Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/79
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวาจาจำเริญ, บุษรา-
dc.contributor.authorWAJAJAMROEN, BUSSARA-
dc.date.accessioned2017-08-25T05:02:07Z-
dc.date.available2017-08-25T05:02:07Z-
dc.date.issued2016-07-29-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/79-
dc.description54362204 ; สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม -- บุษรา วาจาจำเริญen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพโดยใช้การวัดอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพด้วยแบบวัด EQ-VAS, EQ-5D-3L และแบบวัด modified WOMAC ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่สามารถสื่อสารให้ข้อมูลได้และยังไม่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่า ที่มารับบริการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบบันทึกระดับความรุนแรงของโรคและข้อมูลการใช้ยา แบบวัดระดับความรุนแรงของการปวดแบบ visual analogue scale แบบวัดคุณภาพชีวิตEQ-VAS, EQ-5D-3L และ แบบวัด modified WOMAC พบว่าค่าเฉลี่ยอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพที่วัดด้วยแบบวัด EQ-VAS, EQ-5D-3L และ modified WOMAC เท่ากับ 0.70, 0.55 และ 0.75 ตามลำดับ ค่าอรรถประโยชน์ที่ได้จากแบบวัดทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าอรรถประโยชน์ พบว่าความปวด มีความสัมพันธ์กับค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพที่วัดด้วยแบบวัด EQ-5D-3L โดยสามารถทำนายความผันแปรของค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพได้ร้อยละ 30.4 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพที่วัดด้วย modified WOMAC มีความสัมพันธ์กับความปวด และการมีระดับความรุนแรงของโรคในระดับปานกลางถึงมาก โดยสามารถทำนายความผันแปรของค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพได้ร้อยละ 35.3 และสำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพที่วัดด้วยแบบวัด EQ-VAS คือ การมีระดับความรุนแรงของโรคที่ระดับปานกลางถึงมาก แต่สามารถทำนายความผันแปรของค่าอรรถประโยชน์ด้านสุขภาพได้เพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้น This study aimed to measure the health utility score of patients with knee osteoarthritis at Nopparat Rajathanee Hospital by EQ-VAS, EQ-5D-3L and modified WOMAC, and to explore factors predicting health utilities. The sample of 196 persons with knee osteoarthritis was recruited based on inclusion criteria. Eligible participants were those who (1) were at least 15 years old, (2) were diagnosed with knee osteoarthritis who have not gotten knee surgery, (3) were literate in Thai, and (4) able to participate in face-to-face interview. The patients were invited to participate in the study and responded to the questionnaire including general information, pain assessment tool, EQ-VAS, EQ-5D-3L, modified WOMAC. The results revealed that the average health utility score measured by EQ-VAS, EQ-5D-3L and modified WOMAC were 0.70, 0.55 and 0.75 respectively. Health utilities elicited by EQ-VAS, EQ-5D-3L and modified WOMAC were significantly different. This finding indicated that pain score were statistically significant associated with health utility score measured by EQ-5D-3L. While pain score and KL-grade 3-4 severity associated with health utility score measured by modified WOMAC. There was association between KL-grade 3-4 severity and utility score measured by EQ-VAS with low predictive power regression model.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectKNEE OSTEOARTHRITISen_US
dc.subjectHEALTH UTILITY/QUALITY OF LIFEen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่ออรรถประโยชน์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีen_US
dc.title.alternativeFACTORS AFFECTING HEALTH UTILITIES IN PATIENTS WITH KNEE OSTEOARTHRITIS AT NOPPARAT RAJATHANEE HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
3.54362204 บุษรา วาจาจำเริญ.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.