Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/321
Title: พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
Other Titles: INFECTIOUS WASTE MANAGEMENT BEHAVIORS WITHIN HOUSEHOLD: A CASE STUDY OF CHOMBUENG, RATCHABURI PROVINCE
Authors: ตะโกพร, รติรส
Takoporn, Ratirot
Keywords: มูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
พฤติกรรม
ทัศนคติ
ความรู้
HOUSEHOLD INFECTIOUS WASTE
INFECTIOUS WASTE MANAGEMENT
BEHAVIOR
ATTITUDE
KNOWLEDGE
Issue Date: 12-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาถึงระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นในบ้านเรือนที่มีผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องล้างไตทางหน้าท้อง และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ฉีดอินซูลินในพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Method) มาสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือตัวแทนผู้ป่วยที่เป็นญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ในบ้านเรือนของพื้นที่ศึกษา จำนวน 155 ครัวเรือน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจและลักษณะทางประชากร ระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และระดับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือนของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ โดยใช้ร้อยละ นอกจากนี้ได้มีการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลตามวิธีของ Kruskal – Wallis ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์จำแนกออกเป็นผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล คิดเป็น ร้อยละ 52.9 31.0 และ 16.1 ของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ทั้งหมด ตามลำดับ และส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.5) มีอายุอยู่ในช่วง 30 – 59 ปี (ร้อยละ 56.1) มีระดับการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า (ร้อยละ 58.1) และประกอบอาชีพรับจ้างเป็นส่วนมาก (ร้อยละ 46.5) และผู้ตอบแบบสัมภาษณ์มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือนอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 64.5 มีระดับทัศนคติต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 69.7 และมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับที่ถูกต้อง ระดับปานกลาง และระดับที่ไม่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 7.1 39.4 และ 53.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล มีระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นในบ้านเรือนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาผลการศึกษาโดยภาพรวมทั้งหมดพบว่า ผู้อยู่อาศัยที่มีความเกี่ยวข้องกับมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในบ้านเรือนในพื้นที่ศึกษายังขาดความรู้และยังมีการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้สาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับต่าง ๆ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องควรมีนโยบายและมาตรการในการพัฒนาความรู้และข้อควรปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นในบ้านเรือน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อความปลอดภัยของชุมชน This research studied the levels of knowledge, attitudes and behaviors in the handling of infectious wastes occurred in the households containing bedridden patients, kidney disease patients requiring peritoneal dialysis and diabetic patients requiring insulin injections, in the area of Chombueng District, Ratchaburi Province. Questionnaires validated by a group of qualified persons and by using Cronbach's Alpha Method were used to interview patients or representatives of patients, i.e., relatives or caregivers, in their houses of the study area of 155 households. The data including their socioeconomic and demographic characteristics, the levels of knowledge, attitudes and behaviors on infectious waste management were analyzed using percentages.The Kruskal-Wallis analyses were also conducted to test the differences in the levels of knowledge, attitudes, and behaviors concerning infectious waste handling among the patients, the relatives, and the caregivers. The results indicate that the respondents could be categorized as the patients, the relatives, and the caregivers, accounting for 52.9, 31.0 and 16.1 percent of the total respondents, respectively. The majority of those respondents were female (55.5 percent), being in the age group of 30-59 years (56.1 percent), having the highest levels of education in primary school and lower (58.1 percent), and having a career of general workers (46.5 percent). The respondents had the knowledge level related to proper infectious waste management at homes in the medium level corresponding to 64.5 percent. Their positive attitude was at the moderate level corresponding to 69.7 percent, and their behaviors regarding safe, proper, and poor infectious waste managements were at the correct level, moderate level, and incorrect level, corresponding to 7.1, 39.4, and 53.5 percent, respectively. Additionally, the differences in the levels of knowledge, attitudes and behaviors on household infectious waste management handling of the patients, the relatives, and the caregivers were not statistically significant at the level of 0.05. As an overall result of the study, it is evident that residents related to the infectious wastes generated at homes in the study area had deficient in knowledge and improper behaviors about infectious waste management. For these reasons, the District of Public Health, the Local Administration Organization at different levels and related network parties should conduct a policy and action programs to develop the knowledge and the proper practices regarding the handling of household infectious wastes to avoid environmental problems and for the safety of the community.
Description: 54311313 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- รติรส ตะโกพร
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/321
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
รติรส.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.