Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3691
Title: | MEMORABLE TRANSLATION ถอดรูปความทรงจำ |
Authors: | Supawdee SAIPOLKRANG สุภาวดี ใสพลกรัง Ruthairat Kumsrichan ฤทัยรัตน์ คำศรีจันทร์ Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | ความสุข ความทรงจำ วัตถุ วัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ ความเป็นมนุษย์ นอสแตลเจีย ภาพแทนความทรงจำ การถอดรูป Happiness memory object material appliance humankind nostalgia the image of memory metamorphosis |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The creation of the art thesis, “Relational Object," has the objective to represent the state of time: past and present. Bring back objects, materials, and appliances to express the happiness in childhood.
The metamorphosis of memory has fulfilled the memory of the past, reflecting the happiness that I once had. Notes and drawings have recorded my relationship and thoughts toward the interacted objects, including the way of life. The study is completed by gathering ideas and representing thought mixed media, combining the memorable objects from my house to ceramic in both 2-dimensional form and 3-dimensional form, to be the means of ideas and expression.
I choose the ordinary object that most people use in the household to create my artworks. Goods, belonging, and appliance are the needs of human beings, especially in this materialistic society where the material signifies the taste and achievement of the people owning it. The past affects lives in the present; yearning for the past forces people to create happiness in the imaginary world. I brought the memorable objects and presented them in the form of installation art, reflecting the past pleasure along with my life in the present.
The artwork represents the space of imaginary happiness and attachment. I believe that this thesis and its processes will encourage people to treasure happiness as well as sadness and find a way to balance it in current situations. การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ชุด “ถอดรูปความทรงจำ” มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงภาวะอดีตและภาวะปัจจุบัน การนำเอาอดีตที่มีความสุขเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีต่อวัตถุ วัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ที่ยังดำรงอยู่หรือเสื่อมสลายไปแล้วในช่วงวัยเด็กให้กลับมาอีกครั้ง การถอดรูปของความทรงจำ จึงเปรียบเสมือน การเติมเต็มความทรงจำในอดีต อันสะท้อนเรื่องราวความสุขที่ข้าพเจ้าเคยมี ด้วยการใช้กระบวนการทางศิลปะสื่อผสม ใช้วัตถุในบ้านมาเป็นตัวเชื่อมโยงเรื่องราวผ่านเทคนิคการปั้นเซรามิก ทั้ง 2 และ 3 มิติ ใช้การจดบันทึก วาดภาพ เพื่อแสดงให้เห็นแนวความคิดและสาระทางวัตถุที่เคยปฏิสัมพันธ์กับข้าพเจ้า รวมไปถึงวิถีชีวิต โดยใช้ความรู้และความเข้าใจด้านศิลปะและเทคนิคเซรามิก เป็นตัวสื่อสารทางความคิดและการแสดงออก เกิดเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ข้าพเจ้าได้นำเอา วัตถุ วัสดุ ข้าวของเครื่องใช้สามัญและดูธรรมดาในบ้าน ที่ทุกบ้านส่วนใหญ่นั้นใช้งาน มาสร้างสรรค์ผลงาน มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ปัจจุบันนี้ สังคมที่เราอยู่รวมกันนั้นเป็นสังคมของวัตถุและให้คุณค่าวัตถุที่แสดงถึงสถานะและรสนิยม รวมทั้งความสำเร็จ ซึ่งจำเป็นในสภาวะความเป็นสมัยใหม่และค่านิยมที่ผู้คนส่วนหนึ่งยึดถือ การโหยหาอดีตเป็นการสร้างโลกแห่งความสุขที่มีอยู่ในจินตนาการให้กลับมาอีกครั้ง การเคลื่อนตัวของชีวิตมนุษย์จากอดีตจึงมีความต่อเนื่องกับปัจจุบัน จึงดึงเอารูปทรงที่มีอยู่ในความทรงจำออกมาเป็นรูปทรงที่ปรากฏในงานสร้างสรรค์เกิดเป็นงานสื่อผสมจัดวาง เพื่อสะท้อนสภาวะความสุขในอดีตของข้าพเจ้าและเราก็ยังคงอยู่ในความเป็นปัจจุบัน นำเสนอผลงานในรูปแบบของการสร้างพื้นที่ของความสุข ความผูกพันในจินตนาการให้กลับมา ข้าพเจ้าเชื่อว่ากระบวนการศึกษาและการสร้างสรรค์นี้ จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้ผู้คนสนใจ ในความสุขและสร้างสมการความสุข ความทุกข์ ที่มีของตนเองมากขึ้น รวมทั้งปรับตัวเข้าหาความสมดุลและยึดโยงความสุขความทุกข์ไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนในสภาวะปัจจุบัน |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3691 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61004208.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.