Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4071
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Suttinee CHUMTONG | en |
dc.contributor | สุทธินี ชุมทอง | th |
dc.contributor.advisor | Non Khuncumchoo | en |
dc.contributor.advisor | นนท์ คุณค้ำชู | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Architecture | en |
dc.date.accessioned | 2022-12-13T04:25:00Z | - |
dc.date.available | 2022-12-13T04:25:00Z | - |
dc.date.issued | 25/11/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4071 | - |
dc.description | Master of Science (M.Sc.) | en |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม) | th |
dc.description.abstract | The objective of this research was to study the construction campsite settings and management. It focused on the campsites located in central business district (CBD) areas in Bangkok: Wattana, Bangrak, Pathumwan, and Klongtoey districts. The sites had to received construction permits in year 2020 and separated from the main construction sites. The tool employed in this study was an interview with the key informants: construction foreman, project manager, or labor supervisor responsible for overseeing the construction workers’ accommodation. The study was qualitative research conducted in 8 people from 8 different construction companies and based on the facility management theory emphasizing on 6 factors. They are 1) building system maintenance and control, 2) common space maintenance, 3) common space cleanliness, 4) common space safety and security, 5) pest and disease control, and 6) construction site hygiene. The result of the study revealed that the majority of construction campsite setting was the hierarchical paths to access the common space provided. It also found that the construction companies provided the following equipment/ space to accommodate their workers: bathrooms, toilet, dish cleaning area, recreation area, parking, grocery shop, coin operated washer, drinking water vending machine and trash collector. All these accommodations were prepared to give workers space to unwind after work and to improve the quality of life of the worker. | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการจัดการพื้นที่ส่วนกลางที่พักอาศัยชั่วคราวของแรงงานก่อสร้าง ที่ตั้งในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร โดยมีขอบเขตของการศึกษา คือ ศึกษารูปแบบและวิธีการจัดการพื้นที่ส่วนกลางเฉพาะที่พักอาศัยชั่วคราวของแรงงานก่อสร้าง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร (CBD) ได้แก่ เขตวัฒนา เขตบางรัก เขตปทุมวัน และเขตคลองเตย เป็นที่พักแรงงานก่อสร้างที่แยกออกมาจากโครงการก่อสร้างที่ขออนุญาตก่อสร้างในปีพ.ศ. 2563 โดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารหรือผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เช่น ผู้จัดการโครงการ หัวหน้าแรงงานที่ดูแลรับผิดชอบภายในที่พักแรงงานก่อสร้าง การศึกษาเรื่อง “รูปแบบและการจัดการพื้นที่ส่วนกลางที่พักอาศัยชั่วคราวของแรงงานก่อสร้าง ที่ตั้งในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่มีที่พักอาศัยชั่วคราวของแรงงานก่อสร้างตามขอบเขตการศึกษาที่กำหนด จำนวน 8 คน จาก 8 บริษัท โดยปัจจัยที่ทำการศึกษาอ้างอิงจากรูปแบบพื้นที่ส่วนกลางที่พักอาศัยแรงงานก่อสร้างและทฤษฎีการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพ 6 ปัจจัย คือ 1) การดูแลและควบคุมการทำงานระบบประกอบอาคาร / ระบบสาธารณูปโภค 2) การบำรุงรักษาพื้นที่ส่วนกลาง 3) การรักษาความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง 4) การรักษาความปลอดภัยพื้นที่ส่วนกลาง 5) การกำจัดแมลงและควบคุมโรคสัตว์พื้นที่ส่วนกลาง 6) งานสุขอนามัย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดพื้นที่ส่วนกลางแบบลำดับขั้นการเข้าใช้งานหรือแบบกลุ่มก้อน เป็นรูปแบบที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างในเขตศูนย์กลางธุรกิจเลือกจัดมากที่สุด นอกจากการจัดแบบลำดับขั้นการเข้าใช้แล้ว มีการจัดรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบการจัดแต่ละแบบขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทที่มีการพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญ นอกจากนั้นบริษัทรับเหมาก่อสร้างมีการจัดเตรียมพื้นที่ส่วนกลาง ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องส้วม พื้นที่ล้างจาน พื้นที่สันทนาการ ที่จอดรถ ร้านขายของชำ พื้นที่อำนวยความสะดวก เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ที่กดน้ำหยอดเหรียญ และที่ทิ้งขยะ ซึ่งเป็นการจัดเตรียมพื้นที่อำนวยความสะดวกและพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เพื่อให้แรงงานก่อสร้างใช้พื้นที่ในการทำกิจกรรมนอกจากการทำงาน มีการดูแลเรื่องสุขอนามัย ดูแลเรื่องความสะอาดของพื้นที่ส่วนกลาง และดูแลด้านความปลอดภัยในการเป็นอยู่ภายในที่พักอาศัยแรงงานก่อสร้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนให้แรงงานก่อสร้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ที่พักอาศัยชั่วคราว | th |
dc.subject | พื้นที่ส่วนกลาง | th |
dc.subject | ช่วงวิกฤตโควิด 19 | th |
dc.subject | ย่านศูนย์กลางธุรกิจ | th |
dc.subject | Accommodations | en |
dc.subject | Common Spaces | en |
dc.subject | COVID-19 Crisis | en |
dc.subject | Central Business District | en |
dc.subject.classification | Engineering | en |
dc.title | A STUDY OF THE CONSTRUCTION CAMPSITE SETTINGS AND MANAGEMENT IN A CENTRAL BUSINESS DISTRICT AREA, BANGKOK | en |
dc.title | การศึกษารูปแบบและการจัดการพื้นที่ส่วนกลางที่พักอาศัยชั่วคราวแรงงานก่อสร้าง ที่ตั้งในพื้นที่ย่านศูนย์กลางธุรกิจ กรุงเทพมหานคร | th |
dc.type | Independent Study | en |
dc.type | การค้นคว้าอิสระ | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60055303.pdf | 6.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.