจมิตรบรรจุภัณฑ์ จำกัด ส่วนกลุ่มทดลอง คือ ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่ทำงานในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน 2) แบบสัมภาษณ์ 3) ชุดกิจกรรม Good fine สบายดี : 5 วิธีสุขภาพดี สมวัย และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ถึงแม้ว่าสภาวะการเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี แต่ก็ยังมี ความต้องการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านทักษะวัฒนธรรม แบบแผนการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ 2) ด้านทักษะการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค 3) ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีและสื่อ 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง ครอบครัว องค์กร ที่สนับสนุนดูแลสุขภาพ และ 5) ด้านทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งจากสภาพและ ความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน ผู้วิจัยสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม การรู้เท่าทันสุขภาพ Good fine สบายดี : 5 วิธีสุขภาพดี สมวัย โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุเกิดความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตน เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้วิจัยกำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้ ทฤษฎีแอนดราโกจี (Andragogy) ซึ่งมีหลักการสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 7 ข้อ คือ 1) การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) การพัฒนาโครงการเพื่อวางแผนร่วมกัน 3) การวิเคราะห์ความต้องการการเรียนรู้ของ ผู้เรียน 4) กำหนดเป้าประสงค์ร่วมกัน 5) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 6) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และ 7) ประเมินผลการเรียนรู้ ร่วมกัน ซึ่งผลการทดลอง พบว่า กิจกรรมดังกล่าว ช่วยให้กลุ่มทดลอง มีการรู้เท่าทันสุขภาพเพิ่มมากขึ้น การนำกิจกรรมการเรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้ควรพิจารณาสภาพ ความต้องการ รวมทั้งการกำหนดเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสม และควรได้รับความเห็นชอบ จากผู้บริหารองค์กรธุรกิจภาคเอกชนเป็นสำคัญ เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนทั้งเรื่องเวลา และความร่วมมือของผู้สูงอายุที่เข้าร่วม กิจกรรมอันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนรู้, การรู้เท่าทันสุขภาพ, ผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน | th |
dc.subject | LEARNING ACTIVITIES | en |
dc.subject | HEALTH LITERACY | en |
dc.subject | ELDERLY OF PRIVATE BUSINESS ORGANIZATIONS | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES TO ENHANCE HEALTH LITERACY OF ELDERLY OF PRIVATE BUSINESS ORGANIZATIONS | en |
dc.title | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจภาคเอกชน | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58251805.pdf | 5.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.