Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/418
Title: ปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ภายในห้องโดยสารรถโดยสารสาธารณะในกรุงเทพฯ
Other Titles: QUANTITIES OF PM2.5 INSIDE PUBLIC VEHICLES IN BANGKOK
Authors: รอดธานี, อนุสรา
Rodthanee, Anusara
Keywords: รถโดยสารสาธารณะ
PM2.5
อัตราเร็ว
การประเมินการได้รับสัมผัส
กรุงเทพมหานคร
PUBLIC VEHICLES
VELOCITY
EXPOSURE ASSESSMENT
BANGKOK
Issue Date: 29-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: ระบบขนส่งมวลชนเป็นบริการสาธารณะที่มีความสำคัญในการช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ช่วยให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ลดแหล่งระบายมลพิษ ส่งผลให้คุณภาพอากาศในเมืองดีขึ้น อนึ่งการปนเปื้อนของสารมลพิษภายในรถโดยสารสาธารณะอาจเกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้โดยสาร การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ภายในห้องโดยสารของรถโดยสารสาธารณะ 6 ประเภท ประกอบด้วย รถตู้สาธารณะ รถประจำทางปรับอากาศ รถมินิบัส รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีและรถแท็กซี่ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณ PM2.5 ในรถโดยสารสาธารณะ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง PM2.5 กับอัตราเร็วของรถ 3) ประเมินการได้รับสัมผัส PM2.5 ของผู้โดยสาร และ 4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ PM2.5 กับสภาวะการขับขี่ การศึกษาครั้งนี้ใช้เครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นแบบต่อเนื่อง (Dusttrak Aerosol Monitor) ในการตรวจวัดปริมาณ PM2.5 การติดตามความเร็วและสภาวะการขับขี่ด้วยเครื่องมือตรวจวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (จีพีเอส) ผลการศึกษาพบว่า รถประจำทางปรับอากาศ มีความเข้มข้น PM2.5 เฉลี่ย (มคก./ลบ.ม.) ตลอดระยะเวลาการเดินรถมากที่สุด (2,650±2,348) รองมาคือ รถมินิบัส (1,996±1,042) รถไฟฟ้าบีทีเอส (1,070±626) รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที (806±645) รถตู้สาธารณะ (424±324) และรถแท็กซี่ (366±362) ตามลำดับ ในส่วนของปริมาณ PM2.5 กับอัตราเร็วของรถโดยสารนั้นพบว่า รถตู้สาธารณะมีความสัมพันธ์กันแบบแปรผันตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่ระดับ 0.05) โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.256 ส่วนรถมินิบัส รถไฟฟ้าบีทีเอสและรถแท็กซี่ มีปริมาณ PM2.5 กับอัตราเร็วที่สัมพันธ์กันแบบแปรผันตามเช่นกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.121 0.137 และ 0.163 ตามลำดับ ส่วนในรถประจำทางปรับอากาศพบว่าปริมาณ PM2.5 และอัตราเร็วมีความสัมพันธ์กันแบบผกผันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ (-0.020) เมื่อประเมินการได้รับสัมผัสในรูปของปริมาณการได้รับสัมผัสเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Intake หรือ ADI) (มก./กก.-นน.ร่างกาย/วัน) พบว่า ในกลุ่มผู้ใหญ่ รถประจำทางปรับอากาศมีการรับสัมผัสมากที่สุด (0.0063) รองลงมา คือ รถมินิบัส (0.0034) รถตู้ (0.0014) รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที (0.0011) และรถไฟฟ้าบีทีเอส (0.0008) ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มเด็กพบว่า รถประจำทางปรับอากาศมีการรับสัมผัสมากที่สุด (0.0149) รองลงมา คือ รถไฟฟ้าบีทีเอส (0.0028) รถ รถตู้สาธารณะ (0.0026) และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที (0.0016) ตามลำดับ (รถมินิบัสไม่พบกลุ่มผู้โดยสารที่เป็นเด็กขณะทำการสำรวจ) สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ PM2.5 กับสภาวะการขับขี่พบว่า PM2.5 มีแนวโน้มที่สูงขึ้นในช่วงที่รถโดยสารสาธารณะมีการชะลอ ซึ่งอาจมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีผล เช่น การขึ้นลงของผู้โดยสารระหว่างสถานี สภาพการจราจร ฯลฯ จากผลการศึกษานี้นำมาสู่ข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงระบบระบายอากาศรวมทั้งการทำความสะอาดในห้องโดยสารอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถประจำทางปรับอากาศ Public Transport System is an important public service in order to supporting people travelling to their destinations conveniently. It can aid reduction of personal vehicle uses, which intern decrease the vehicle emissions, resulting in gaining better urban air quality. However, contamination of air pollutants in public vehicle cabins caused by several factors may have a potential effect on passengers’ health. This study quantified particulate matter with diameter not more than 2.5 microns (PM2.5) in the cabins of 6 public vehicle types in Bangkok, consisting of public van, air conditioning bus, non-air conditioning minibus, sky train (BTS), subway (MRT) and taxi. The objectives of the study were as follow; 1) To compare PM2.5 quantities in the public vehicles, 2) To analyze correlations between PM2.5 and the vehicle velocities, 3) To assess passengers’ exposure to PM2.5 and 4) To analyze relationship between PM2.5 quantities and driving conditions. Measurements of PM2.5 in vehicle cabins were conducted using a particulate matter continuous measurement device (Dusttrak Aerosol Monitor). Vehicle velocities and its driving condition were tracked using a GPS device parallel to the PM2.5 measurements. The results indicate that air conditioning bus had the highest average PM2.5 concentration (in the unit of µg/m3) (2,650±2,348), followed by minibus (1,996±1,042), BTS (1,070±626), MRT (806±645), public van (424±324) and taxi (366±362), respectively. For PM2.5 and vehicle velocity correlations, a significant positive correlation (at a significant level of 0.05) was found in public van (correlation coefficient of 0.256). The positive correlations were also detected, with no statistical significant, in minibus, BTS and MRT. Their correlation coefficients were 0.121, 0.137 and 0.163, respectively. A significant negative correlation was found only in air conditioning bus with low power correlation coefficient (-0.020). For exposure assessment in terms of Average Daily Intake (ADI) (in the unit of mg./kg.-body weight /day), as in adult group; air conditioning bus had a highest ADI (0.0063), followed by minibus (0.0034), public van (0.0014), MRT (0.0011) and BTS (0.0008), respectively. In the group of children, the highest ADI was found in air conditioning bus (0.0149), followed by BTS (0.0028) public van (0.0026) and MRT (0.0016), respectively (minibus had no child passengers during the survey). For the relationships between PM2.5 and driving conditions, PM2.5 tended to be generated higher than other driving states during the vehicles slowing down. These may be influenced by other factors, such as getting on and off the vehicles of the passengers during the trips, traffic conditions etc. Based on the results, improvement of the vehicle ventilation systems together with cleaning up the vehicle cabins regularly was recommended, especially in air conditioning bus.
Description: 56311315 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- อนุสรา รอดธานี
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/418
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อนุสรา.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.