Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2714
Title: THE DEVELOPMENT OF MATHMATICS PROBLEM SOLVING USING 4Ex2 INSTRUCTIONAL MODEL WITH GAMES TECHNIQUE FOR SIXTH GRADE STUDENTS
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคเกม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Tharini CHUENBAN
ธาริณี ชื่นบาน
Saranya Chanchusakun
สรัญญา จันทร์ชูสกุล
Silpakorn University. Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้ 4Ex2
เทคนิคเกม
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ยุทธวิธีในการแก้ปัญหา
4Ex2 Learning Management
Game Technique
Problem Solving Ability
Problem Solving Strategies
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) to compare grade 6 students’ mathematical problems solving ability before and after taking the integrated method of 4Ex2 learning management and game technique, 2) to study the strategies for solving mathematical problems of grade 6 students, and 3) to study grade 6 students satisfaction with the integrated method of 4Ex2 learning management and game technique. The sample of this study was 28 grade 6 students who have been studying at Ban Pong Krathing Bon School in Ban Kha District, Ratchaburi Province in semester 1, academic year 2018. A simple random sampling was used to select the sample. The research instruments were the plan for the integrated method of 4Ex2 learning management and game technique, mathematical problems solving ability test and scoring criteria, observation note for mathematical problem solving strategies, and student satisfaction assessment scale. Data were analyzed using mean (M), standard deviation (SD), and dependent t-test. The results indicated that 1) after taking the integrated method of 4Ex2 learning management and game technique, grade 6 students’ mathematical problems solving was higher than before with a statistical significance level of .05, 2) the most commonly used mathematical problem solving strategies were equation writing, work reversing, diagram writing and answer guessing and answer checking, respectively, and 3) grade 6 students’ satisfaction with the integrated method of 4Ex2 learning management and game technique was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคเกม 2) เพื่อศึกษายุทธวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านโป่งกระทิงบน อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดย ใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคเกม แบบวัดความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเกณฑ์การให้ คะแนน แบบบันทึกผลการสังเกตยุทธวิธีในการแก้ปัญหา และแบบประเมินความพึงพอใจของ นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติทดสอบที่ใช้ได้แก่ สถิติทดสอบที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคเกมสูงกว่าการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การศึกษายุทธวิธี ที่นักเรียนเลือกใช้ในการแก้ปัญหามากที่สุดคือ วิธีการเขียนสมการ การทำงานแบบย้อนกลับ การเขียนแผนภาพ และการคาดเดาคำตอบและตรวจสอบคำตอบ ตามลำดับ 3) ความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ 4Ex2 ร่วมกับเทคนิคเกม มีระดับ ความคิดเห็นในภาพรวมที่ระดับเห็นด้วยมาก
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2714
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58263317.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.