Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3455
Title: Operating guidelines for success in cooperation between Community leader and Local Administrative Organization. Case Study : Bangsakae Subdistrict Administrative Organization Bang Khonthi District Samut Songkhram Province
แนวทางการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา :องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: Pisit BUNTHANORM
พิสิษฐ์ บุญถนอม
PARINYA ROONPHO
ปริญญา หรุ่นโพธิ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: ผู้นำชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนตำบล
Community leader
Local Administrative Organization
Subdistrict Administrative Organization
Issue Date:  2
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this research were to study 1) Operating guidelines for success in cooperation between community leader and local administrative organization. 2) Problem and obstacle in operating guidelines for success in cooperation between community leader and local administrative organization. This research was Qualitative Research by means of Phenomenology collecting data with in-depth interview and participant observation. Main informants were community leader and 19 people of subdistrict administrative organization officers of bangsakae district. The results showed that 1) Cooperation for success should have management process which match and correspond, adequate management resources for working especially man and equipment were cooperated with every departments since the beginning to finish of the operation process. Colleagues have to cooperate with willingness or voluntary by their skill, ability, give an opportunity to colleagues able to express their opinion or comment independently and equally. Communicate straightforwardly about work details. In addition to community leader and manager have to show leadership, do not stick to role and authority law or rule, selfless, listen and respect opinions of colleagues, make a good work relationship by encourage and counsel and advise unarrogant and encourage every colleagues training and development to the next level. 2) Problem and obstacle in operating guideline were communication and agreement unclear. Individual unwillingness or involuntary in cooperation or activities. Conceal information mistake at work. And do not emphasize to build morale and encouraged to work.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ปัญหา และอุปสรรค ในการดำเนินงานเพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีปรากฎการณ์วิทยา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก จำนวน 19 คน พบว่า 1) การทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมีทรัพยากรในการบริหารที่เพียงพอพร้อมต่อการทำงาน โดยเฉพาะในด้านของ คน (Man) และวัสดุอุปกรณ์ (Material)  ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการทำงาน ผู้ร่วมงานต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยความเต็มใจหรือความสมัครใจตามทักษะ ความรู้ความสามารถ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการทำงานได้อย่างอิสระและเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และมีการสื่อสารอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาเกี่ยวกับรายละเอียดของงาน นอกจากนี้ผู้นำชุมชนและผู้บริหารต้องมีการแสดงออกในด้านของภาวะผู้นำ ไม่ยึดติดกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ กฎหมายหรือข้อบังคับ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานโดยการให้กำลังใจและให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำอย่างไม่ถือตัว และส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมและการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้ก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้น และมีศักยภาพเหมาะสมตรงตามความรู้ความสามารถ 2) ปัญหา และอุปสรรคในการทำงานร่วมกัน คือ การการพูดจาและการตกลงกันไม่มีความชัดเจน การมีส่วนร่วมในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจหรือความสมัครใจของแต่ละบุคคล การปิดบังข้อมูลที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการทำงาน และการไม่ให้ความสำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3455
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621220008.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.