Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3664
Title: Community Welfare Management with Community Enterprises : A case study of the Baan Mai Fund Community Shop Group, Ban Mai Samanachan Community 5, Ban Mai Sub-district, Pak Kred District, Nonthaburi Province
การจัดการสวัสดิการชุมชนด้วยวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มร้านค้าชุมชนกองทุนบ้านใหม่ ชุมชนบ้านใหม่สมานฉันท์ 5 ตำบลบ้านใหม่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
Authors: Patchanandana RAMANANDANA
พัชนันทน์ รามนันทน์
PITAK SIRIWONG
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University. Management Sciences
Keywords: การเสริมสร้างศักยภาพ
การจัดการสวัสดิการชุมชน
วิสาหกิจชุมชน
capacity building
community welfare management
community enterprise
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis was purposed 1) Study the situation of Community welfare management with community enterprises : Case study of community shop of Ban Mai Fund, Ban Mai Community 5, Ban Mai Subdistrict, Pak Kret District Nonthaburi Province 5, Ban Mai Subdistrict, Pak Kret District Nonthaburi Province 2) Study the guidelines for enhancing the capacity of community welfare management with community enterprises : Case Study of Baan Mai Fund Community Shops Ban Mai Reconciliation Community 5, Ban Mai Subdistrict, Pak Kret District Nonthaburi Province. This is qualitative research of case study by studying from documentary evidence non-participant observation in-depth interview, Key informants are 1) President and Leadership Members 2) customer 3) people in the area total of 20 participants were analyzed by inductive analysis The result found that 1) Management of the Baan Mai Fund Community Store Group Ban Mai Reconciliation Community 5, Ban Mai Subdistrict, Pak Kret District Nonthaburi Province, are (1) Financial, operational and decision-making in a manner that stabilizes growth Do not rely on external loans and members have no debt (2) production costs can be reduced by planning production. plan the work of the group There was a joint consultation of the committee. by considering the needs of customers (3) There is a marketing plan. Explore customer needs Considering the values ​​of consumption, culture, traditions, and festivals held in each period are important (4) individual side, there are leaders who are knowledgeable, capable, selfless, dedicated to development. and problem solving effectively (5) Management of executives prioritizes organizational interests. to develop the group to be strong and sustainable 2) problems and obstacles (1) On the production side, there is no technology to help in the production process. unattractive product The packaging is not trendy and unique (2) In terms of the arrangement of distribution locations, landscape, scenery, and buildings are not beautiful, not outstanding, not unique. or not eye-catching 3) Guidelines for enhancing the capacity of community welfare management through community enterprises, such as product development, standardization, and modern packaging development. Develop a program that can link production and distribution throughout the system. create an online store.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์การจัดการสวัสดิการชุมชนด้วยวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มร้านค้าชุมชน กองทุนบ้านใหม่ ชุมชนบ้านใหม่สมานฉันท์ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการสวัสดิการชุมชนด้วยวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มร้านค้าชุมชน กองทุนบ้านใหม่ ชุมชนบ้านใหม่สมานฉันท์ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารหลักฐาน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ 1) ประธานและสมาชิกผู้เป็นแกนนำ 2) ลูกค้า 3) ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการของกลุ่มร้านค้าชุมชนกองทุนบ้านใหม่ ชุมชนบ้านใหม่สมานฉันท์ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ (1) ด้านการเงิน การดำเนินงานและการตัดสินใจในลักษณะที่ทำให้การเติบโตมีความมั่นคง ไม่พึ่งเงินกู้จากแหล่งภายนอก และสมาชิกไม่มีหนี้สิน (2) ด้านการผลิต สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้โดยมีการวางแผนการผลิต วางแผนการทำงานของกลุ่ม มีการปรึกษาหารือร่วมกันของคณะกรรมการ โดยพิจารณาจากความต้องการของลูกค้า (3) ด้านการตลาด มีการวางแผนการตลาด สำรวจความต้องการของลูกค้า โดยพิจารณาจากค่านิยมในการบริโภค วัฒนธรรม ประเพณี เทศกาลที่จัดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาเป็นสำคัญ (4) ด้านบุคคล มีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ เสียสละ มุ่งนั่นในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) ด้านการบริหารกลุ่ม การบริหารงานผู้บริหารให้ความสำคัญกับผลประโยชน์องค์การมาเป็นอันดับแรก เพื่อพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งและยั่งยืน 2) ปัญหาและอุปสรรค (1) ด้านการผลิตไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต สินค้าไม่น่าสนใจ บรรจุภัณฑ์ไม่ทันสมัยและไม่มีเอกลักษณ์ (2) ด้านการจัดสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า ภูมิทัศน์ ทัศนียภาพ สิ่งปลูกสร้างไม่สวยงาม ไม่โดดเด่น ไม่มีเอกลักษณ์ หรือไม่สะดุดตาน่าสังเกต 3) แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการสวัสดิการชุมชนด้วยวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ การพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ สร้างมาตรฐาน พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย พัฒนาโปรแกรมที่สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการจัดจำหน่ายได้ทั้งระบบ สร้างร้านค้าออนไลน์
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3664
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61601310.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.