Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3675
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSuwit MIDUMen
dc.contributorสุวิทย์ มิดำth
dc.contributor.advisorToeingam Guptabutraen
dc.contributor.advisorเตยงาม คุปตะบุตรth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Artsen
dc.date.accessioned2022-07-11T07:27:46Z-
dc.date.available2022-07-11T07:27:46Z-
dc.date.issued1/7/2022
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3675-
dc.descriptionMaster of Fine Arts (M.F.A.)en
dc.descriptionศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)th
dc.description.abstractI was born a Muslim and have spent my entire life in an Islamic community in Pravet, Bangkok. The majority of people in this community are Muslims. Every day, we conduct religious activities in accordance with Islamic principles, and our lives are inextricably linked to the mosque, which is a religious structure within the community. Members of the community hear the call to prayer five times a day: before dawn, noon, late afternoon, just after sunset, and at dusk. This sound from the mosque is known as the Adhan, and it is a melodious and beautiful sound that reflects the people's faith and belief in Allah, their beloved God. In the past decades, capitalists acquired the neighboring areas and developed them into housing projects with hundreds of dwellings. The majority of the individuals who have moved into these dwellings are Buddhist Thais. Even though a 5-meter wall separated the Muslim community from the housing development, it was unable to muffle the sounds of the call to prayer and religious activities at the mosque. Several people complained about the noise. I could not help but marvel how a lovely sound that urges people to pray and do good things could be a source of discomfort for individuals of other faiths. This research aims to study Islamic architecture and sounds inside the mosque, as well as the psychology of sound and perception, in order to create sound art that illustrate the aesthetic of the call of prayer (Adhan) and other prayers performed within Islamic structures. As a result, two sound arts have been produced: Sound, Religious Architecture, and Faith 1 and Sound, Religious Architecture, and Faith 2. These pieces depict physical forms and empty spaces that encourage the listener to hear the sound, its meaning, and its feeling. Acoustics can be controlled and determined by physical shapes and empty areas. I'd like to title this piece Aural Visual Art. There has not been a lot of this type of work in Thailand. Thus, I want to continue studying and creating work in this style.en
dc.description.abstractข้าพเจ้านับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่กำเนิด และใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนมุสลิมในเขตประเวศ กรุงเทพฯ ที่ส่วนใหญ่เป็นคนไทยนับถือศาสนาอิสลาม ในแต่ละวัน ชาวมุสลิมจะประกอบศาสนกิจตามหลักการศาสนา ดำเนินชีวิตยึดโยงกับมัสยิด ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่ตั้งอยู่ภายในชุมชน  ทุกๆวัน ผู้ที่อาศัยในชุมชนมักจะได้ยินเสียงเชิญชวนเรียกร้องบอกเวลาให้ชาวชุมชนได้ละหมาด 5 เวลา   เสียงเชิญชวนนี้เรียกว่า เสียงอาซาน เป็นเสียงที่ดังมาจากมัสยิดในตอนเช้ามืด บ่าย บ่ายคล้อย เวลาแสงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า และกลางคืนหลังอาทิตยตก สำหรับคนมุสลิม เสียงอาซานเป็นเสียงที่ไพเราะและงดงาม. แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาและความเชื่อของผู้คนต่ออัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้าโดยเสมอมา ในช่วงเวลาหลาย 10 ปีที่ผ่านมา นายทุนได้กว้านซื้อที่ดินและปลูกบ้านจัดสรรหลายร้อยหลังคาเรือนอยู่รอบๆชุมชน  คนที่เข้ามาอาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ แม้ว่าจะมีกำแพงสูงถึง 5 เมตรกั้นระหว่างชุมชนมุสลิมกับหมู่บ้านจัดสรร แต่กำแพงก็ไม่สามารถกั้นเสียงอาซานและเสียงปฏิบัติศาสนกิจจากมัสยิดได้  ปัญหาการร้องเรียนเรื่องเสียงจึงเกิดขึ้น   ข้าพเจ้าอดสงสัยไม่ได้ว่า เหตุใดเสียงที่มีความไพเราะ เชิญชวนให้ประกอบศาสนกิจและทำความดี จึงกลายเป็น เสียงรบกวนสำหรับคนอีกศาสนาหนึ่ง วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ได้แก่ ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนาอิสลาม และเสียงที่เกิดขึ้นในมัสยิด และศึกษาด้านจิตวิทยาของเสียงและการรับรู้. เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะเสียง (Sound Art) ที่แสดงให้เห็นถึงสุนทรียะของเสียงอาซานและเสียงสวดขอพรที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรมทางศาสนาอิสลาม ผลลัพธ์ได้แก่ ผลงานศิลปะเสียงจำนวน 2 ชิ้น 1) เสียง  สถาปัตยกรรมทางศาสนา และความเชื่อ 1 และ 2) เสียง  สถาปัตยกรรมทางศาสนา และความเชื่อ 2 ผลงานแสดงให้เห็นกายภาพของรูปทรงและพื้นที่ว่างภายในที่เชิญชวนให้ผู้ชมเข้าไปฟังเสียง : ความหมายและอารมณ์ของเสียง กายภาพและพื้นที่ว่างสามารถควบคุมและกำหนดลักษณะของอะคูสติกที่เกิดขึ้นภายในได้. ข้าพเจ้าจึงขอเรียกลักษณะของผลงานว่า  Aural Visual Art งานลักษณะนี้ยังไม่ปรากฏชัดเจนมากนักในวงการทัศนศิลป์ของไทย ข้าพเจ้าจึงมีความปราถนาจะค้นคว้าและสร้างสรรค์ผลงานแนวทางนี้ต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectเสียงth
dc.subjectที่ว่างth
dc.subjectสถาปัตยกรรมth
dc.subjectศาสนาth
dc.subjectความเชื่อth
dc.subjectSounden
dc.subjectSpaceen
dc.subjectarchitectureen
dc.subjectReligiousen
dc.subjectBelieveen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleSound Art: Aesthetic of Voice in Religious Spaceen
dc.titleศิลปะเสียง: ความงามของเสียงในพื้นที่ทางศาสนาth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59006205.pdf12.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.