Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPearl POMILen
dc.contributorเพิร์ล โปมิลth
dc.contributor.advisorOrawan Bunyarithen
dc.contributor.advisorอรวรรณ บุญยฤทธิ์th
dc.contributor.otherSilpakorn University. Archaeologyen
dc.date.accessioned2022-07-18T07:33:38Z-
dc.date.available2022-07-18T07:33:38Z-
dc.date.issued1/7/2022
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3755-
dc.descriptionMaster of Arts (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractThe purpose of this thesis was to study 5 Khmer testimonial literatures in the Khmer Rouge regime (1975-1979) which were “Ongkar Noreak (The Leaders from Hell)”, “kounkrabey manosancettana (The sentimental Buffalo)”, “robob maccuriec (Death Regime)”, “kroaom damnaoq tuek plieng (Under the drops of falling rain)”, and “qanusawarey nonduel 32 (Memory of Area 32)”. Each writer has conveyed his or her experiences during the Khmer rouge arrogated Cambodia. Khmer people were confined, laboured, and brutally tortured by the Khmer rouge. The Khmer testimonial literatures have reflected the bitterness, the torment, and the agony of Khmer people. In addition, it has also reminded Khmer people not to forget this cruel incident and help each other to protect this incident to happen again.    The analysis of the components of the Khmer novels reveals that have 3 novels have only main plot whereas 2 novels also insert the sub-plot for intensifying the story of main characters to get more interesting. The characters can be separated into the main characters and the opposing characters. The main characters who were the new people living in Phnom Penh and being moved forcibly to the rural areas are demeaned by the Khmer rouge. The opposing characters are the Khmer rouge and base people. The Khmer rouge characters commit brutal acts against both new and base Khmer people, and the base people are the villagers in rural areas supporting Khmer rouge to battle with United States of America. Some of them disdained the new people. The scenery in the novels presents can be divided into 3 parts based on time and place; which are 1) the Khmer rouge had arrogated Phnom Penh before April 17th, 1975, presenting the turbulent situation when the Khmer rouge seized power in Cambodia. 2) the Khmer rouge regime (April 17th 1975 – January 7th 1979), the writers demonstrated the scene in rural areas such as decadent old houses, narrow shelters, schools as the place to whip the children to work, and the unhygienic hospitals. 3) Kampuchean United Front for National Salvation (KUFNS), supported by the Vietnamese army invaded Cambodia and liberated people in the rural areas. The writers showed turbulent scenes of fights between the Khmer rouge and the Vietnamese army, people escaping from the battlefield and evacuating back to their homeland. As for the language usage, there were some terminologies reflecting the Khmer Rouge regime, depiction the situations in the Khmer rouge regime which reflects the writer’s ability of language usage. In addition, some writers used the elegant language, Pali-Sanskrit loan words, meanwhile another used the simple language but illustrated the situation in that period clearly. The reflection in the Khmer novels studied are divided into 3 periods which is related to the scenery; 1) the situation before April 17th, 1975 reflected the turbulent situation when the Khmer rouge seized power in Cambodia.   as the Khmer rouge military trying to overthrow the republican regime; 2) the Khmer rouge regime (from April 17th 1975 – January 7th 1979) mirrored the Khmer rouge brutally assaulted Khmer people, for instance, using a firearm to intimidate people, forcing the people to work hard and forcing arrange marriage on citizens. Moreover, the Khmer Rouge tortured Khmer people with whip, the cruelty of such act was beyond humanly possible. and 3) After January 7th 1979, many rural areas in Cambodia was still tempestuous because the Khmer rouge had still arrogated and influenced in rural areas even Vietnamese army had already invaded to liberate  Phnom Penh on January 7th 1979.