Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3000
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Rassamee RATANAPRACHA | en |
dc.contributor | รัศมี รัตนประชา | th |
dc.contributor.advisor | Wisa Chattiwat | en |
dc.contributor.advisor | วิสาข์ จัติวัตร์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Education | en |
dc.date.accessioned | 2021-02-17T03:01:07Z | - |
dc.date.available | 2021-02-17T03:01:07Z | - |
dc.date.issued | 18/6/2021 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3000 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The objectives of this research were to; 1) develop and determine the efficiency of Metacognitive-Explicit Reading Strategy with Think-aloud Approach to Enhance Reading Abilities and Self-regulation Abilities of University Students based on the assigned criteria 80/80 2) compare students' reading abilities between before and after learning by using the model 3) compare students' metacognitive strategies use before and after learning by using the model 4) compare students' self-regulation abilities before and after learning by using the model 5) study the students' opinion towards the model and 6) to verify the model. The samples of this researh were 30 of 2nd year students majoring in Civil Engineering who enrolled English Reading subject in Academic year B.E.2562 at Rajamangala University of Technology Rattanakosin, Wangklaikangwon Campus, selected by Random Sample Technique. The experiment was carried out for 16 weeks/48 hours. The research instruments uesed in this research were 1) PPME Model including teacher's manual, 8 lesson plans, exercises 2) Reading Ability Test 3) Metacognitive Reading Log 4) Think-aloud Checklist 5) Survey of Metacognitive Reading Strategies 6) Checklist of Self-regulation 7) Questionnaire for students' opinions towards the model. The quantitative data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. Content analysis was used to analyze qualitative data. The research results were as follows: 1) Reading Instructional Model Using Metacognitive Reading Strategies, Explicit Instruction and Think-aloud Approach to Enhance Reading Abilities and Self-regualtion Abilities of University Students (PPME Model) consists of 4 components: principles, objectives, learning procedures and assessment and evaluation. Learning procedures involve 4 steps which are Planning for Learning, Presenting and Practicing, Monitoring Understanding and Evaluation Reading Task. The PPME Model verified by the experts was at the highest level and the efficiency of the model was 80.33/80.67, meeting the set criteria at 80/80. 2) The students' reading abilitiy scores obtained in post-test after learning by using PPME Model were significantly higher than pre-test at .05 level of statistical significance and their reading abilities are better. 3) The students' metacognitive reading strategies after using PPME Model were higher than the ones before. Metacognitive reading strategies were classified into 3 types: Global Reading Strategies, Problem-solving Strategies and Support Strategies. Fixing-up Strategies by Using a Dictionary was used at the highest level both collected data from the survey and the think-aloud checklist while Reflecting was used at the lowest level. 4) The students' self-regulation abilities after leaning by using PPME Model were at the high level. Previewing the text and setting reading goals were most frequently used in Metacognitive self-regulated strategies. 5) The students had positive opinion towards PPME Model due to its usefulness for their English reading improvement and for their life-long practicality both in further study and work. 6) The PPME Model was verified by the experts at the highest level of congruence to the theories' rationality and the probability. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทฺธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญษโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและการกำกับตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 3) เปรียบเทียบการใช้กลวิธีอภิปัญญาของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 4) เปรียบเทียบการกำกับตนเองของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 5) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิด 6) รับรองรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนรายวิชาการอ่านภาษาอังกฤษ (English Reading) ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย การทดลองใช้เวลา 16 สัปดาห์/48 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน และแบบฝึก 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ 3) แบบบันทึกกลวิธีอภิปัญญา 4) แบบบันทึกการอ่านด้วยการบอกความคิด 5) แบบสำรวจการใช้กลวิธีอภิปัญญา 6) แบบวัดการกำกับตนเอง 7) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (t-test) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและการกำกับตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (PPME Model) ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและการประเมินผล มีขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนการเรียนรู้ (Planning for Learning) ขั้นนำเสนอและฝึกปฏิบัติ (Presenting and Practicing) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ (Monitoring Understanding) และขั้นประเมินผลการอ่าน (Evaluating Reading Task) ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีความเป็นไปได้ และมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพ 80.33/80.66 ตามเกณฑ์ 80/80 2) คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิดของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น 3) การใช้กลวิธิอภิปัญญาในการอ่านภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนด้วยรูปแบบสูงกว่าก่อนเรียนจำแนกตามประเภทของกลวิธีอภิปัญญา ได้แก่ กลวิธีการอ่านภาพรวม กลวิธีการแก้ปัญหา และกลวิธีสนับสนุนการอ่าน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการใช้กลวิธีอภิปัญญาจากแบบสำรวจและแบบบันทึกการอ่านด้วยการบอกความคิด พบว่า มีการใช้กลวิธีการแก้ปัญหาโดยการใช้พจนานุกรมมากที่สุด และการสะท้อนย้อนคิดน้อยที่สุด 4) ผลการกำกับตนเองของกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้รูปแบบสูงขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างใช้การกำกับตนเองด้านอภิปัญญามากที่สุด ในการดูภาพรวมของเนื้อเรื่องและการกำหนดเป้าหมายในการอ่าน 5) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาในการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิดว่ากลวิธีอภิปัญญาเป็นกลวิธีการอ่านที่ช่วยให้กลุ่มตัวอย่างพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของตนเองและสามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษตลอดชีวิตทั้งทางด้านการเรียนและการทำงาน 6) รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิดได้รับการรับรองรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ว่ามีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฏี มีความเป็นไปได้ และมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | การสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญา | th |
dc.subject | การสอนแบบชัดแจ้ง | th |
dc.subject | การบอกความคิด | th |
dc.subject | METACOGNITIVE-STRATEGY ENGLISH READING INSTRUCTION | en |
dc.subject | EXPLICIT INSTRUCTION | en |
dc.subject | THINK-ALOUD APPROACH | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | THE DEVELOPMENT OF READING INSTRUCTIONAL MODEL USING METACOGNITIVE READING STRATEGIES, EXPLICIT INSTRUCTION AND THINK-ALOUD APPROACH TO ENHANCE READING ABILITIES AND SELF-REGULATION ABILITIES OF UNIVERSITY STUDENTS | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นกลวิธีอภิปัญญาโดยการสอนแบบชัดแจ้งและการบอกความคิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและการกำกับตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57254913.pdf | 5.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.