Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4639
Title: A Study of Buddhist Architecture in the Buddhavas (Sacred Compound) of Wat Prayurawongsawas Waraviharn
การศึกษาพุทธศิลปสถาปัตยกรรมในบริเวณเขตพุทธาวาส วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
Authors: Sitsada TANNIN
ศิษฎา แท่นนิล
Chotima Chaturawong
โชติมา จตุรวงค์
Silpakorn University
Chotima Chaturawong
โชติมา จตุรวงค์
chaturawong_c@silpakorn.edu
chaturawong_c@silpakorn.edu
Keywords: วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พุทธศิลปสถาปัตยกรรม
ตระกูลบุนนาค
Wat Prayurawongsawas
Buddhist Architecture
Bunnag Lineage
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Wat Prayurawongsawas Waraviharn was built in 1828 during the reign of King Rama III. This period marked the emergence of various factors the influenced cultural changes both internally and externally, resulting from Western colonialism and the Industrial Revolution. This research aims to 1) study cultural ideologies, and architectural concepts and styles of Buddhist architecture in the Phutthavat (public area) of Wat Prayurawongsawas Waraviharn during the reign of King Rama III to the beginning of King Rama IV's reign (1824 to approximately 1857); 2) understand political, economic, and social contexts reflected through the design of Buddhist art and architecture in the Phutthavat (public area); and 3) investigate the relationship between Somdej Chao Phraya Borom Maha Prayoorawongse (Dit Bunnag), the temple donor whose original lineage can be traced back to Persia, and his donated Buddhist art and architecture. Case studies of Buddhist architecture include Wihan (assembly hall), Ubosot (ordination hall), Phra Borommathat Maha Chedi (principal stupa), Prayoon Bhandakharn Museum (Pharin Pariyattidhammasala), and Khao Mo (miniature mountain). They are considered original works which were influenced by cultural changes either directly or indirectly during the nineteenth century. The architectural design demonstrates the effectiveness of architectural forms according to the design criteria and craftsmanship process that blend harmoniously among Thai art and architecture, the Chinese art and philosophy, and Western architectural culture. This is evident in the design of the layout system, which creates the landscape of sacred space based on Thai principles, fused with the philosophical beliefs of China. The architectural design of the Phra Borommathat Maha Chedi and Prayoon Bhandakharn Museum (Pharin Pariyattidhammasala), as well as the decoration of architectural components combined with Western art. While the simulated mountain (Khao Mo) represents the cosmological worldview of Buddhism and Hinduism, together with the philosophical beliefs of China. They all ultimately reflect the universal ideology of the temple, mirroring the ideology of the age.
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารเริ่มสร้างเมื่อปีพ.ศ.2371 ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคสมัยที่เริ่มเกิดปัจจัยต่าง ๆ อันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเป็นผลมาจากการเมืองแบบอาณานิคมและการปฏิวัติอุตสาหกรรมของชาติตะวันตก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวความคิดและรูปแบบทางศิลปสถาปัตยกรรมในเชิงวัฒนธรรมตลอดจนความเชื่อที่มีอยู่อย่างหลากหลายในบริเวณเขตพุทธาวาส วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367 ถึงประมาณปีพ.ศ.2400) 2) เรียนรู้ถึงบริบททางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ที่สะท้อนผ่านการออกแบบงานพุทธศิลปสถาปัตยกรรมในบริเวณเขตพุทธาวาสของพระอารามดังกล่าว 3) ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ของผู้สร้างพระอาราม คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งต้นสายสกุลดั้งเดิมนั้นเป็นชาวเปอร์เซียกับรูปแบบงานศิลปสถาปัตยกรรมที่ปรากฏว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร งานสถาปัตยกรรมกรณีศึกษานั้นประกอบด้วยพระวิหาร พระอุโบสถ พระบรมธาตุมหาเจดีย์ พิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร (พรินทรปริยัติธรรมศาลา) และภูเขาจำลอง (เขามอ) โดยสถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งรับอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมตามยุคสมัยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจนแสดงให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมตามเกณฑ์กำหนดของการออกแบบและกระบวนการทางช่างอย่างมีความผสานกลมกลืนกันระหว่างวัฒนธรรมทางรูปแบบงานศิลปสถาปัตยกรรมอย่างไทย ศิลปะอย่างกระบวนจีนและวัฒนธรรมทางสถาปัตยกรรมอย่างตะวันตก ดังที่ปรากฏจากการออกแบบระบบผังบริเวณซึ่งยังคงเป็นการสร้างโลกทัศน์ของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ตามอย่างคติไทยโดยผสานกับคติความเชื่อตามหลักปรัชญาจีน การออกแบบงานสถาปัตยกรรมขององค์พระบรมธาตุมหาเจดีย์และอาคารพิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร (พรินทรปริยัติธรรมศาลา) ตลอดจนการตกแต่งองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ผสานกับงานศิลปะตะวันตก หรือแม้กระทั่งภูเขาจำลอง (เขามอ) ก็สะท้อนแนวความคิดจักรวาลทัศน์ทางพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ร่วมกับกับคติความเชื่อตามหลักปรัชญาจีน ที่ล้วนแล้วแต่สะท้อนอุดมคติแห่งยุคสมัยอันแสดงความเป็นสากลของพระอาราม
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4639
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61052206.pdf15.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.