Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4080
Title: Evaluation of Public Policy for promoting the development of Charoen Krung's creative district
ประเมินนโยบายภาครัฐต่อการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ย่านเจริญกรุงให้เป็นย่านสร้างสรรค์
Authors: Phanpaporn JINAWAT
พรรณปพร จินาวัฒน์
NATTAWUT PREYAWANIT
ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์
Silpakorn University. Architecture
Keywords: เศรษฐกิจสร้างสรรค์
ย่านสร้างสรรค์
นโยบายภาครัฐ
ย่านเจริญกรุง
Creative Economy
Creative district
Public policy
Charoenkrung
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Charoenkrung is currently being transformed to be Thailand's first completely creative district. The purpose of this research was to evaluate the government policy in the Charoenkrung area that promotes and facilitates the development of the area, and creative district and suggest guidelines for the development of government policies. The results of the study were summarized by project evaluation from 4 aspects of sustainability including 1. Evaluation of the project environment, Government policies related to the direct development of the creative district is Thailand Creative Economy Plan Phrase 2020 - 2022 which assigns various agencies to be responsible for each project. The Creative Economy Agency is the intermediary in coordinating other government agencies and also CEA Strategic Plan 2020 - 2022 that covers and implements the project by itself, which has been enforced in the area and has seen tangible results, In terms of economic factors, there must be an adjustment of the creative business sector affected by the spread of the COVID-19 virus, which has enabled activities related to the creative economy difficult to proceed. In terms of social factors within the Charoenkrung area, it indicated that the area is ready to be developed into a creative district and has developed into Charoenkrung Creative District before implementing government policies thus resulting in community participation in policy implementation 2. Assessment of project inputs and 3. Assessment of project implementation caused the government's policy to promote the development of CharoenKrung area to be a creative district at present is still considered a short-term promotion plan and is also the beginning of concrete promotion from the government. Both in terms of Staff, Budget and Management are insufficient, and 4. Evaluation of the project's productivity found The Master Plan, such as Thailand Creative Economy Plan Phrase 2020 - 2022 does not concretely show any progress and achievements. In addition to CEA Strategic Plan 2020 - 2022 of the Creative Economy Agency, the host agency has annual results. In this regard, responsible agencies should report progress for more effective policy implementation and assess the performance of how successful it is and how it should be improved in the future. At present, Charoenkrung area can operate creative businesses within the area to survive on their own. The reason is that before the implementation of the plan to promote the creative economy, Charoenkrung area has been developed from many various sectors and has been selected as the model creative economy district. For the future direction, it will be to support the organization of various creative activities.
เจริญกรุงคือพื้นที่ที่ถูกผลักดันให้เป็นย่านสร้างสรรค์อย่างสมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อประเมินผลนโยบายของภาครัฐภายในพื้นที่ย่านเจริญกรุงที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่เป็นย่านสร้างสรรค์และเสนอแนะแนวทางทางการพัฒนานโยบายของภาครัฐ โดยสรุปผลการศึกษาด้วยการประเมินผลโครงการในรูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model) จากความเหมาะสม 4 ด้าน ได้แก่ 1. การประเมินสภาวะแวดล้อมโครงการ นโยบายภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาย่านสร้างสรรค์โดยตรงคือ แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ที่มอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ รับผิดชอบในแต่ละโครงการ โดยมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นตัวกลางในการประสานงาน และทางสำนักงานส่งเสริมเองยังมีแผนปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. 2563 – 2565 ที่รับผิดชอบและดำเนินโครงการด้วยตนเอง โดยมีการบังคับใช้ในพื้นที่และเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของปัจจัยด้านเศรษฐกิจยังต้องมีการปรับตัวของภาคธุรกิจสร้างสรรค์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด (Covid-19) ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะการแพร่ระบาดส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยภาพรวม ในส่วนของปัจจัยด้านสังคมภายในพื้นที่เจริญกรุงจะเห็นได้ว่าพื้นที่มีความพร้อมในการต่อยอดเป็นย่านสร้างสรรค์และมีการพัฒนาย่านสร้างสรรค์เจริญกรุงมาก่อนที่จะดำเนินนโยบายของภาครัฐจึงทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ 2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการและ 3. การประเมินการดำเนินงานของโครงการ เนื่องจากนโยบายภาครัฐกับการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ย่านเจริญกรุงให้เป็นย่านสร้างสรรค์ในปัจจุบันยังถือเป็นแผนส่งเสริมระยะสั้นและยังถือเป็นการเริ่มต้นการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านบุคคลากร งบประมาณและการบริหารจัดการจึงยังไม่เพียงพอ และ 4. การประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า แผนหลักอย่างแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ไม่มีการรายงานความคืบหน้าและผลสำเร็จต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากแผนปฏิบัติการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. 2563 – 2565 ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยงานเจ้าภาพที่มีการจัดทำผลการดำเนินงานเป็นรายปี ในส่วนนี้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงควรรายงานความคืบหน้าเพื่อการดำเนินนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อประเมินผลการดำเนินงานว่ามีผลสำเร็จอย่างไรและควรปรับปรุงอย่างไรในอนาคต โดยในปัจจุบันพื้นที่เจริญกรุงสามารถดำเนินธุรกิจสร้างสรรค์ภายในพื้นที่ให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะก่อนที่จะมีการบังคับใช้แผนส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปัจจุบันพื้นที่เจริญกรุงได้มีการพัฒนาจากหลายภาคส่วน และได้รับเลือกให้เป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต้นแบบแล้ว ในส่วนของทิศทางในอนาคตนั้นจะเป็นการให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ
Description: Master of Urban and Environmental Planning (M.U.E.P)
การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต (ผ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4080
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620220060.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.