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษานวนิยายเขมรแนวประจักษ์พยานวรรณกรรมสมัยเขมรแดง ใน ค.ศ.1975-1979 จำนวน 5 เรื่อง คือ นวนิยายเรื่อง “องค์การนรก (The Leaders from Hell)” เรื่อง “ความรู้สึกของลูกควาย (The sentimental Buffalo)” เรื่อง “ระบอบมัจจุราช (Death Regime)” เรื่อง “ใต้หยาดน้ำฝน (Under the drops of falling rain)” และเรื่อง“การระลึกถึงพื้นที่ 32 (Memory of Area 32)” ผู้ประพันธ์นวนิยายแต่ละเรื่องล้วนถ่ายทอดเหตุการณ์จากความทรงจำที่ตนเคยประสบในช่วงเวลาที่เขมรแดงยึดครองประเทศกัมพูชา โดยประชาชนชาวเขมรถูกกลุ่มเขมรแดงกักกัน ใช้แรงงาน และทรมานอย่างโหดเหี้ยม นวนิยายเขมรแนวประจักษ์พยานวรรณกรรมจึงสะท้อนให้เห็นความขมขื่น ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานของประชาชนชาวเขมร และเพื่อเตือนใจประชาชนชาวเขมรไม่ให้หลงลืมเหตุการณ์อันโหดร้าย รวมทั้งช่วยกันปกป้องประเทศไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยได้อีก ผลการศึกษาองค์ประกอบของนวนิยาย พบว่านวนิยาย 3 เรื่องมีเพียงโครงเรื่องหลักและอีก 2 เรื่องมีการสอดแทรกโครงเรื่องรองเพื่อสนับสนุนเรื่องราวของตัวละครหลักให้น่าสนใจมากขึ้น ในด้านของตัวละครแบ่งเป็นตัวละครหลักและตัวละครฝ่ายปฏิปักษ์ พบว่าตัวละครหลักที่เป็นประชาชนใหม่คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงพนมเปญและถูกเขมรแดงกวาดต้อนเข้าไปยังพื้นที่ชนบท เป็นฝ่ายถูกกระทำจากพวกเขมรแดง และตัวละครฝ่ายปฏิปักษ์คือ ตัวละครเขมรแดงและตัวละครประชาชนเก่า ตัวละครเขมรแดงคือผู้กระทำการโหดเหี้ยมต่อประชาชนชาวเขมรทั้งประชาชนใหม่และประชาชนเก่า ส่วนตัวละครประชาชนเก่าเป็นผู้อาศัยในพื้นที่ชนบท มีส่วนช่วยเขมรแดงในการต่อสู้กับจักรวรรดิอเมริกา บางคนจึงมีท่าทีรังเกียจประชาชนใหม่ ฉากในนวนิยายนำเสนอฉากเวลาและสถานที่ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) เขมรแดงเข้ามายึดครองกรุงพนมเปญก่อนวันที่ 17 เมษายน ค.ศ.1975  นำเสนอฉากความสับสนวุ่นวายก่อนที่เขมรแดงยึดอำนาจการปกครองของกัมพูชา 2) สมัยเขมรแดง (วันที่ 17 เมษายน ค.ศ.1975 – 7 มกราคม ค.ศ.1979) ผู้ประพันธ์ถ่ายทอดฉากในพื้นที่ชนบทเช่น สภาพบ้านเก่าที่ทรุดโทรม สถานที่พักที่คับแคบ โรงเรียนที่กลายเป็นสถานที่รวบรวมเด็กเพื่อไปทำงาน รวมถึงโรงพยาบาลที่ไม่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์ 3) ช่วงเวลาที่กองกำลังแนวหน้าป้องกันชาติเข้ามาปลดปล่อยประชาชนจากเขมรแดง ผู้ประพันธ์ถ่ายทอด ภาพความวุ่นวายจากการสู้รบระหว่างทหารเขมรแดงและกองกำลังแนวหน้าป้องกันชาติที่ได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพเวียดนาม การหลบหนีจากสมรภูมิสู้รบ และการอพยพกลับถิ่นฐานเดิม ผลการศึกษากลวิธีการใช้ภาษาพบว่ามีการใช้ศัพท์ที่สะท้อนภาษาสมัยเขมรแดง รวมถึงการพรรณนาเหตุการณ์ในสมัยเขมรแดงที่สอดแทรกความสามารถเฉพาะตัวในการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์ ผู้ประพันธ์บางท่านมีการใช้ภาษาที่สวยงามสละสลวย มีการใช้คำยืมบาลีสันสกฤต ในขณะที่ผู้ประพันธ์บางท่านมีการใช้ภาษาที่เรียบง่ายแต่สามารถสื่อให้เห็นภาพเหตุการณ์สมัยนั้นได้ชัดเจน ผลการศึกษาภาพสะท้อนที่ปรากฏในนวนิยายพบการถ่ายทอดเหตุการณ์ 3 ช่วงเวลา ซึ่งสัมพันธ์กับการแบ่งฉาก คือ 1) ภาพเหตุการณ์ก่อนวันที่ 17 เมษายน ค.ศ.1975 สะท้อนให้เห็นภาพเหตุการณ์ความสับสนวุ่นวายของกองทัพเขมรแดงที่พยายามล้มล้างระบอบสาธารณรัฐ 2) ภาพเหตุการณ์วันที่ 17 เมษายน ค.ศ.1975 – 7 มกราคม ค.ศ.1979 สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เขมรแดงกระทำโหดเหี้ยมต่อประชาชนชาวเขมร เช่น การใช้อาวุธปืนข่มขู่ประชาชน บังคับให้ทำงานหนัก บังคับให้ประชาชนแต่งงานกัน และยิ่งไปกว่านั้น การใช้แส้ฟาดประชาชนเกินกว่าที่มนุษย์จะกระทำกัน และ 3) ช่วงเวลาหลังวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1979 หลายพื้นที่ตามชนบทในประเทศกัมพูชายังคงวุ่นวาย สถานการณ์ยังไม่สงบเนื่องจากเขมรแดงยังคงยึดครองและมีอิทธิพลในพื้นที่ชนบทอยู่ แม้ว่าเวียดนามเข้าปลดปล่อยกรุงพนมเปญได้ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1979 ก็ตามth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectนวนิยายเขมรth
dc.subjectประจักษ์พยานวรรณกรรมth
dc.subjectสมัยเขมรแดงth
dc.subjectKhmer literatureen
dc.subjecttestimonial literatureen
dc.subjectKhmer rouge perioden
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleA Study of testimonial Khmer Novels in the Khmer Rouge perioden
dc.titleการศึกษานวนิยายเขมรแนวประจักษ์พยานวรรณกรรมสมัยเขมรแดงth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60114211.pdf21.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.