Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3845
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Arthitiya NGOKSIN | en |
dc.contributor | อาธิติยา งอกสิน | th |
dc.contributor.advisor | Pornpimon Rodkroh | en |
dc.contributor.advisor | พรพิมล รอดเคราะห์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Education | en |
dc.date.accessioned | 2022-07-18T08:00:05Z | - |
dc.date.available | 2022-07-18T08:00:05Z | - |
dc.date.issued | 1/7/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3845 | - |
dc.description | Master of Education (M.Ed.) | en |
dc.description | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were : 1) to compare the English reading comprehension ability of Matthayomsuksa 1 students before and after using an instructional package based on MIA (A More Integrated Approach); 2) to study using the reading strategies of Matthayomsuksa 1 students after using an instructional package based on MIA; and 3) to study the students’ satisfaction towards the instructional package based on MIA. The sample consisted of 36 Matthayomsuksa 1 students from Srayaisomwittaya School, Suphanburi, selected by simple random sampling during the second semester of the academic year 2021.The instruments used for collecting data were: 1) an instructional package by MIA; 2) lesson plans; 3) English reading comprehension tests; 4) a questionnaire investigating students’ use of the reading strategies; and 5) a questionnaire investigating students' satisfaction towards learning by using the instructional package based on MIA. The data were analyzed by mean (x), standard deviation (SD) and t-test dependent. The results on findings were as follows: 1. The Matthayomsuksa 1 students' post-English reading comprehension abilities were higher than pre-English reading comprehension abilities at the 0.05 level of significance. 2. The Matthayomsuksa 1 students' use of the reading strategies after using the instructional package based on MIA was at the high level (x = 4.31, SD = 0.75) The three reading strategies most frequently used by the students were: comprehension checking (x = 4.53, SD = 0.65), skimming (x = 4.50, SD = 0.56) and answering questions (x = 4.47, SD = 0.65) respectively. 3. The satisfaction of Matthayomsuksa 1 students towards the instructional package based on MIA was at the highest level (x = 4.73, SD = 0.50). | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA 2) เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 จำนวน 36 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยการจับสลาก (Lottery) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบเพื่อวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบสอบถามกลยุทธ์การอ่าน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบ ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลวิจัยพบว่า 1. ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใช้กลยุทธ์ในการอ่านหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA อยู่ในระดับมาก (x = 4.31, SD = 0.75) โดยกลยุทธ์การอ่านที่นักเรียนใช้บ่อยที่สุด 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 กลยุทธ์การตรวจสอบความเข้าใจ (x = 4.53, SD = 0.65) ลำดับที่ 2 กลยุทธ์อ่านอย่างคร่าว ๆ (x = 4.50, SD = 0.56) และลำดับที่ 3 กลยุทธ์การหาคำตอบให้กับคำถาม (x= 4.47, SD = 0.65) 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIA อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x = 4.73, SD = 0.50) | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, วิธีสอนแบบ MIA, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, กลยุทธ์การอ่าน | th |
dc.subject | AN INSTRUCTIONAL PACKAGE/ MIA (A MORE INTEGRATED APPROACH)/ ENGLISH READING COMPREHENSION ABILITY/ READING STRATEGIES | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | EFFECTS OF USING AN INSTRUCTIONAL PACKAGE BASED ON MIA(A MORE INTEGRATED APPROACH) TO ENHANCE ENGLISH READINGCOMPREHENSION ABILITY AND READING STRATEGIESFOR MATTHAYOMSUKSA 1 STUDENTS | en |
dc.title | ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีสอนแบบ MIAเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและกลยุทธ์การอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60263331.pdf | 6.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.