Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3529
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPakkaphorn UBONNOIen
dc.contributorภัคภร อุบลน้อยth
dc.contributor.advisorPEERAPAT YANGKLANGen
dc.contributor.advisorพีรพัฒน์ ยางกลางth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Educationen
dc.date.accessioned2022-02-01T04:46:05Z-
dc.date.available2022-02-01T04:46:05Z-
dc.date.issued26/11/2021
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3529-
dc.descriptionMaster of Education (M.Ed.)en
dc.descriptionศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)th
dc.description.abstractThe purposes of this pre-experimental research were: 1) to compare Mathayom suksa three students’ average speaking skills scores before and after using task-based learning approach focusing on local product selling contents;  2) to study the satisfaction of Mathayom suksa three students toward  the task-based learning approach;  3)  to study students’ attitude towards the task-based learning approach, and 4) to observe the sample group’s average scores of the Ordinary National Education Test (O-NET) after using the task-based learning approach.  The samples comprised 35 students selected by purposive sampling method from Mathayom suksa three, Banlatwitthaya school in academic year of 2/2019.  The research instruments included 1) four lessons and task-based learning lesson plans; 2) direct test of speaking skills; 3) rubric of speaking test evaluation; 4) the satisfaction questionnaire of the students and- 5) a semi-structured interview. The data were analyzed for mean, standard deviation, t-test dependent scores and content analysis. The results of the study were as follows: 1) The students’ average score of English speaking skills after using the task-based learning approach was significantly higher than before at .05 level. 2) The students’ satisfaction with the benefits of the task-based learning approach is at the highest level followed by the satisfaction with the contents of the lessons and of the teaching process respectively. 3) The students have positive attitudes toward the use of the task-based learning approach because they felt that they would be able to apply what they learned from the task-based learning lesson into their real lives. 4) Interestingly, the average scores of Ordinary National Education Test (O-NET) of the sample group students after using task-based learning approach focusing on local product selling contents was higher than the average scores of the country.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองพื้นฐาน (Pre-Experimental Research) ใช้รูปแบบ One-Group pretest-posttest design โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาดวิทยาจังหวัดเพชรบุรีก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา  จังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น 4) เพื่อสังเกตผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น  2) แบบทดสอบทักษะการพูด 3) เกณฑ์การประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ 5) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย x̄ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้สูตรคำนวณ t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยของทักษะการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นมีระดับสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.  ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น ผลปรากฏว่าระดับความพึงพอใจด้านประโยชน์ที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านเนื้อหาสาระของบทเรียน และด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นตามลำดับ 3. ผลการศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น ผลปรากฎว่านักเรียนทุกคนมีทัศนคติไปในทางบวกและมีความเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงของตนเองได้ 4. ผลการสังเกตผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น ผลปรากฏว่านักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectทักษะการพูดภาษาอังกฤษth
dc.subjectเน้นภาระงานth
dc.subjectสินค้าประจำท้องถิ่นth
dc.subjectSPEAKING SKILLen
dc.subjectTASK-BASED LEARNINGen
dc.subjectLOCAL PRODUCTSen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleTHE DEVELOPMENT OF ENGLISH SPEAKING SKILL BY TASK-BASED LEARNING APPROACH FOCUSING ON LOCAL PRODUCT SELLING CONTENTS FOR MATHAYOM SUKSA THREE STUDENTS IN BANLATWITTHAYA SCHOOL PHETCHABURIen
dc.titleการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรีth
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60254313.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.